การศึกษาสภาวะและขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องจักรแปรรูปอาหารของไทย = A study on status and capability of Thai food processing machinery industry / Sumalai Srikumlaithong...[et al.] (CONFIDENTIAL)

ผู้แต่งร่วม: Chaisawat, Surasit | Khunsoonthornkit, Ardharn | Kwansri, Orapin | Laingthanom, Sitthichai | Lehduwi, Narisa | Namchaiseewatana, Sakdar | Nuanyai, Torsak | Pathomyothin, Wiwat | Srikumlaithong, Sumalai | Srisuriyawong, Samphan | Trangwacharakul, Srisak | สิทธิชัย เลี้ยงถนอม | นริศา เหละดุหวิ | อรพิน ขวัญศรี | อาจหาญ คุณสุนทรกิจ | สุรสิทธิ์ ชัยสวัสดิ์ | ศรีศักดิ์ ตรังวัชรกุล | ต่อศักดิ์ นวลใย | ศักดิ์ดา นำชัยสี่วัฒนา | วิวัธน์ ปฐมโยธิน | สุมาลัย ศรีกำไลทอง | สัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Class. Invest. no. 42-04ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2000 รายละเอียดตัวเล่ม: 163 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาสภาวะและขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องจักรแปรรูปอาหารของไทยหัวเรื่อง: Food industry and trade | Food processing industry | Food processing machineryReview: 1.1 หลักการและเหตุผลความเป็นมา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการค้าผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าทางการเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่ง จึงเป็นผู้นำในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง, สับปะรดกระป๋อง; อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง เช่น กุ้งแช่แข็ง และไก่แช่แข็ง เป็นต้น. นอกจากนั้นความหลากหลายของสายพันธุ์ผักและผลไม้มีมากมาย ก่อให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ เช่น ผัก, ผลไม้อบแห้ง, ผักผลไม้แช่แข็ง; น้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ คือน้ำผลไม้เข้มข้น, น้ำผลไม้พร้อมดื่ม, และน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง เป็นต้น. ดังนั้น อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2541 จึงสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นมูลค่าถึง สี่แสนสองพันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 18.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด คือ 2.25 ล้านล้านบาท (กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์). จุดเด่นที่สำคัญของอุตสาหกรรมอาหารคือ การนำเงินตราเข้าประเทศถือเป็นรายได้เกือบเต็มร้อยละ 100, ทั้งนี้เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นวัตถุดิบที่ได้จากภายในประเทศประ-มาณร้อยละ 90, ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเคมี สารปรุงแต่ง ดีบุกที่ใช้ผลิตภาชนะบรรจุ เป็นต้น. แต่อุตสาหกรรมอาหารยังต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมเครื่องจักรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน. ที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทยยังไม่สามารถพัฒนาให้ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมที่สำคัญอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ได้. ประเทศไทยจึงต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรกลจากต่างประเทศในแต่ละปีมากกว่าแสนล้านบาท, ดังเช่นปี 2537 - 2539 ประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นมูลค่า 193,271 ล้านบาท, 259,661 ล้านบาท และ 287,569 ล้านบาท ตามลำดับ (กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์และกรมศุลกากร). ในขณะที่มีการส่งออกเครื่องจักรกลเพียง 14,871.1 17,769.5 และ 18,923.3 ล้านบาท(กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์และกรมศุลกากร). ดังนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานของอุตสาห-กรรมเครื่องจักรกลในการแปรรูปอาหาร, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ดำเนินการวิจัยโครงการการศึกษาสภาวะและขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องจักรแปรรูปอาหารของไทย โดยมีการเซ็นสัญญา เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542. -ผู้แต่ง.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300