การพัฒนาแท่งปุ๋ยละลายช้าจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร = Development of slow-release fertilizer bars from agricultural waste / Rachain Visutthipat [et al.]

โดย: Rachain Visutthipat
ผู้แต่งร่วม: Rachain Visutthipat | Sayam Sinsawat | Pathan Potisawat | Suthirak Meeploi | Supart Klonkarngan | Sarawut Ratchali | Atchara Ratchali | ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ | สยาม สินสวัสดิ์ | ประธาน โพธิสวัสดิ์ | สุทธิรักษ์ มีพลอย | สุภัทร์ คล่องการงาน | ศราวุธ ราชลี | อัจฉรา ราชลี
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 50 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618203112หัวเรื่อง: แท่งปุ๋ยละลายช้า | เศษวัสดุเหลือทิ้ง | ข้าวโพดสาระสังเขป: Growing economic crops in northern Thailand, which is a steep slope with high soil and fertilizer problems. The objective of this research is to develop methods and technology for slow release fertilizer. To reduce losses and increase the efficiency of using fertilizers for various types of economic crops from studies in the preparation process of slow-release fertilizers. It was found that using waste materials from the corn production process such as shells, cores, and cobs together with other materials to produce slow-dissolving fertilizer pellets. It has a better shape and quality than using only clay. or the use of cement as an ingredient as well to make the fertilizer hard Because of the cement Contains CaCO3 which will react with urea to produce ammonia gas. As a result, nitrogen is lost in the form of ammonia gas, causing the pressed fertilizer to lose its main nutrients. As a result, farmers' produce does not have the quality they desire. When the slow-release fertilizer pellets were tested with corn and marigolds grown in pots, it was found that corn and marigolds that had fertilizer pellets coated with latex formula 15 - 15 - 15 had growth and yields that were no different from Adding Osmocote fertilizer, formula 15 - 15 - 15, then testing the slow-release fertilizer with agricultural planting plots in various areas. It appears that agricultural products have increased yields. Significantly compared to using the original fertilizer formula. The use of slow-release fertilizer technology It helps to further improve the efficiency of fertilizer use and the sustainability of growing economic cropsสาระสังเขป: การปลูกพืชเศรษฐกิจทางภาคเหนือของประเทศไทยที่เป็นพื้นที่ลาดชันที่มีปัญหาการชะล้างหน้าดินและปุ๋ยสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีปุ๋ยละลายช้า เพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ จากการศึกษาในขั้นตอนการเตรียมปุ๋ยละลายช้า พบว่าการใช้วัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตข้าวโพด เช่น เปลือก แกน และซัง ร่วมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอัดแท่งละลายช้า มีรูปทรงและคุณภาพดีกว่าการใช้ดินเหนียวเพียงอย่างเดียว หรือการนำปูนซีเมนต์มาใช้เป็นส่วนผสมด้วย เพื่อต้องการให้ปุ๋ยมีความแข็งตัว เนื่องจากปูนซีเมนต์มีส่วนประกอบของ CaCO3 จะทำปฏิกิริยากับยูเรียส่งผลเกิดก๊าซแอมโมเนีย จึงทำให้สูญเสียไนโตรเจนไปในรูปก๊าซแอมโมเนียทำให้ปุ๋ยอัดแท่งจะสูญเสียธาตุอาหารหลักไป ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ เมื่อนำปุ๋ยอัดแท่งละลายช้าไปทดสอบกับการปลูกข้าวโพด และดาวเรือง ที่ปลูกในกระถาง พบว่าข้าวโพดและดาวเรืองที่ใส่ปุ๋ยอัดแท่งเคลือบด้วยน้ำยางพารา สูตร 15 - 15 - 15 มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 15 - 15 – 15 จากนั้นจึงนำปุ๋ยละลายช้าที่ได้ไปทดสอบกับแปลงปลูกพืชของเกษตรในพื้นที่ต่างๆ ปรากฏว่า ผลผลิตของเกษตรมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยสูตรเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการนำเทคโนโลยีปุ๋ยละลายช้ามาใช้ประโยชน์ มีส่วนช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและความยั่งยืนในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300