การพัฒนาอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร = Development of ruminant feed meal from agricultural waste / Rachain Visutthipat [et al.]

โดย: Rachain Visutthipat
ผู้แต่งร่วม: Rachain Visutthipat | Sayam Sinsawat | Pathan Potisawat | Suthirak Meeploi | Supart Klonkarngan | Sarawut Ratchali | Atchara Ratchali | ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ | สยาม สินสวัสดิ์ | ประธาน โพธิสวัสดิ์ | สุทธิรักษ์ มีพลอย | สุภัทร์ คล่องการงาน | ศราวุธ ราชลี | อัจฉรา ราชลี
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 49 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618203102หัวเรื่อง: ซังข้าวโพด | สัตว์เคี้ยวเอื้อง | โซเดียมไฮดรอกไซด์สาระสังเขป: The aim of this study was to improve the nutritional value and digestibility of Corn husks and cobs are fed to animals with sodium hydroxide and/or urea. The first experiment studied sodium levels. hydroxide and/or urea To improve the digestibility of corn husks and cobs at levels of 0, 3 and 6 %, fermented for 7, 14 and 21 days with a 3 x 3 x 3 factorial experiment plan to select the husks and cobs formula. Corn with the highest digestibility The results of the experiment found that Using urea with sodium hydroxide helps improve the digestibility of corn husks and cobs for animal feed. Better than using urea or sodium hydroxide alone. The formula with the highest digestibility is the formula improved with sodium 6% hydroxide plus 6% urea for 14 and 21 days and modified formula with 6% sodium hydroxide plus 3% urea for 21 days (82.3, 77.5 and 78.0%, respectively) Experiment 2 studied the feed intake and digestibility coefficient in 12 crossbred cows (Brahman x Charolais), divided into 4 groups, which received 4 experimental diets. In a completely randomized trial plan, The control group includes Straw was fermented with 6% urea for 21 days (T1). Husks and corn cobs were fermented with 6% sodium hydroxide along with 6% urea for 14 days (T2 ). Husks and corn cobs were fermented with 6 % sodium hydroxide along with 6% urea for 14 days (T2). 6% droxite combined with 3% urea for 21 days (T3) and the corn husks and cobs group fermented with 6% sodium hydroxide combined with 6% urea for 21 days (T4). The results were found. that group T3 cattle have the amount of dry matter they can eat This was lower than that of groups T2 and T4, which were 8.34, 8.43, and 8.73 kilograms per day, respectively. Group T1 had a higher coefficient of NDF digestibility than groups T2, T3, and T4 (58.65, 45.57, 45.56, and 45.58%, respectively). The edible amount of dry matter in groups T2 and T4 was more edible than T3, with values equal to 8.43, 8.73, and 8.34 kg/piece/day, respectivelyสาระสังเขป: การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ของ เปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์และ/หรือยูเรีย โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาระดับโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ/หรือยูเรีย ในการปรับปรุงการย่อยได้ของเปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ระดับ 0, 3 และ 6 % หมักเป็นระยะเวลา 7, 14 และ 21 วัน ด้วยแผนการทดลอง 3 x 3 x 3 แฟกทอเรียล เพื่อเลือกสูตรเปลือกและซังข้าวโพดที่มีการย่อยได้สูงสุด ผลการทดลองพบว่า การใช้ยูเรียร่วมกับ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ช่วยปรับปรุงการย่อยได้ของเปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ดีกว่าการใช้ยูเรียหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์เพียงอย่างเดียว โดยสูตรที่มีการย่อยได้สูงสุด คือ สูตรที่ปรับปรุงด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 % ร่วมกับยูเรีย 6 % นาน 14 และ 21 วัน และสูตรปรับปรุงด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 % ร่วมกับยูเรีย 3 % นาน 21 วัน (82.3, 77.5 และ 78.0 % ตามลำดับ) การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณการกินได้และสัมประสิทธิ์การย่อยได้ในโคลูกผสม (บราห์มัน x ชาร์โรเล่ส์) จำนวน 12 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยได้รับอาหารทดลอง 4 กลุ่มการทดลอง ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์คือ กลุ่มควบคุมได้แก่ ฟางหมักยูเรีย 6 % นาน 21 วัน (T1) กลุ่มเปลือกและซังข้าวโพดหมักด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 % ร่วมกับยูเรีย 6 % นาน 14 วัน (T2) กลุ่มเปลือก และซังข้าวโพดหมักด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 % ร่วมกับยูเรีย 3 % นาน 21 วัน (T3) และกลุ่มเปลือกและซังข้าวโพดหมักด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 % ร่วมกับยูเรีย 6 % นาน 21 วัน (T4) ผลทดลองพบว่า โคกลุ่ม T3 มีปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง น้อยกว่ากลุ่ม T2 และ T4 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8.34, 8.43 และ 8.73 กิโลกรัมกรัมต่อวัน ตามลำดับ กลุ่ม T1 มีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของ NDF สูงกว่ากลุ่ม T2, T3 และ T4 (58.65, 45.57, 45.56 และ 45.58 % ตามลำดับ) โดยปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งในกลุ่ม T2 และ T4 มีการกินได้ มากกว่า T3 มีค่าเท่ากับ 8.43, 8.73 และ 8.34 กิโลกรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300