ผลของการเสริมยีสต์ (หรือเชื้อรา) ที่สังเคราะห์แร่ธาตุคีเลตแบบชีวภาพต่อสุขภาพแบบองค์รวม ผลผลิตน้ำนมคุณภาพน้ำนม และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนมที่เครียดจากความร้อน = Effect of biologically enriched-minerals chelated yeast (or fungus) supplementation on digestion efficacy rumen fermentation and nutrients utilization in heat stressed dairy cows / Surasak Jittakhot

โดย: Surasak Jittakhot
ผู้แต่งร่วม: Surasak Jittakhot | สุรศักดิ์ จิตตะโคตร์
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2025 รายละเอียดตัวเล่ม: 43 p. : tables, ill. ; 30 cmหัวเรื่อง: โครเมียมอินทรีย์ | แม่โคนม | การเสริมเเร่ธาตุสาระสังเขป: The aims of this study scrutinized the impact of dietary chromium-enriched yeast supplement (Cr 0, 0.5, 1.0 and 1.5 ppm of total mixed rations) in Holstein Friesian crossbred lactating dairy cows under heat stress conditions (Temperature-Humidity Index, THI >72) in Thailand. The study spanned various facets including feed intake, nutrients digestibility, rumen pH, rumen volatile fatty acids production, blood parameters, blood antioxidant concentration, feed efficiency, milk yield, and milk composition. Eight milking cows were raised under Thailand's humid tropical environment and climate, with THI greater than 72 over the 4 months of the experimental periods, with a replicated 4 x 4 Latin Square Design. Our findings revealed a significant enhancement in feed intake (p<0.05) and nutrient digestibility, particularly crude protein digestibility (p<0.05), with chromium supplementation. However, rumen fluid pH and volatile fatty acid production displayed marginal variations (p>0.05) across different chromium supplementation levels. Blood parameters showed minimal fluctuations (p>0.05), but a promising modulation of antioxidant defense mechanisms was observed (p>0.05), especially at 0.5 and 1.5 ppm chromium supplementation. Significant improvements (p<0.05) were noted in feed intake as fed and as dry matter at 0.5 ppm and 1.0 ppm supplementation levels, corresponding with a higher (p>0.05) milk yield, particularly at Cr 0.5 ppm of total mixed ration. This comprehensive investigation underscores dietary chromium-enriched yeast supplement as a potential strategic novel intervention to ameliorate the impacts of heat stress on lactating dairy cows in Thailand, thereby improving their productivity and the nutritional quality of the milk produced. Future studies are warranted to further elucidate the optimal dosages for each stage of lactation and the underlying biochemical mechanisms bolstering the observed benefits. สาระสังเขป: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการเสริมแร่ธาตุโครเมียมอินทรีย์ที่สังเคราะห์จากยีสต์ (Chromium-enriched yeast) ที่โครเมียมระดับ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 ppm ของอาหารผสมทั้งหมด ในแม่โคนมลูกผสมโฮนสไตน์ฟรีเชียนที่กำลังให้นมภายใต้สภาวะความเครียดเนื่องจากความร้อน (ดัชนีอุณหภูมิความชื้น, THI>72) ในประเทศไทย โดยค่าสังเกตของการศึกษานี้ประกอบด้วย ปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) การผลิตกรดไขมันระเหยได้ในกระเพาะหมัก ค่าทางโลหิตวิทยา ความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาหาร การให้ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบของน้ำนม โดยใช้แม่โครีดนมจำนวน 8 ตัว ในการทดลองนี้ที่ถูกเลี้ยงภายใต้สภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้นของประเทศไทยซึ่งมีค่า THI มากกว่า 72 ตลอดช่วง 4 เดือนของงานทดลอง โดยใช้แบบแผนงานทดลองแบบ 4 x 4 จัตุรัสละตินแบบมีซ้ำ จากผลการวิจัยนี้พบว่าปริมาณการกินได้และความสามารถในการย่อยได้ของสารอาหารหลักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีนหยาบ เมื่อมีการเสริมแร่ธาตุโครเมียมอินทรีย์ที่สังเคราะห์จากยีสต์ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และการผลิตกรดไขมันระเหยได้ในกระเพาะหมักไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ในแต่ละกลุ่มอาหารทดลองที่มีระดับการเสริมโครเมียมที่แตกต่างกัน ค่าทางโลหิตวิทยาไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่พบว่าปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดของแม่โคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (p>0.05) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับ 0.5 และ 1.5 ppm ของการเสริมโครเมียม ค่าสังเกตที่พบความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของงานทดลองนี้ (p<0.05) คือปริมาณการกินได้ของทั้งน้ำหนักสดและวัตถุแห้งที่ระดับการเสริมโครเมียม 0.5 ppm และ 1.0 ppm ซึ่งสอดคล้องกับผลผลิตน้ำนมที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (p>0.05) โดยเฉพาะการเสริมโครเมียมที่ปริมาณ 0.5 ppm ของอาหารผสมทั้งหมด ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การเสริมแร่ธาตุโครเมียมอินทรีย์ที่สังเคราะห์จากยีสต์ในอาหารแม่โคเป็นนวัตกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการการให้อาหารที่สามารถใช้เพื่อลดผลกระทบของความเครียดจากความร้อนในโคนมที่กำลังให้นมที่เลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทั้งด้านการให้ผลผลิตและคุณภาพของน้ำนม โดยการศึกษาในอนาคตควรทำการศึกษาหาปริมาณที่เหมาะสมของการเสริมแร่ธาตุโครเมียมอินทรีย์ที่สังเคราะห์จากยีสต์ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของการให้ผลผลิต และควรศึกษากลไกทางชีวเคมีพื้นฐานของการใช้ประโยชน์โครเมียมอินทรีย์ที่สังเคราะห์จากยีสต์ที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีและประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่โค
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300