Land evaluation of rice plantation by using geographic information system and modeling for fertilizer application การประเมินพื้นที่ปลูกข้าวด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และแบบจำลองสำหรับการใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยครั้งเดียว Rochana Tangkoonboribun

โดย: Rochana Tangkoonboribun (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: Rochana, Tangkoonboribun | รจนา ตั้งกูลบริบูรณ์ | อรรณพ พุทธโส | Aunnop, Puttaso
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-01, Sub Proj. no.1; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 112 p. table, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียวหัวเรื่อง: ข้าว | การปลูกข้าวสาระสังเขป: Pathum Thani province has 46.01 % of paddy field; the rice yield is significantly different in each area which related to potential of soil productivity. In order to increase efficiency of soil productivity for rice cultivation which supporting to soil and fertilizer management strategy for rice cultivation, soil suitability evaluation must be known and understood within the context of soil limitations related to individual crop requirements. Result of this study found that soil suitability cloud be categorized into four classes as follows: 1) highly suitable (S1) in Mueang Pathum Thani and Lam Luk Ka districts (0.002% of total area), most of these areas were not used for rice cultivation and abandoned area, 2) moderately suitable (S2) in the limitation of soil fertility, soil nutrients, depth of jarosite, salinity of soil. This cover was covered 49.03% of total areas which were distributed, 3) marginally suitable (S3) with limited soil toxicity and nutrient retention and 4) unsuitable (N) related to the limitation of soil fertility which covered 36.7% of total areas. Most of this area was used for local community, building, road, pond, and aquaculture. Consideration on soil suitable in the regional scale, we found that there was misunderstanding on land use type related to soil suitability especially in the highly suitable area in Mueang Pathum Thani and Lam Luk Ka districts for rice cultivations which were used for community and building. In addition, the high suitable area for rice cultivation was found in Nong Suea district (17.79%) followed by Lam Luk Ka (13.1%) and Lat Lum Kaeo. Thanyaburi district had 3.48% of suitable areas for rice cultivation. The result of this study indicated that soil suitability and limitation with selected suitable soil and fertilizer managements are to be considered for rice cultivation. จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ทำนาประมาณร้อยละ 40.26 ซึ่งกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอซึ่งให้ผลผลิตข้าวแตกต่างกันตามศักยภาพของดิน และการจัดการดินและปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวและสนับสนุนการวางแผนการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อการปลูกข้าว จึงทำการประเมินความเหมาะสมและศักยภาพของพื้นที่จังหวัดปทุมธานีโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปทุมธานีสามารถแบ่งเขตพื้นที่เหมาะสมเป็น 4 ระดับ คือ 1) พื้นที่เหมาะสมมาก (S1) มีพื้นที่ประมาณ 22 ไร่ (ร้อยละ 0.002 ของเนื้อที่) พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีการปลูกข้าวหรือปล่อยทิ้งร้างไว้พบในอำเภอเมือง และอำเภอลำลูกกา 2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณธาตุอาหารหลัก ความลึกของสารจาโรไซต์ ความเค็มของดิน ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 49.03 ของเนื้อที่ ซึ่งกระจายในทุกอำเภอ 3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจำกัดความเป็นพิษของดิน และปริมาณการกักเก็บธาตุอาหารในดิน และ4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ประมาณร้อยละ 36.76 ของเนื้อที่ มีข้อจำกัดของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ถนน ที่ดินดัดแปลง แหล่งน้ำ และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของพื้นที่ในระดับอำเภอ จะเห็นว่า มีการใช้พื้นที่ผิดประเภทโดยเฉพาะพื้นที่มีความเหมาะสมมาก (S1) สำหรับปลูกข้าวแต่ถูกใช้เป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างโดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง และอำเภอลำลูกกา และเมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนพื้นที่เหมาะสมกับพื้นที่ไม่เหมาะสมในแต่ละอำเภอ จะเห็นว่า อำเภอหนองเสือมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวมากสุด (ร้อยละ 17.79 ) รองลงมาคือ อำเภอลำลูกกา (ร้อยละ 13.1) และอำเภอลาดหลุมแก้ว (ร้อยละ 10.27) ตามลำดับ ส่วนอำเภอธัญบุรีมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวน้อยสุด (ร้อยละ 3.48) ผลการศึกษานี้ชี้ว่า ควรพิจารณาปลูกข้าวตามพื้นที่เหมาะสมของดินประกอบกับการลดข้อจำกัดโดยพิจารณาการจัดการดินและปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300