การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ประเภทแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายทะเลขนาดเล็ก = Development of the production of functional ingredients based on carotenoids from marine microalgae / Narin Chansawang [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Narin Chansawang
ผู้แต่งร่วม: Narin Chansawang | Benjawan Praprai | Sayan Nanchana | Worawan Tiatragoon | Thanchanok Muangman | Prapaipat Klungsupya | Nantaporn Pinnak | นารินทร์ จันทร์สว่าง | เบญจวรรณ ประไพร | สายัณห์ นันชะนะ | วรวรรณ เจียตระกูล | ธัญชนก เมืองมั่น | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | นันทพร ปิ่นนาค
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 95 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202154หัวเรื่อง: แคโรทีนอยด์ | สาหร่ายทะเลขนาดเล็ก | สารออกฤทธิืเชิงหน้าที่สาระสังเขป: The skin care business is a large and growing market, and the product range is becoming more diverse. This encompasses not only the entire spectrum of cosmetics but also includes dietary supplements, beauty clinics, spa establishments, and more, all of which fiercely compete within the market. Contemporary consumers exhibit a predilection for purchasing products that boast superior quality, natural origins, optimal benefits for the body, and a dependable production process. Marine microalgae possess attributes that render them a compelling alternative for exploration and incorporation as skincare agents. Therefore, the objective of this study is to research and develop carotenoid active ingredients from microalgae for the production of skin care products that effectively promote a more youthful skin appearance. The microalgae Tetraspora gelatinosa TISTR 11440 had a high biomass of 0.41±0.17 g/L under F/2 diet conditions with half the salt added than the normal diet. Extract pigments from algae by using ethanol solvent gave the better pigments concentration than acetone, ethyl acetate and hexane. When algae were cultured with F/2 medium with two levels of different salt concentrations, i.e. 1) 21.19 g/L and 2) 10.59 g/L in 10 liter carboy tanks with a media volume of 7 liters. The culture was incubated at 28±2 °C, light intensity of 50±5 μmol photons/m2/sec for 24 hours, with continuous aeration passing through a 0.20 μm filter for 9 days. The result showed algae had a high content of lutein at 15.1-17.7 and 9.4-12.7 mg/ml in medium with salt intensity of 21.19 g/L and 10.59 g/L, respectively. Then algae were cultivated at an expanded medium volume of 75 liters with salt intensity of 10.59 g/L, lutein content of 9.1- 14.4 mg/ml. When analyzing the chemical composition, result showed that the saturated fatty acid content of algae was 1.81 g/100 g dry, with the highest palmitic acid being 1.71 g/100g, while the unsaturated fatty acid was 0.98 g/100g. There were omega-3, 6 and 9 in the amount of 132.47, 635.98 and 140.06 g/100g, respectively. In addition, this algae found both essential and non-essential amino acids for the human body. The highest glutamic acid was found at 2,329.27 milligrams per 100 grams. The crude extract from algae had the ability to inhibit free radicals IC50 was 72.02±0.21 mg/ml. Algae had phenolic content of 23.726±0.10 mg gallic acid equivalent per gram of dried algae and flavonoids of 8.32±0.05 mg of quercetin equivalent per gram of dried algae. The algae were also non-toxic to cultured L929 cells, with the percentage of cell survival ranging from 80.47-87.43 at concentrations of 10-4-10-9 g/ml. The creation of a prototype skincare product containing microalgae extracts showcases its potential to offer multifaceted benefits. This product demonstrates the capacity to shield the skin from the sun, enhance skin strength, refine pores for a tighter appearance, provide efficient moisturization, and enable swift skin absorption without leaving a greasy residue. The irritation test of this product found that the average cumulative irritation index (M.C.I.I.) was 0.08, which M.C.I.I.<0.25, therefore considered that this product does not cause irritation. The stability testing of products was accelerated conditions and adapted from the method of Cosmetic product stability guide (2005), this was found that the physical characteristics were appearance, color, delamination and sedimentation had no change while the pH value and the product viscosity variation were as small as 1%. In term of the development of algal aquaculture with 75 liter in a cylindrical tank, algae grew-well and this was likely to be a prototype at scale to industrial scale. สาระสังเขป: ธุรกิจด้านสารบำรุงผิวเป็นตลาดขนาดใหญ่และขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งกลุ่มสินค้าก็มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งกลุ่มคอสเมติกส์ กลุ่มอาหารเสริม กลุ่มคลินิกความงาม และกลุ่มสปา เป็นต้น ซึ่งมีการแข่งขันทางการตลาดสูง ผู้บริโภคยุคใหม่มักจะพิจารณาซื้อสินค้าจากคุณภาพ มาจากธรรมชาติ ให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้มากที่สุด กระบวนการผลิตที่ต้องน่าเชื่อถือ สาหร่ายมีคุณสมบัติดังกล่าวจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำมาวิจัยและผลิตเป็นสารบำรุงผิวได้ อีกทั้งยังสามารถเพาะเลี้ยงได้โดยไม่ต้องพึ่งตามฤดูกาลของผลผลิต ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือวิจัยและพัฒนาสารแสดงฤทธิ์กลุ่มแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายทะเลขนาดเล็กเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ สาหร่ายทะเลขนาดเล็ก Tetraspora gelatinosa TISTR 11440 มีชีวมวลสูง 0.41±0.27 กรัมต่อลิตร ภายใต้สภาวะอาหารสูตร F/2 ที่มีการเติมเกลือเป็นครึ่งหนึ่งของอาหารปกติ การใช้ตัวทำละลายเอทานอลสกัดสารสีจากสาหร่ายนั้นให้ปริมาณสารสีดีกว่าแอซีโทน เอทิลแอซีเทต และเฮกเซน และเมื่อสาหร่ายเพาะเลี้ยงอาหาร F/2 ที่มีความเข้มข้นของเกลือแตกต่างกัน 2 ระดับ ได้แก่ 1.) 21.19 กรัมต่อลิตร และ 2.) 10.59 กรัมต่อลิตร ในถังคาร์บอยขนาด 10 ลิตร ที่มีปริมาตรอาหาร 7 ลิตร เพาะเลี้ยงแบบกะที่อุณหภูมิ 28±2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 50±5 ไมโครโมลโฟตอนต่อตารางเมตรต่อวินาที ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง มีการให้อากาศอย่างต่อเนื่องที่ผ่านตัวกรอง 0.20 ไมครอน เลี้ยงนาน 9 วัน พบว่าสาหร่ายมีปริมาณลูทีน (lutein) สูงที่ 15.1-17.7 และ 9.4-12.7 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในอาหารที่มีระดับความเข้มเกลือ 21.19 กรัมต่อลิตร และ 10.59 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ และเมื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายนี้ในระดับขยายปริมาตรอาหาร 75 ลิตร ที่มีความเข้มของเกลือ 10.59 กรัมต่อลิตร สาหร่ายมีปริมาณลูทีน 9.1-14.4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าสาหร่ายมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัว 1.81 กรัมต่อ 100 กรัมแห้ง โดยมีกรดปาล์มิติกสูงสุดที่1.71 กรัมต่อ 100 กรัม ขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัว 0.98 กรัมต่อ 100 กรัม และพบกรดในกลุ่มโอเมกา 3, 6 และ 9 ในปริมาณ 132.47, 635.98 และ 140.06 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่สาหร่ายนี้พบทั้งกรดแอมิโนจำเป็นและไม่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ โดยพบกรดกลูตามิกสูงสุดที่ 2,329.27 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมสารสกัดหยาบ (crude extract) สาหร่ายมีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ IC50 เท่ากับ 72.025±0.21 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สาหร่ายยังมีปริมาณฟีนอลิก เท่ากับ 23.726 ± 0.10 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสาหร่ายแห้งและฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 8.32±0.05 มิลลิกรัมสมมูลของเควอซิทินต่อกรัมของสาหร่ายแห้ง สาหร่ายยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด L929 โดยร้อยละการรอดชีวิตของเซลล์อยู่ระหว่าง 80.47-87.43 ที่ระดับความเข้มข้น 10-4-10-9 กรัมต่อมิลลิลิตร จากการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดสาหร่ายทะเลขนาดเล็ก มีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวจากแสงอาทิตย์ ผิวมีความแข็งแรง รูขุมขนที่เล็กลง แลดูกระชับขึ้น ผิวมีความชุ่มชื้น ซึมสู่ผิวไว ไม่เหนอะหนะ การทดสอบการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์นี้พบว่า มีค่าดัชนีความระคายเคืองสะสมโดยเฉลี่ย (M.C.I.I.) เท่ากับ 0.08 ซึ่งค่า M.C.I.I. < 0.25 จึงถือว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Non irritating) และการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะเร่ง ซึ่งดัดแปลงจากวิธีของ Cosmetic product stability guide (2005) พบว่าลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภายนอก สี การแยกชั้น และการตกตะกอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนค่าความเป็นกรด-เบส และค่าความหนืดของผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงน้อยเพียงร้อยละ 1 สำหรับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายน้ำเค็มขนาดเล็กนี้ในระดับขยายด้วยถังกลมทรงกระบอกขนาด 75 ลิตร มีแนวโน้มที่จะเป็นต้นแบบในระดับขยายจนถึงระดับอุตสาหกรรมได้
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300