การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ประเภทรงควัตถุสีม่วงจากกลุ่มแบคทีเรียดิน = Development of violacein functional compound from soil bacteria / Chatrudee Suwannachart [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Chatrudee Suwannachart
ผู้แต่งร่วม: Chatrudee Suwannachart | Siritorn Teeravet | Thanchanok Muangman | Worawan Tiatragoon | Pradipha Pradapphai | Tatsanee Werasura | ฉัตรฤดี สุวรรณชาติ | สิริธร ธีระเวทย์ | ธัญชนก เมืองมั่น | วรวรรณ เตียตระกูล | ประดิภา ประดับไพร | ทัศนีย์ เวระสุระ
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 89 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202152หัวเรื่อง: Chromobacterium | เคราติโนไซต์ | ไวโอลาซีนสาระสังเขป: In this research, three bacteria from genus Chromobacterium, Chromobacterium amazonense TISTR 2765, C. amazonense TISTR 2766 and C. violaceum TISTR 2936 from TISTR Culture Collection, were selected for violacein production. According to the results, C. amazonense TISTR 2765 and TISTR 2766 produced violacein at 37 C while C. violaceum TISTR 2936 produced at 30 C. High amount of violacein were obtained at 36 – 48 hours as their culture in Tryptic Soy Broth (TSB) became very deep violet and their growth were also at stationary phase which is the suitable stage for violacein production. In additionally, the growth of these bacteria suggested that rotation speeds play an important role in the amount of violacein produced as shown in C. amzonense TISTR 2765 and C. violaceum TISTR 2936. The highest amount of violacein in this study was obtained from C. amzonense TISTR 2766 when it was cultured at 37C and shake at 150 rpm for 48 hours. Finally, the violacein produced from these 3 strains were subjected to test against, Bacillus subtilis TISTR001, Staphylococcus aureus TISTR 746 and Cutibacterium acnes DSM 1897, the main bacteria which can cause acne. The results showed that violacein produced from C. amazonense TISTR 2765 and TISTR 2766 inhibited the growth of Bacillus subtilis TISTR 001 and Cutibacterium acnes DSM 1897 but it was not for violacein produced from C. violaceum TISTR 2936 which inhibited only the growth of Cutibacterium acnes DSM 1897. Furthermore, the anti-inflammatory activity test of violacein by using human skin HaCaT cells showed that the increase of concentration had enhanced anti-inflammatory effect. Moreover, at 1,000 mg/ml of violacein can inhibit the secretion of TNF-alpha and Interlukin-6 up to 70 % and violacein concentration at 500 and 1,000 mg/ml showed similar inhibition effect of Interlukin-1 secretion. Furthermore, in vitro irritation study on ocular and skin tissues revealed no significant irritation.สาระสังเขป: การวิจัยครั้งนี้ทำการคัดเลือกแบคทีเรียสกุล Chromobacterium จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ Chromobacterium amazonense TISTR 2765, C. amazonense TISTR 2766 และ C. violaceum TISTR 2936 ที่สามารถผลิตสารไวโอลาซีน จากศูนย์จุลินทรีย์ (วว.) โดยพบว่า C. amazonense TISTR 2765 และ TISTR 2766 มีการเจริญและสร้างสารสีม่วงได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ส่วน C. violaceum TISTR 2936 สามารถสร้างสารไวโอลาซีนได้ดีที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส โดยเวลาที่เหมาะสมต่อการผลิตสารไวโอลาซีนมากที่สุด คือ 36-48 ชั่วโมง เนื่องจากสีของอาหารเลี้ยงเชื้อมีสีม่วงเข้มมากที่สุด และยังเป็นช่วงที่เชื้อมีการเจริญ อยู่ในระยะ Stationary phase นอกจากนี้ยังพบว่าความเร็วรอบของการเขย่าในการเพาะเลี้ยง มีผลต่อการผลิตสารไวโอลาซีนของแบคทีเรีย โดยปริมาณของสารไวโอลาซีนจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบของการเขย่า ซึ่งมีผลเชิงบวกกับ C. amazonense TISTR 2765 และ C. violaceum TISTR 2936 เท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้แบคทีเรียที่สามารถผลิตสารไวโอลาซีนสูงที่สุด คือ C. amazonense TISTR 2766 เมื่อเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที เป็นเวลา 48 ชั่วโมง มีปริมาณสาร ไวโอลาซีนเท่ากับ 2,262.51 มิลลิกรัมต่อลิตร และจากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารไวโอลาซีนที่ผลิตได้จากแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่าสารสกัดจากแบคทีเรีย C. amazonense TISTR 2765 และ TISTR 2766 สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus subtilis TISTR 001 และ Cutibacterium acnes DSM 1897 ได้ แต่ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus TISTR 746 ในขณะที่สารสกัดจาก C. amazonense TISTR 2936 สามารถยับยั้งแบคทีเรีย C. acnes DSM 1897 ได้เพียงสายพันธุ์เดียว นอกจากนั้นแล้วสารไวโอลาซีนที่ได้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ผิวหนังมนุษย์ชนิดเคราติโนไซต์ (HaCaT) พบว่าความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น 250 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ตามลำดับ และที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการหลั่งของ TNF-alpha และ Interlukin-6 ได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการหลั่งของ Interlukin-1 ได้ไม่แตกต่างกัน และไม่พบการระคายเคืองอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื้อเยื่อดวงตาและเนื้อเยื่อผิวหนังจำลอง
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300