การวิจัยและพัฒนาผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อเป็นปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร = Research and development of by-products from asparagus (asparagus officinalis l.) for the factor in agricultural production / Teerawat Srisuk [et al.]

โดย: Teerawat Srisuk
ผู้แต่งร่วม: Teerawat Srisuk | Pongsakorn Nitmee | Pattra Pratabkong | Rewat Chindachia | Jakkrit Sreesaeng | Surasit Wongsatchanan | Pongsak Kaewsri | Tashita Pinsanthia | Janya Mungngam | Banthita Pensuriya | Namfon Chachai | ธีระวัฒน์ ศรีสุข | พงศกร นิตย์มี | ภัทรา ประทับกอง | เรวัตร จินดาเจี่ย | จักรกฤษณ์ ศรีแสง | สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์ | พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี | เตชิตา ปิ่นสันเทียะ | จรรยา มุ่งงาม | บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ | น้ำฝน ชาชัย
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 88 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618102073หัวเรื่อง: หน่อไม้ฝรั่ง | มะเขือเปราะพันธุ์ไข่เต่า | น้ำหมักชีวภาพสาระสังเขป: Asparagus production showed that there was considerable waste in the harvesting and pruning process and can be used as a plant nutrient. This study aims to study the optimum ratio of bio-extract from trimmed asparagus waste to growth and yield of Thai-eggplant variety Khai tao at Community-based seed production, Lam Ta Khlong Research Station, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. Completely randomized design (CRD) was used as the experimental design for 5 treatments, 4 replicates each, 3 plants each, which spraying in the ratio bio-extract: water, by volume as control, 1:2000, 1:1000, 1:500 and 1:250. for farmers or people who are interested in applying bio-extract from trimmed asparagus waste for plants should be used in conjunction with organic or chemical fertilizers to increase plant nutrition to the soilสาระสังเขป: การผลิตหน่อไม้ฝรั่ง พบว่าในขั้นตอนการเก็บและการตัดแต่งมีส่วนเหลือทิ้งค่อนข้างสูง และสามารถใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่งและมะเขือเปราะพันธุ์ไข่เต่า ภายในพื้นที่สถานีวิจัยลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) 5 ตำรับการทดลอง โดยมีการฉีดพ่นในอัตราส่วน น้ำหมักชีวภาพ:น้ำ, โดยปริมาตร ดังนี้ ตำรับควบคุม, 1:2000, 1:1000, 1:500 และ 1:250 พบว่า การฉีดพ่นในอัตราส่วน 1:1000 โดยปริมาตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่ง และการฉีดพ่นในอัตราส่วน 1:2000 โดยปริมาตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเปราะ สำหรับเกษตรกรหรือบุคคลที่สนใจในการนำน้ำหมักชีวภาพหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตจากเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งฉีดพ่นให้กับพืช ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300