การพัฒนาฟิล์มบริโภคได้ (Edible film) ที่มีคุณสมบัติสกัดกั้นสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อความชื้น Development of barrier edible film for moisture-sensitive food product ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป

โดย: ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป [et al.]
ผู้แต่งร่วม: Siriwan Tungsangprateep | Penchom Photjanataree | Bussakorn Praditniyakul | Supoj Pratheepthingthong | Wichit Rattanathawornkiti | Chiraporn Damchan | ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป | เพ็ญโฉม พจนธารี | บุษกร ประดิษฐนิยกูล | สุพจน์ ประทีปถิ่นทอง | วิจิตร รัตนถาวรกิติ | จิราภรณ์ ดำจันทร์
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-09, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 77 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.52-09 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารหัวเรื่อง: ฟิล์มบริโภค | Edible filmสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: การพัฒนาฟิล์มบริโภคได้เพื่อสกัดกั้นความชื้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อความชื้นประกอบด้วย 1) การจัดทำข้อสนเทศ 2) การพัฒนาฟิล์มบริโภคได้ และ 3) การทดสอบคุณสมบัติของฟิล์มที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ คุณสมบัติทางกล, การละลายน้ำ, การซึมผ่านของไอน้ำและออกซิเจน, การป้องกันความชื้น และการยอมรับของผู้บริโภคในการใช้ฟิล์มบริโภคได้เป็นบรรจุภัณฑ์ ข้อสนเทศที่จัดทำขึ้นมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ ฟิล์มเคลือบบริโภคได้จากไฮโดรคอลลอยด์ การใช้พลาสติไซเซอร์ในฟิล์มเคลือบบริโภคได้ คุณสมบัติและการขึ้นรูปฟิล์มเคลือบบริโภคได้ การประยุกต์ใช้ฟิล์มเคลือบบริโภคได้ในอุตสาหกรรมอาหาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ฟิล์มเคลือบบริโภคได้ในอุตสาหกรรมอาหาร ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาสูตรในการผลิตฟิล์มเคลือบบริโภคได้ จากผงวุ้น ผงวุ้นผสมน้ำมันงา ผงข้าว และผงข้าวผสมน้ำมันงา โดยมีกลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ พบว่า ฟิล์มทั้งสี่ชนิดมีปริมาณน้ำอิสระอยู่ในช่วง 0.48-0.55 มีอัตราการซึมผ่านออกซิเจน เท่ากับ 0 เซนติลิตร/ตารางเมตร.วัน ฟิล์มที่มีผงวุ้นเป็นองค์ประกอบหลักมีค่าการต้านแรงดึงขาดสูงกว่า และ ละลายน้ำและสกัดกั้นและป้องกันความชื้นได้ดีกว่า รวมทั้งมีอุณหภูมิในการปิดผนึกต่ำ แต่มีความแข็งแรงของรอยปิดผนึกต่ำกว่าฟิล์มที่มีผงข้าวเป็นองค์ประกอบหลัก และผู้บริโภคยอมรับการใช้ฟิล์มบริโภคได้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง. สาระสังเขป: The development of edible film with good barrier against water vapor for moisture sensitive food consisted of 1) Information collection 2) Research and development on edible film and coating and 3) Testing on film properties including mechanical properties, water solubility, water vapor and oxygen permeability, moisture barrier and sensory evaluation. The information presented some aspects of hydrocolloid edible films and coatings, plasticizers, properties and film formation, applications in the food industry and legal issues. In this research, polysaccharide materials included agar, agar mixed with sesame oil, rice, and rice mixed with sesame oil were used in film formulations and glycerol was added in the film-forming solution as a plasticizer. It was found that the water activity of all four film formulations were in the range of 0.48-0.55, and the oxygen permeability was 0 centiliter/m2.day. In comparison with rice based films, agar based films showed a higher level in mechanical strength, water solubility and water vapor barrier. In addition, the films made from agar based had low heat sealing temperature. However, their seal strength was lower than that from rice based films. In addition, the films had been accepted for use as dried food packaging.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300