การพัฒนาวัสดุคาร์บอนจากน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล = Development of carbon materials from wastewater in sugar industry / Suwadee Kongparakul [et al.]

โดย: Suwadee Kongparakul
ผู้แต่งร่วม: Suwadee Kongparakul | Amornrat Suemanotham | Natthawan Prasongthum | Yoothana Thanmongkhon | Chanatip Samart | Lalita Attanatho | สุวดี ก้องพารากุล | อมรรัตน์ สื่อมโนธรรม | นรรฏธวรรณ ประสงค์ธรรม | ยุทธนา ฐานมงคล | ชนาธิป สามารถ | ลลิตา อัตนโถ
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม IoF: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 43 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618302040หัวเรื่อง: วัสดุคาร์บอน | น้ำเสีย | ไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน | พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพสาระสังเขป: This study aims to advance the production of carbon materials derived from wastewater in the sugar industry, employing hydrothermal carbonization and chemical activation for the removal of volatile organic compounds and subsequent utilization as electrodes. The hydrothermal carbonization process involved temperatures of 180, 200, and 220°C for 24 hours, with the maximum carbon yield recorded at 220°C, reaching 72.97%. Following activation with potassium hydroxide, the resulting carbon material exhibited a surface area of 969.6 m2/g, an average particle distribution of 6.61 nm, and a pore volume of 6.61 cm3/g. The activated carbon was then utilized as an adsorbent, revealing an equilibrium time of 20 hours for toluene adsorption, with an adsorption capacity of 0.43 mg/g and an absorption efficiency of 52%. The study concluded that the adsorption capacity on the carbon surface had limitations. Additionally, the introduction of a quinone compound enhanced the specific capacitance, increasing it from 56.7 to 372.2 F/g. Consequently, the research demonstrated that carbon materials produced from wastewater through hydrothermal carbonization, potassium hydroxide activation, and the incorporation of a quinone compound possess the potential to serve as both effective adsorbents and electrodes.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตวัสดุคาร์บอนจากน้ำเสียด้วยโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันร่วมกับการกระตุ้นทางเคมี เพื่อใช้ในการดูดซับสารอินทรีย์ระเหยและใช้เป็นขั้วไฟฟ้า โดยศึกษาอุณหภูมิในไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่ 180, 200 และ 240 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า อุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส มีผลได้เชิงปริมาณของคาร์บอนสูงสุดเท่ากับร้อยละ 72.97 เมื่อนำไปผ่านการกระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอก-ไซด์ พบว่า วัสดุคาร์บอนมีพื้นที่ผิว 969.6 ตารางเมตรต่อกรัม การกระจายของอนุภาคเฉลี่ย 6.61 นาโนเมตร และมีปริมาตรรูพรุน 6.61 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม สำหรับการผลการดูดซับโทลูอีนพบว่า ระยะเวลาเข้าสู่สภาวะสมดุลของการดูดซับโทลูอีนที่ 20 ชั่วโมง และมีความสามารถในการดูดซับเท่ากับ 0.43 มิลลิกรัมต่อกรัม คิดเป็นประสิทธิภาพการดูดซับเท่ากับร้อยละ 52 แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการดูดซับที่บริเวณพื้นผิวของวัสดุคาร์บอนมีปริมาณจำกัด นอกจากนี้ การเติมสารประกอบควิโนนบนวัสดุคาร์บอนจะสามารถเพิ่มความจุไฟฟ้าจาก 56.7 เป็น 372.2 ฟารัดต่อกรัม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวัสดุคาร์บอนจากน้ำเสียโรงงานน้ำตาลผ่านไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันร่วมกับการกระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และเติมสารประกอบควิโนน มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำมาใช้ดูดซับสารอินทรีย์ระเหยและใช้เป็นขั้วไฟฟ้าได้
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300