การพัฒนาหม้อไอน้ำชีวมวลเพื่อลดต้นทุนการผลิต = Development of boilers from biomass to reduce production cost / Borisut Chantrawongphaisal [et al.]

โดย: Borisut Chantrawongphaisal
ผู้แต่งร่วม: Borisut Chantrawongphaisal | Soticha Kitarsa | Pongsak Hongcharengsri | Tanakorn Varapiag | บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล | โสธิชา กิจอาสา | พงษ์ศักดิ์ หงษ์เจริญศรี | ธนากรณ์ วาระเพียง
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 127 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618203101หัวเรื่อง: หม้อไอน้ำ | ชีวมวล | ตู้อบลมร้อนสาระสังเขป: TISTR has developed and transferred boiler technology from biomass to reduce production costs. Found that it can reduce production costs from using fuel by more than 70 percent compared to the original furnace. Moreover, this technology increase the productivity of mushroom cultivation cubes from the original steaming capacity of about 500 cubes per batch, increasing to 1,200 - 1900 cubes per batch. The flue gas was used as hot air for drying process with a capacity of 1.7 cubic meters, accounting for the amount of heat used to increase the banana temperature from 1,358.7 to 1,188.9 kJ, and the amount of heat evaporated from the banana from 9,005.4 to 6,140.1 kJ. According to the test results of semi-guided level steam generation equipment. By studying the steam pipe size of 1 inch, 1.5 inch and 3 inch, it was found that the efficiency of the furnace would increase with the size of the steam pipe increasing by 27%, 30.9% and 34.7% respectively with time duration was 3 hours. This technology has been developed to the pilot level by transferring the technology of biomass steam generating stoves for steaming cubes for mushroom cultivation workshops to mushroom farmers in Chiang Mai, Phayao and Nan provinces using the development furnace1, development furnace2 and development furnace3, respectively. The amount of fuel consumption was 86, 56 and 78 grams per mushroom cultivation rod and the average efficiency of the furnace was 26.0 percent, 31.15 and 20.1, the amount of latent heat to produce vapor was 3795.8 4552 and 3258.2 kJ/kg. The combustion efficiency and the amount of gas emission consisting of CO2, CO, NO, PM 2.5, and the temperature of the flue gas generated from the combustion of Stove develop 1, Stove develop2, and Stove develop3 with the highest average combustion efficiency of 80.3% 82.9 and 54.7, respectively, the average CO2 emissions were 5.2%, 13.2 and 4.3%, respectively, the CO2 emissions from combustion were as low as 408 ppm and as high as 2100 ppm. The lowest at 7.1 percent, the highest at 17 percent, the amount of PM 2.5 before fuel combustion, the measurement result is equal to 0 micrograms per cubic meter. During the combustion of firewood or biomass, it was found that the PM2.5 increased in the range of 0 –137 micrograms per cubic meter, the PM2.5 did not exceed the standard set at 50 micrograms per cubic meter. In addition, TISTR was developed a biomass stove for chewing sugar cane juice at the pilot level by using agricultural waste as fuel. The efficiency of the furnace was 27.87%, evaporating 129.51 kilograms of moisture from 164.51 kilograms of sugarcane juice with operation time 6 hours. This technology reduce fuel by more than 80 percent. In addition to saving fuel, the furnace also reduced the operating time from 10 hours to 6 hours. The investment cost of development furnace1 was the highest, followed by development furnace 2. and development furnace 3 is the lowest cos. In contrast, the payback period of development furnace3 is the lowest at 0.83 years, development furnace 2 payback is 2.7 years, and development furnace 1 payback is 3.8 years with a production volume of 50,000 rods per yearสาระสังเขป: วว. ได้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม้อไอน้ำจากชีวมวลเพื่อลดต้นทุนการผลิต พบว่าสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้เชื้อเพลิงได้มากว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับเตาเดิม และสามารถเพิ่มผลผลิตก้อนเพาะเห็ดได้มากขึ้นจากเดิมนึ่งได้ครั้งละประมาณ 500 ก้อน เพิ่มขึ้นเป็น 1,200 – 1900 ก้อนต่อครั้ง และตู้อบลมร้อน ขนาดความจุ 1.7 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณความร้อน ที่ใช้เพิ่มอุณหภูมิกล้วย 1,358.7 ถึง 1 ,188.9 กิโลจูล ปริมาณความร้อนที่ระเหยน้ำออกจากกล้วย 9,005.4 ถึง 6 ,140.1 กิโลจูล และจากผลการทดสอบชุดอุปกรณ์ผลิตไอน้ำระดับกึ่งนำทาง โดยศึกษาขนาดท่อส่งไอน้ำ 1 นิ้ว 1.5 นิ้ว และ 3 นิ้ว พบว่า ประสิทธิภาพของเตาจะเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดของท่อส่งไอน้ำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27, 30.9 และ 34.7 ตามลำดับ ระยะเวลาในการทดสอบ 3 ชั่วโมง และพัฒนาเป็นน้ำระดับนำด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลผลิตไอน้ำสำหรับนึ่งก้อนเพาะเห็ดเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา และน่าน ด้วยเตาพัฒนา 1 เตาพัฒนา 2 และเตาพัฒนา 3 ตามลำดับ พบว่า ปริมาณการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 86, 56 และ 78 กรัมต่อก้อนเพาะเห็ด และประสิทธิภาพของเตาเฉลี่ย ร้อยละ 26.0, 31.15 และ 20.1 ปริมาณความร้อนที่ระบบได้รับเพื่อเปลี่ยนสถานะน้ำกลายเป็นไอ 3,795.8, 4,552 และ 3,258.2 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ สำหรับประสิทธิภาพการเผาไหม้ และปริมาณก๊าซเสียซึ่งมีองค์ประกอบของ CO2, CO, NO, PM 2.5 และอุณหภูมิของก๊าซเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ ของเตาพัฒนา 1 เตาพัฒนา 2 และเตาพัฒนา 3 มีประสิทธิภาพของการเผาไหม้โดยเฉลี่ยสูงสุดที่ร้อยละ 80.3, 82.9 และ 54.7ตามลำดับ ปริมาณการปล่อยปริมาณ CO2 โดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2, 13.2 และ 4.3 ตามลำดับ ปริมาณ CO จากการเผาไหม้ต่ำสุดที่ 408 ppm และสูงสุด 2100 ppm ในขณะเดียวกันปริมาณออกซิเจนส่วนเกิน ต่ำสุดที่ร้อยละ 7.1 สูงสุดที่ร้อยละ 17 ปริมาณ PM 2.5 ก่อนการเผาไหม้เชื้อเพลิงผลการตรวจวัด มีค่าเท่ากับ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในช่วงเริ่มการเผาไหม้ไม้ฟืนหรือชีวมวล พบว่าปริมาณ PM2.5 มีค่าเพิ่มขึ้น อยู่ในช่วง 0 –137 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปริมาณ PM2.5 มีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การพัฒนาเตาชีวมวลสำหรับเคี่ยวน้ำอ้อยในระดับนำทาง โดยใช้ชีวมวลเหลือทิ้งทางเกษตรเป็นเชื้อเพลิงประสิทธิภาพของเตาร้อยละ 27.87 โดยระเหยน้ำได้ 129.51 กิโลกรัม ออกจากน้ำอ้อยปริมาณ 164.51 กิโลกรัม ในเวลา 6 ชั่วโมง ลดเชื้อเพลิงได้มากกว่าร้อยละ 80 นอกจากประหยัดเชื้อเพลิงเตาดังกล่าวยังลดเวลาในดำเนินการลงจากเดิม 10 ชั่วโมง เหลือ 6 ชั่วโมง ต้นทุนของเตาพัฒนา 1 สูงสุด รองลงมาคือ เตาพัฒนา 2 และต่ำเตาพัฒนา 3 ต้นทุนต่ำสุด ในขณะที่ระยะเวลาในการคืนทุนเตาพัฒนา 3 ต่ำสุดที่ 0.83 ปี เตาพัฒนา 2 คืนทุน 2.7 ปี และเตาพัฒนา 1 คืนทุนที่ 3.8 ปี ที่ปริมาณการผลิต 50,000 ก้อนต่อปี หากเกษตรกรผลิตมากขึ้นระยะเวลาการคืนทุนจะลดต่ำจากเดิม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300