การวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเปบไทด์จากพืชฐานชีวภาพไทยต่อหลอดเลือดเอออตาร์หนูแรท = Innovation research on the potential effect of thai biomass protein and polypeptide on rat aorta / Krongkarn Chootip [et al.]

โดย: Krongkarn Chootip
ผู้แต่งร่วม: Krongkarn Chootip | Usana Chatturong | Kittiwoot To-on | กรองกาญจน์ ชูทิพย์ | อุษณา จัตุรงค์ | กิตติวุฒิ โตอ่อน
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 52 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618102092หัวเรื่อง: ถั่วมะแฮะ | เอออตาร์ | พอลิเพปไทด์สาระสังเขป: Plant-derived protein and polypeptide products have been reported to reduce blood pressure in hypertensive rats, thus they have the potential to be developed as health products for the prevention or treatment of hypertension. One of the key hypotensive mechanisms may be due to their vasodilator action. Therefore, the objective of this study was to study the vasorelaxant effect of protein hydrolysates and filtration fractions obtained from pigeon pea protein hydrolysate (PPH) and mung bean protein hydrolysate (MBPH) on isolated rat thoracic aorta using organ bath technique. The cumulative concentrations (1–1000 µg/mL) of protein hydrolysates and filtration fractions obtained from PPH and MBPH (12 samples) were added in phenylephrine (10 µM) precontracted isolated rat aorta. Pigeon pea and mung bean were hydrolyzed using Flavourzyme 500L (F) and Protease Amano P6SD (P6SD) to obtain PPH-F, PPH-P6SD, MBPH-F, and MBPH-P6SD. They were filtered through a 100 µm nylon bag before passing through an ultrafiltration membrane. Protein fractions capable of passing through the ultrafiltration membrane had a molecular weight of less than 5 kDa, including PPH-F <5k, PPH-P6SD <5k, MBPH-F <5k, and MBPH-P6SD <5k, whereas, protein fractions unable to pass through the ultrafiltration membrane had a molecular weight greater than 5 kDa, including PPH-F >5k, PPH-P6SD >5k, MBPH-F >5k, and MBPH-P6SD >5k. The results showed that MBPH products induce vasodilation greater than PPH products. MBPH fractions exhibited greater vasorelaxant effects compared to PPH. Among MBPH products, MBPH-P6SD >5k, MBPH-F, and MBPH-F >5k were found to be the most active samples in inducing vascular relaxation, with Emax values of 58.3±5.1%, 43.7±2.9%, and 40.3±6.9%, respectively. In conclusion, the study demonstrates that MBPH products exhibit greater vasorelaxant effects compared to PPH products, with MBPH-P6SD >5k, MBPH-F, and MBPH-F >5k identified as the most potent samples in inducing vascular relaxationสาระสังเขป: มีรายงานพบว่าผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเพปไทด์ที่ได้จากพืชสามารถลดความดันโลหิตในหนูที่ถูกกระตุ้นให้มีความดันโลหิตสูงได้ แสดงให้เห็นว่าโปรตีนและเพปไทด์จากพืชมีศักยภาพที่จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับป้องกันหรือรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยหนึ่งในกลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญอาจเป็นผลมาจากฤทธิ์การขยายหลอดเลือดแดง จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือเพื่อศึกษาฤทธิ์การขยายหลอดเลือดแดงเอออตาร์ที่แยกจากหนู แรทและกลไกการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์โปรตีนและอนุพันธ์ของโปรตีนจากพืชฐานชีวภาพของไทย โดยนำหลอดเลือด เอออตาร์ไปแขวนใน organ bath และกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัวด้วยสาร phenylephrine จากนั้นหยดตัวอย่างผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเพปไทด์จากโปรตีนถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะ (12 ตัวอย่าง) ที่ความเข้มข้น 1-1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โปรตีนไฮโดรไลเซตจากมะแฮะ (Pigeon bean protein hydrolysate, PPH) และถั่วเขียว (Mung bean protein hydrolysate, MBPH) ถูกเตรียมโดยการย่อยด้วยเอนไซม์ Flavourzyme 500L (F) และ Protease Amano P6SD (P6SD) เพื่อให้ได้ PPH-F, PPH-P6SD, MBPH-F, and MBPH-P6SD จากนั้น โปรตีนไฮโดรไลเซตเหล่านี้จะถูกกรองผ่าน nylon bag 100 ไมโครเมตร เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะนำมากรองผ่าน ultrafiltration membrane โดยอนุพันธ์ของโปรตีนที่สามารถผ่าน ultrafiltration membrane ได้นั้นจะมีขนาดโปรตีนน้อยกว่า 5kDa ได้แก่ PPH-F <5k, PPH-P6SD <5k, MBPH-F <5k, และ MBPHP6SD <5k ขณะที่อนุพันธ์ของโปรตีนที่ไม่สามารถผ่าน ultrafiltration membrane ได้จะมีขนาดโปรตีนมากกว่า 5kDa ได้แก่ PPH-F >5k, PPH-P6SD >5k, MBPH-F >5k, และ MBPH-P6SD >5k จากผลการทดสอบฤทธิ์ต่อการขยายหลอดเลือดแดงเอออตาร์พบว่าผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวชักนำให้หลอดเลือดขยายได้ดีกว่าถั่วมะแฮะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ MBPH-P6SD >5k, MBPH-F, และ MBPH-F >5k มีผลทำให้หลอดเลือดขยายมากที่สุด โดยมีค่าการคลายตัวสูงสูด (Emax) ประมาณ 58.3±5.1%, 43.7±2.9% และ 40.3±6.9% ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวชักนำให้หลอดเลือดขยายได้ดีกว่าถั่วมะแฮะได้แก่ โดย MBPH-P6SD >5k, MBPH-F, และ MBPH-F >5k ชักนำให้หลอดเลือดขยายได้ดีที่สุด
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300