การพัฒนาแบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร = Development of Concrete Formwork from Agricultural Waste / Ongarj Nualplod [et al.]

โดย: Ongarj Nualplod
ผู้แต่งร่วม: Ongarj Nualplod, Wutinai kokkamhang, Suwatchai Thongnoi, Pichit Janbunjong, Nutjuta Nakthippawan, Orapin Kwansri, Piyalak Ngernchuklin | องอาจ นวลปลอด1, วุฒินัย กกกำแหง1, สุวัฒน์ชัย ทองน้อย1, พิชิต เจนบรรจง1, ณัฐจุฑา นาคทิพวรรณ1, อรพิน ขวัญศรี1และปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 60-36, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research รายละเอียดตัวเล่ม: 83 p. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ. 60-36/ย.4 โครงการพัฒนาวัสดุก่อสร้างเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมหัวเรื่อง: คอนกรีต | วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร | เส้นใยผักตบชวา | แผ่นซีเมนต์บอร์ดสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: This research presents the development of concrete formwork produced by agricultural waste and water hyacinth as substituted material for shutter wood formwork. This concrete formwork was in form of cement board applied concrete beam. This research study concrete formwork produced from Rice Straw, Bagasse and water hyacinth. The keys factors effected to the properties of cement board including the amount of fiber (10, 20 and 30% wt of cement),the amount of cement accelerator (CaCl2 3, 5 and 10 %wt of cement) and the structure of beam formwork with brace and without brace were studied.The fabrication of cement board was started by cutting of material to small pieces and then adjusting texture of fiber by boiling and drying with the sunlight.The prepared fiber was mixed with water, Portland cement type I and cement accelerator.The mixer was pressed under hydraulic machine or under compressor tightens with screwing nut for 1day.The finished cement boards were cured for 28 days and measured properties such as feature, density, moisture, swelling in water, compressive strength and actual application test. The results showed that cement board ratio of fiber/cement: 20/80 and the structure of the fiber beam formwork with brace were the optimized condition. Moreover, we found that the texture of fiber beam formwork was smooth. Therefore, such fiber beam formwork can be substituted wood formwork.The usefulness of fiber beam formwork are that can be decreased real wood formwork and also reduced cement for finishing the beam and finally the application of agricultural waste and water hyacinth can be beneficial for construction industrial.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาแบบหล่อคอนกรีตจากเส้นใยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเส้นใยผักตบชวา โดยพัฒนาเป็นแผ่นซีเมนต์บอร์ดเพื่อใช้เป็นแบบหล่อคอนกรีตเพื่อทดแทนแบบหล่อคอนกรีตที่ทำจากไม้แบบ ในงานวิจัยนี้ศึกษาการทำแบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุ 3 ชนิดคือจากเส้นใยฟางข้าว เส้นใยชานอ้อยและเส้นใยผักตบชวา โดยทำการศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อแผ่นซีเมนต์บอร์ดได้แก่ ปริมาณเส้นใย ( 10 , 20 และ30 ต่อปูนซีเมนต์โดยน้ำหนักมวลรวม) ปริมาณสารเร่งการแข็งตัวของปูนซีเมนต์ (แคลเซียมคลอไรด์ 3 ,5 และ10% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์) รูปแบบการนำไปใช้งานเป็นแบบหล่อคาน (แบบมีเหล็กยึดรั้งและไม่มีเหล็กยึดรั้ง) ขั้นตอนวิจัยในขั้นแรกเริ่มโดยนำวัสดุเข้าเครื่องสับเป็นชิ้นเล็ก แล้วทำการปรับสภาพเส้นใย โดยการต้มและตากแดดให้แห้ง นำเส้นใยที่ได้มาผสมกับน้ำและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่1 และแคลเซียมคลอไรด์ แล้วนำไปอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดแบบไฮโดรลิกหรือใช้แม่แรงบีบและขันน๊อตแบบเกลียวหมุน ทิ้งไว้ 1 วันจึงแกะแบบแล้วบ่มทิ้งไว้ 28 วัน จากนั้นนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ ได้แก่ ลักษณะโดยทั่วไป ความหนาแน่น ความชื้น การพองตัวเมื่อแช่น้ำ ความต้านทานแรงดัด ผลการทดสอบ พบว่าอัตราส่วน เส้นใย 20 : ปูนซีเมนต์ 80 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นแบบหล่อคอนกรีตสำหรับใช้ในการหล่อคานคอนกรีต โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมีขนาดใช้งานจริง ยาว 1.50 เมตร สูง 0.5 เมตร หนา 2 เซนติเมตร จากนั้นนำไปทดสอบรูปแบบการใช้งานเป็นแบบหล่อคานคอนกรีต 2 แบบคือแบบมีเหล็กยึดรั้งและไม่มีเหล็กยึดรั้ง ผลการใช้งานพบว่าการใช้เป็นแบบหล่อคอนกรีตแบบมีเหล็กยึดรั้งใช้งานได้กว่าไม่มีแบบยึดรั้ง สามารถนำมาใช้ซ้ำได้มากกว่าและคุณภาพของคานคอนกรีตที่ได้ดีกว่า ผลงานวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าแบบหล่อคอนกรีตที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้แทนไม้แบบได้ดี คานที่ได้มีผิวที่เรียบ สามารถลดการใช้ไม้จริงและลดการใช้ปูนแต่งคานและเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300