การวิจัยและพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์อวัยวะพืชสำหรับผลิตสารหอมระเหยมูลค่าสูง = Research and development of plant organ culture for high value essential oils production / Kanlaya Mokhaphan [et al.]

โดย: Kanlaya Mokhaphan
ผู้แต่งร่วม: Kanlaya Mokhaphan | Anan Piriyapattarakit | Sawithree Pramoj Na Ayudhya | Tantima Kumlung | Ubon Rerk-am | Chanai Noysang | Rungarun Poonsin | Chatree Konee | กัลยา โมกขพันธุ์ | อนันต์ พิริยะภัทรกิจ | สาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา | ตันติมา กำลัง | อุบล ฤกษ์อ่ำ | ไฉน น้อยแสง | รุ่งอรุณ พูนสิน | ชาตรี กอนี
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 83 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618101013หัวเรื่อง: น้ำมันหอมระเหย | ต้นแก้วเจ้าจอม | ม่วงเทพรัตน์ | เสน่ห์จันทร์ขาวสาระสังเขป: Essential Oils from natural are used better than synthetic essential oils. Now, essential oils extracted from various plant is still quite expensive. Therefore, the study of the potential plants to produce essential oils with tissue culture systems from aromatic plants including, Guaiacum officinale, Exacum affine and Homalomena lindenii. Study on sterilization methods and the suitable for media for callus induction. The result found that the survival rate of 87% on Guaiacum officinale when sterilized and MS medium supplemented with 5 mg/L 2,4-D the highest callus induction. While the Homalomena lindenii had a survival rate of 67.90% form sterilized and MS medium supplemented with 2.5 mg/L BA in combination with, 0.5 mg/L NAA the highest callus induction in the same way as Exacum affine is compared to standard MS (Murashige and Skoog) formulas (MS free hormones). All 3 aromatic plants induced callus formation percentage of 100 %. After that the study effects of Salicylic acid (SA) and Jasmonate (JA) are effective in antioxidant and total phenolic contents. It was found that the callus of Guaiacum officinale, Exacum affine and Homalomena lindenii were cultured on MS medium supplemented combined with all SA concentration were able to grow and can induce green compact callus. In contrast, were found that the calluses were grown on media at concentrations JA-containing of 150 and 200µM. And were found that the callus of the 3 plants culture on MS medium (control) at 30 days, giving the callus size, fresh weight, and dry weight the highest and significantly different compared to the MS combination with SA and JA. The analysis of antioxidant activity using the DPPH assay. The result show that the callus of G. officinale were cultured on MS medium supplemented combined with 100 µM of SA showed highest antioxidant (EC50 of 182.17±8.42 µg/mL) and then analysis of antioxidant activity using the FRAP assay were found that the callus of E. affine showed highest reduced (113.41±2.41 mg Trolox/g extract) as well as DPPH assay and were found the highest total phenolic content of 86.58±3.53 mg GAE/g extract were cultured on MS medium supplemented combined with 50 µM of JA. Therefore, the callus of the 3 plants culture on MS medium supplemented combined with SA (100 µM) and JA (50 µM) could enhance antioxidant and total phenolic contents of plant after cultured for 30 days were greater than that of the controlสาระสังเขป: น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาตินำมาใช้ประโยชน์ได้ผลดีกว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ ปัจจุบันน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชหลายชนิดมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นการศึกษาพืชที่มีศักยภาพการผลิตน้ำมันหอมระเหยด้วยระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากอวัยวะพืชที่ให้กลิ่นหอม ได้แก่ ต้นแก้วเจ้าจอม ม่วงเทพรัตน์ และเสน่ห์จันทร์ขาว โดยศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อและหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดแคลลัส พบว่าแก้วเจ้าจอม ที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อมีเปอร์เซ็นต์ชีวิตสูงถึง 87 เปอร์เซ็นต์ อาหารที่เหมาะสมในการชักนำแคลลัส คือสูตร MS ที่เติม 2,4-D ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่เสน่ห์จันทร์ขาว มีเปอร์เซ็นต์ชีวิตการรอดชีวิต 67.90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาหารที่เหมาะสมในการชักนำแคลลัส คืออาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้นที่ 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบว่าอาหารสูตรนี้ยังสามารถชักนำต้นม่วงเทพรัตน์ให้เกิดแคลลัสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับสูตร MS มาตรฐาน โดยพืชหอมทั้ง 3 ชนิด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัส 100 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นศึกษาผลของ Salicylic acid (SA) และ Jasmonic acid (JA) ที่มีประสิทธิภาพต่อการชักนำสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด พบว่าแคลลัสของพืชทั้ง 3 ชนิดที่เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS เมื่อเติมสาร SA ทุกระดับความเข้มข้น แคลลัสสามารถเจริญเติบโตได้ มีสีเขียวลักษณะเกาะกันแน่น ในทางตรงกันข้ามพบว่าแคลลัสที่เลี้ยงบนอาหารที่เติมสาร JA ที่ความเข้มข้น 150 และ 200 ไมโครโมล ลักษณะแคลลัสเกาะกันหลวมๆ สีน้ำตาล และพบว่าแคลลัสของพืชหอมทั้ง 3 ชนิด มีขนาด น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งสูงที่สุด บนอาหารสูตร MS (สูตรควบคุม) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับอาหารสูตร MS ที่เติมสารกระตุ้น SA และ JA ส่วนการวิเคราะห์คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี DPPH พบว่าแคลลัสแก้วเจ้าจอมที่เลี้ยงบนอาหาร SA ความเข้มข้น 100 ไมโครโมล มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด มีค่า EC50 เท่ากับ 182.17±8.42 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay พบว่าแคลลัสของม่วงเทพรัตน์บนอาหาร SA ความเข้มข้น 100 ไมโครโมล มีความสามารถในการรีดิวซ์มากที่สุดของ เท่ากับ 113.41±2.41 มิลลิกรัมโทรล็อกซ์ต่อกรัม extract และแคลลัสม่วงเทพรัตน์ยังมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุดบนอาหารที่เติม JA ความเข้มข้น 50 ไมโครโมล เท่ากับ 86.58±3.53 มิลลิกรัม GAE ต่อกรัม extract ดังนั้นการเพาะเลี้ยงแคลลัสของพืชทั้ง 3 ชนิด บนอาหารที่เติมสาร SA (100 ไมโครโมล) และ JA (50 ไมโครโมล) อายุ 30 วัน ส่งผลให้พืชผลิตสารต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกหลังการเพาะเลี้ยงดีกว่าสูตรอาหารควบคุม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300