การเก็บรวบรวมสายพันธุ์และศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเห็ดพื้นเมืองอีสานเพื่อการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน Collection of strains and DNA fingerprint studies of indigenous Isan mushroom for conservation and sustainable use จารุวรรณ สิทธิพล

โดย: จารุวรรณ สิทธิพล [et al.]
ผู้แต่งร่วม: Jaruwan Sitdhipol | Kanidta Niwasabutra | Neungnut Chaiyawan | Taweesak Malimas | Bhusits Wannisson | Lawan Chatanon | Punnathorn Taveetepthaikul | Somporn Moonmangmee | Bundit Fungsin | จารุวรรณ สิทธิพล | ขนิษฐา นิวาศะบุตร | หนึ่งนุช ไชยวรรณ์ | ทวีศักดิ์ มะลิมาศ | ภูษิตา วรรณิสสร | ลาวัลย์ ชะตานนท์ | ปัณณธร ทวีเทพไทกุล | พงศธร ประภักรางกูล | สมพร มูลมั่งมี | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-03, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 หัวเรื่อง: เห็ด | Mushroomสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Collection of local Isan mushroom species in mixed deciduous forest, dry dipterocarp forest, rain forest and bamboo forest from Phu Pha Kut, Phu Pha Kham, Phu Pha Lek and Sakaerat Environmental Research Station Sakaerat Biospore Reserves in Nakhon Ratchasima, Maha Sarakham, Mukdahan, Sakon Nakhon, Yasothon, Roi Et, Udon Thani, Chaiyaphum, Amnat Chareon province. Seven-hundred and ninety one samples of edible mushroom were collected from soil, tree trunks and wood structure. Genus and species were classified by using morphology. Most of mushrooms were in genus Phellinus, Russula, Amantita, Boletus and Garnoderma respectively. Group of genus Trametes, Tylopilus, Auricularia, Lentinus and Fomitopsis were found in a few amount. There were more than eighty of the other mushroom genus which given the same result related with ITS1-5.8S rDNA-ITS2 region nucleotide sequencing by using ITS1 and ITS4 primers. Restriction Fragment Length Polymorphisms (RFLP) technique was used for identification of fifteen mushroom samples in Russula genus by using three restriction enzymes : HinfI, TaqI and MboI. Analysis of DNA fragment pattern showed in fourteen pattern that the fifteen samples were clearly distinguished and could be categorized into twelve groups and 3 sub-groups. The phylogenic tree technique was shown the same result with RFLP technique so PCR-ITS1/ITS2-RFLP technique can use for species classification of Russula genus. Physiological studies on fruiting demonstrated the close correlation of the RFLP-based grouping with the phenotypic characteristic of mushroom. Studying of mycelia preservation of nineteen mushroom samples which were cultivated in Potato Dextrose Agar and sorghum seed. Two preservation techniques were used in nineteen mushroom samples. First, the paraffin oil was put on the mycelia surface and preserved at temperature 4 oC and 37 oC. Second, 15% glycerol was put on the filamentous surface and preserved at -80 oC. Both methods can preserve the mycelia for one year in all mushrooms samples but only some species can preserve for two years. L-drying nineteen also was used to preserve six mushroom samples and can preserve the mycelia for 2 years One hundred and twelve mushroom samples can isolate and cultivate mycelia and most of them were in genus Phellinus, Trametes, Ganoderma and Fomitopsis. There were four species: Phellinus ignicrius (L.) Quel, Phellinus nigricans, Fomitopsis cajaderi and Tricholoma crissum (Berk) Saccardo that used for further sustainable using and application studying in project the Research and Development of North - Eastern Native Edible Mushroom Commercial Cultivation Research and Development of indigenous Isan mushroom for conservation and enhance commercial value. The ITS1-5.8S rDNA-ITS2 region nucleotide sequencing database of mushrooms were recorded in www.ddbj.nig.ac.jp and the mushroom samples that can isolate and cultivate mycelia were preserved and recorded in MIRCEN database for doing research in the future.สาระสังเขป: การเก็บรวบรวมสายพันธุ์ของเห็ดพื้นเมืองอีสาน จากภูผากูด, ภูผาขาม, ภูผาเหล็ก และป่าสะแกราช ซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น และป่าไผ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ร้อยเอ็ด อุดรธานี ชัยภูมิ และอำนาจเจริญ ได้ตัวอย่างเห็ดมาทั้งชนิดที่เป็นเห็ดสด และเห็ดหิ้งซึ่งอาศัยอยู่ตามตอไม้และต้นไม้ใหญ่ที่มีชีวิต จำนวน 791 ตัวอย่าง เมื่อจัดจำแนกด้วยลักษณะทางกายภาพสามารถจัดแบ่งออกเห็ดในหลากหลายสปีชีส์ในแต่ละจีนัส โดยจีนัสที่พบมากที่สุดได้แก่ Phellinus และ Russula และกลุ่มที่พบในปริมาณรองลงมา ได้แก่ Amanita, Boletus และ Ganoderma ส่วนกลุ่มเห็ดในจีนัส Trametes, Tylopilus, Auricularia, Lentinus และ Fomitopsis พบในปริมาณน้อยลงไปตามลำดับ และยังมีเห็ดในสกุลอื่นๆ อีกมากกว่า 80 จีนัส ซึ่งให้ผลสอดคล้องกับการจัดจำแนกด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวโคลโอไทด์ในบริเวณ ITS1/ITS2 การจัดจำแนกสายพันธุ์เห็ดในจีนัส Russula ด้วยเทคนิค Restriction Fragment Length Polymorphisms (RFLP) ในบริเวณ ITS1/ITS2 ของเห็ด 15 ตัวอย่าง โดยการย่อยด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ 3 ชนิด คือ HinfI, TaqI และ MboI พบว่า สามารถให้ขนาดของดีเอ็นเอที่แตกต่างกันออกไปจำนวน 14 ลักษณะแผนภาพ ทำให้สามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 12 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ I - XII และ 3 กลุ่มย่อย คือ III-1, III-2 และ III-3 ซึ่งผลที่ได้มีความสอดคล้องกับการจัดจำแนกด้วยแผนภาพวิวัฒนาการ (Phylogenic tree) ของ ITS1/ITS2 ของเห็ดที่ใช้ในการศึกษาทั้ง 15 ตัวอย่าง ดังนั้นเทคนิค PCR-ITS1/ITS2-RFLP นี้จึงสามารถบ่งชี้ความแตกต่างของเห็ดในกลุ่ม Russula ได้ในระดับสปีชีส์ การศึกษาการเก็บรักษาเส้นใยของเห็ดจำนวน 19 ตัวอย่าง ที่เพาะเลี้ยงในอาหาร PDA และในเมล็ดข้าวฟ่าง เมื่อเส้นใยเจริญดีแล้ว ทำการเททับด้วย Paraffin oil แล้วเก็บที่อุณหภูมิ 4 และ 37 oC และเททับด้วย Glycerol 15% เพื่อเก็บที่อุณหภูมิ -80 oC พบว่าเส้นใยเห็ดที่เพาะได้ทั้งหมด 19 ตัวอย่าง สามารถเก็บรักษาให้มีชีวิตรอดได้ทั้งใน Paraffin oil และ Glycerol 15% ทุกอุณหภูมิที่ทำการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี จะมีเพียงบางสายพันธุ์ที่สามารถเก็บรักษาได้ถึง 2 ปี ส่วนการเก็บรักษาเส้นใยเห็ดด้วยวิธี L-drying ของตัวอย่างเห็ดจำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่าสามารถเก็บรักษาเส้นใยเห็ดให้มีชีวิตอยู่ได้นาน 2 ปี เห็ดที่สามารถเพาะเลี้ยงได้จำนวน 112 ตัวอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเห็ดหิ้งในจีนัสต่างๆ โดยแต่ละจีนัสสามารถเพาะได้หลายสปีชีส์จัดอยู่ในกลุ่ม Phellinus, Trametes, Ganoderma และ Fomitopsis ทั้งนี้มีเส้นใยเห็ด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เห็ดหิ้งอุ้งตีนหมี (Phelinus ignicrius (L.) Quel), เห็ดหิ้งเกือกม้านิโกร (Phellinus nigicans), เห็ดหิ้งชมพูกุหลาบ (Fomitopsis carjanderi), เห็ดตีนแรด (Tricholoma crissum (Berk.) Saccardo) ที่ส่งต่อไปศึกษาเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อภายใต้โครงการย่อยต่างๆ ได้แก่ โครงการ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพระบบกระเพาะอาหารและลำไส้จากเห็ดพื้นเมืองที่อุดมด้วยสารไตรเทอฟินส์และฟินอลิก และโครงการพัฒนากระบวนการผลิตสารแสดงฤทธิ์ที่มาจากมวลเส้นใยเห็ดพื้นเมืองที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะเส้นใยเห็ดตีนแรด (Tricholoma crissum (Berk.) Saccardo) ได้ถูกนำไปศึกษาเพื่อเพาะให้เกิดดอกภายใต้โครงการการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดพื้นเมืองอีสานเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดแนวหน้าของบ้านสามสาว จ. พระนครศรีอยุธยา ไปเพาะปลูกและส่งเสริมให้ชาวบ้านนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ สำหรับการจัดจำแนกด้วยข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วน ITS ที่ได้ตรวจสอบกับลักษณะทางกายภาพของดอกเห็ดและมีความถูกต้อง ได้ทำการบันทึกข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ในฐานข้อมูลใน www.ddbj.nig.ac.jp และเส้นใยเห็ดที่เพาะเลี้ยงได้ทั้งหมดได้เก็บรักษาพร้อมการจัดทำข้อมูลไว้ที่ศูนย์เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วว. สาระสังเขป: เพื่อให้พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300