การรวบรวมและปรับปรุงพันธุ์พืชผักสมุนไพรเพื่อเพิ่มปริมาณสารสำคัญ = Collection and breeding of vegetable and medicinal plants for increase active / Rewat Chindachia [et al.]

โดย: Rewat Chindachia
ผู้แต่งร่วม: Rewat Chindachia | Jakkrit Sreesaeng | Teerawat Srisuk | Pongsakorn Nitmee | Pattra Pratabkong | Surasit Wongsatchanan | Pongsak Kaewsri | Tashita Pinsanthia | Janya Mungngam | Banthita Pensuriya | Namfon Chachai | เรวัตร จินดาเจี่ย | จักรกฤษณ์ ศรีแสง | ธีระวัฒน์ ศรีสุข | พงศกร นิตย์มี | ภัทรา ประทับกอง | สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์ | พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี | เตชิตา ปิ่นสันเทียะ | จรรยา มุ่งงาม | บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ | น้ำฝน ชาชัย
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 134 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618201022หัวเรื่อง: UPGMA | สมุนไพร | บัวบกสาระสังเขป: From the study, grouping was analyzed using UPGMA using Euclidean distance values and the distribution pattern of native Asiatic pennywort was examined using Principal Component Analysis (PCA) based on the morphological and agricultural characteristics of Asiatic pennywort. 30 accessions collected from the northern, southern, northeast and central regions of Thailand. Most of which were found in quantitative terms, including number of leaves, leaf length, leaf width. Leaf per shoots and number of stolon are highly variable and not stable. The flower and seed of plants are the conservative part and rarely response to the environment condition. While variation of flower and seed characteristics of Asiatic pennywort in Thailand are not comprehensively understood. The aims of this research were to classify the variation of flower and seed characteristics of 15 Asiatic pennywort accessions. Experimental design was collected at 3 mounts after transplant. The phylogenetic tree manifesting the diversity among 15 accessions based on Euclidean distance coefficient identified flower and seed characteristics. Analysis of variance revealed high and highly significant difference among accessions for bract length, calyx length, epigenous disc, seed width, seed length and seed length/ width ratio, shown a wide range of flower and seed characteristics variability of the Asiatic pennywort germplasm. The phylogenetic tree was classified 15 Asiatic pennywort accessions based on characteristics of flower and seed characteristics into 2 different clusters with the distance coefficient ranged from 1.00 - 25.00. The 1st cluster consisted of 4 accessions and the 2nd cluster consisted of 11 accessions. The 2nd cluster was divided into 2 sub- clusters, including with sub-cluster 2.1 consisted of 1 accession and sub-cluster 2.2 consisted of 10 accessions. Mean value of the 2nd cluster was higher than the 1st cluster in seed characters. While, the 1st cluster was bigger flower. The result revealed that Asiatic pennywort accessions in Thailand has diversity of flower and seed characters. This result might be used as a criteria character for classified the Asiatic pennywort germplasm in the future The mutation breeding of Asiatic pennywort was done by gamma ray radiation at Kasetsart University. Seeds of selected commercial line was induced by different dose of gamma ray radiation (0, 50, 100, 150, 200 and 250 grays). LD50 was shown at 162.51 grays. M1V1-M1V3 plants were grown in glasshouse conditions. 10 Selected mutant lines were selected base on phenotype and agronomic characteristics. The 10 selected lines were evaluated in glasshouse and selected 6 lines of high performance and highest active ingredients by planting in farmer plots at Bang Len District, Nakhon Pathom Province. The growing season 2023-24, 8 lines consist of mutant AP01, AP02, AP03, AP04, AP05, AP06, native line (AP35) and commercial variety (grown in farmers' plots) was collected at 90 days. The experimental design was cover area of commercial variety had highest (99.58 cm2), but it was not statistically different with another lines. Meanwhile, the mutant AP06 had the highest leaf area index. The stolon length of mutant AP04, AP05, AP06 and commercial variety had the highest. From the analysis of Madecassoside (MDC) and Asiaticoside (ATC) contents of selected Asiatic pennywort lines during 90 days after transplanted. They were found the native line and the mutant AP01 had increase in the amount madecassoside (MDC) and asiaticoside (ATC) were the most abundant (MDC increased by 32.3 and 20.6%, respectively, ATC increased by 20.6 and 33.2%, respectively) compared with the commercial variety.สาระสังเขป: จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA โดยใช้ค่า Euclidean distance และตรวจสอบรูปแบบการกระจายตัวของบัวบกพื้นเมืองด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางการเกษตรของบัวบก 30 accessions ที่รวบรวมจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่พบในลักษณะเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนใบ ความยาวใบ ความกว้างของใบ จํานวนหน่อและจํานวน stolon มีความแปรปรวนสูงและไม่คงตัว จึงต้องทำการศึกษาดอกและเมล็ดของพืชเป็นส่วนที่มีความคงตัวและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม โดยความแปรปรวนของลักษณะดอกและเมล็ดบัวบกยังไม่มีรายงานที่ชัดเจน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกความแปรปรวนของ 15 ลักษณะของดอก และเมล็ดบัวบกพื้นเมืองในสภาพโรงเรือนเพาะชำ เมื่ออายุครบ 3 เดือน สุ่มเก็บข้อมูลลักษณะเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของดอกและเมล็ดบัวบกพบว่า ค่าเฉลี่ยของลักษณะที่ศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในลักษณะความยาวใบประดับ ความยาวกลีบดอก epigenous disc ความกว้างและความยาวเมล็ด อัตราส่วนความกว้างต่อความยาวเมล็ด แสดงให้เห็นว่าบัวบกพื้นเมืองมีความแปรปรวนในลักษณะของดอกและเมล็ด วิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA โดยใช้ค่า Euclidean distance และตรวจสอบรูปแบบการกระจายตัวของบัวบกพื้นเมือง 15 ตัวอย่าง ด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความต่างอยู่ในช่วง 1.00-25.00 แบ่งกลุ่มบัวบกพื้นเมืองออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 4 และ 11 ตัวอย่าง ตามลำดับ โดยกลุ่มที่ 2 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่ 2.1 ประกอบด้วย 1 ตัวอย่าง กลุ่มย่อยที่ 2.2 ประกอบด้วย 10 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของลักษณะเมล็ดบัวบกในกลุ่มที่ 2 มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 1 แต่ดอกในกลุ่มที่ 1 มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มที่ 2 ผลการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า บัวบกสายพันธุ์พื้นเมือง 15 สายพันธุ์ มีความแปรปรวนในลักษณะของดอกและเมล็ด ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต การปรับปรุงพันธุ์บัวบกด้วยวิธีการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้การฉายรังสีแกรมมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเมล็ดบัวบกสายพันธุ์การค้าที่คัดเลือกได้ นำไปทดสอบการฉายรังสีแกรมมาเพื่อชักนำให้เกิดการกลายที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน (0, 50, 100, 150, 200 และ 250 เกรย์) พบว่า ค่า LD50 อยู่ที่ระดับ 162.51 เกรย์ นำต้นบัวบกสายพันธุ์กลายรุ่น M1V1-M1V3 ปลูกทดสอบการเจริญเติบโตในสภาพโรงเรือนเพาะชำ คัดเลือกสายพันธุ์กลายจำนวน 10 สายพันธุ์ จากลักษณะการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยา ประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์กลายดีเด่น จำนวน 6 สายพันธุ์ เพื่อนำไปทดสอบการเจริญเติบโตในสภาพแปลงปลูก โดยปลูกทดสอบบัวบกในแปลงเกษตรกร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ฤดูปลูก 2566-67 จำนวน 8 พันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์กลาย AP01, AP02, AP03, AP04, AP05, AP06, พันธุ์พื้นเมือง AP35 และพันธุ์เปรียบเทียบ (พันธุ์ที่ปลูกในแปลงเกษตรกร) ที่ระยะเก็บเกี่ยว 90 วัน พบว่า พันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นพันธุ์ของเกษตรกรปลูกมีแนวโน้มการเจริญเติบโตคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด (99.58 ตารางเซนติเมตร) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในขณะที่สายพันธุ์กลาย AP06 มีพื้นที่ใบมากที่สุด โดยลักษณะความยาวไหล พบว่า สายพันธุ์ AP04, AP05, AP06 และพันธุ์เปรียบเทียบมีความยาวไหลมากที่สุด และจากการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในตัวอย่างใบแห้งของบัวบกทั้ง 8 พันธุ์ พบว่า สายพันธุ์พื้นเมือง และสายพันธุ์กลาย AP01 มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณ madecassoside (MDC) และ asiaticoside (ATC) มากที่สุด (MDC เพิ่มขึ้น 32.3 และ 20.6% ตามลำดับ ATC เพิ่มขึ้น 20.6 และ 33.2% ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับพันธุ์เปรียบเทียบ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300