การศึกษาอิทธิพลของสถานที่ปลูกที่มีต่อถั่วมะแฮะ 3 สายพันธุ์ = location trial of 3 selected pigeonpea varieties / Panas Buranasilpin...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Buranasilpin, Panas | Duriyaprapan, Soonthorn | Pattanavibul, Siriphong | Poonsawat, Sutep | Vongpichet, Kitti | สุนทร ดุริยะประพันธ์ | พนัส บูรณศิลปิน | ศิริพงษ์ พัฒนวิบูลย์ | สุเทพ พูนสวัสดิ์ | วงสพิเชษฐ์, กิตติ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research Agro-technology Department
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 20-17 Rep. no. 2ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1984 รายละเอียดตัวเล่ม: 13 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาอิทธิพลของสถานที่ปลูกที่มีต่อถั่วมะแฮะ 3 สายพันธุ์หัวเรื่อง: Cajanus cajan | Khon Kaen | Nakhon Ratchasima | Pigeon peaสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: Growth and productivity of 3 pigeonpea varieties, CV. 412, 1605 and E 327 were evaluated in 3 locations which represented different soil conditions. The study had been carried out in the Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Northeast Regional Agricultural and Cooperatives Center, Khon Kaen Province and TISTR Chan Thuk Research Station, Nakhon Ratchasima Province which represented Yosothon, Khorat and Lam Narai soil series, respectively. Variation in adaptability of the 3 pigeonpea varieties have been found. CV. 412 gave overall significant maximum yield of 323.96 kg/rai at Chan Thuk. CV. 1605 produced significant maximum yield of 281.37 kg/rai at Khon Kaen University. E 327 yielded an average between the two in all locations under investigation. There was a relatively consistent yield of E 327 throughout the study which indicated that the plant was well adapted to wider range of soil and climatic conditions. Authors.สาระสังเขป: ได้ทำการทดลองเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วมะแฮะ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 412, 1605 และ E 327 โดยปลูกในสถานที่ซึ่งดินมีคุณสมบัติแตกต่างกัน 3 แห่ง ได้แก่ แปลงทดลองของหมวดพืชไร่, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ดินชุดยโสธร), สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น (ดินชุดโคราช), และสถานีทดลองของ สว.การเกษตร วท. ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (ดินชุดลำนารายณ์). พบว่า สถานที่ทดลองมีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อถั่วมะแฮะสายพันธุ์ 412 และ 1605 ที่แตกต่างกัน, กล่าวคือ สายพันธุ์ 412 เจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตค่อนข้างสูงที่แปลงทดลองจันทึก โดยให้ผลผลิตถึง 323.96 กก./ไร่ สูงกว่าสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, และสูงกว่าสายพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในสถานที่อื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ. สำหรับสายพันธุ์ 1605 ให้ผลผลิตสูงที่แปลงทดลองมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยให้ผลผลิต 281.37 กก./ไร่ สูงกว่าสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, และสูงกว่าสายพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในสถานที่อื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ. ส่วนสายพันธุ์ E 327 ให้ผลผลิตปานกลางระหว่างสายพันธุ์ 412 และ 1605 ในทั้ง 3 สถานที่ทดลองและผลผลิตของสายพันธุ์ 327 ที่เก็บเกี่ยวได้ในแต่ละสถานที่ทดลองก็ไม่แตกต่างกัน แสดงว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี. - ผู้แต่ง.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1984/695
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP1984/695-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300