การวิจัยพัฒนาปุ๋ยพืชไร่ละลายช้าสาหรับพื้นที่ลาดชัน = Slow released fertilizers for slope area / Cholticha Niwaspragrit [et al.]

โดย: Cholticha Niwaspragrit
ผู้แต่งร่วม: Cholticha Niwaspragrit | Rewat Chindachia | Pongsak Kaewsri | Jantra Pankhwan | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | เรวัตร จินดาเจี่ย | พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี | จันทรา ปานขวัญ
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 76 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618203111หัวเรื่อง: ปุ๋ยละลายช้า | พืชไร่ | พื้นที่ลาดชันสาระสังเขป: Maize holds significant economic importance in northern Thailand. However, the region’s hilly terrain presents challenges such as soil and water erosion. This study aims to devise methods and simple technologies for slow-release fertilizer application in maize cultivation on sloped areas Research on absorbents revealed that zeolite4A exhibited superior electrical conductivity properties, plant nutrient absorption, and solubility compared to dolomite and zeolite commonly used in shrimp farming. In pot experiments studying fertilizer coating materials for maize, treatments with para rubber coating (NPK 15-15-15, 50 kg./rai) and osmocote (NPK 15-15-15, 50 kg./rai) showed comparable growth and seed yield, surpassing the control (no fertilizer) and treatments using lacquer and cement as coatings. The use of para rubber latex as a coating material, along with osmocote (NPK 15-15-15, 50 kg/rai), demonstrated no significant difference in maize growth and yield compared to the conventional method (NPK 16-20-0 and 46-0-0, 50 kg./rai), outperforming the control and the zeolite4A + NPK 15-15-15 (50 kg./rai) treatment Field trials indicated no significant difference in maize growth and yield between treatments using para rubber coating (NPK 15-15-15, 50 kg./rai) and the conventional method (NPK 16-20-0 and 46-0-0, 50 kg./rai). This study suggests that slow-release fertilizer technology can enhance fertilizer efficiency and promote sustainability in sloped land farming.สาระสังเขป: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่เป็นพื้นที่ลาดชันที่มีปัญหาการชะล้างหน้าดินและปุ๋ยสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีปุ๋ยละลายช้าเพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยกับข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน งานศึกษาการใช้วัสดุดูดซับพบว่าสารซีโอไลต์ 4 เอ มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและคุณสมบัติการละลายดีกว่าโดโลไมท์และซีโอไลต์บ่อกุ้ง การศึกษาการใช้วัสดุเคลือบปุ๋ยอัดแท่งและทดสอบกับข้าวโพดที่ปลูกในกระถางพบว่าข้าวโพดที่ใส่ปุ๋ยอัดแท่งเคลือบด้วยน้ำยางพารา (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยออสโมโคท (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) สูงกว่าเมื่อไม่ใส่ปุ๋ยหรือเคลือบด้วยแลกเกอร์หรือเคลือบด้วยปูนซีเมนต์ การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในกระถางพบว่าข้าวโพดที่ใส่แท่งปุ๋ยเคลือบน้ำยางพารา (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) มีการเจริญโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร (NPK 16-20-0 และ 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) และการใช้ปุ๋ยออสโมโคท (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) สูงกว่าเมื่อไม่ใส่ปุ๋ย และเมื่อใส่ซีโอไลต์ 4 เอ (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) การศึกษาการใส่ปุ๋ย (NPK 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) เคลือบด้วยน้ำยางพารา เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร (NPK 16-20-0 และ 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) พบว่าการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การนำเทคโนโลยีปุ๋ยละลายช้ามาใช้ประโยชน์มีส่วนช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและความยั่งยืนในการเพาะปลูกพืชบนพื้นที่ลาดชัน
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300