การวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์โปรตีนและพอลิเปบไทด์จากพืชฐานชีวภาพไทยต่อการส่งเสริมแบคทีเรียไมโครไบโอมที่ส่งผลดี ต่อลำไส้ใหญ่ = Innovation research on the potential production of protein and polypeptide from plants in thailand’s biodiversity to promote the growth of bacteria-microbiome in the large / Waraporn Sorndech [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Waraporn Sorndech
ผู้แต่งร่วม: Waraporn Sorndech | Siriporn Butseekhot | Thongkorn Ploypetchara | Chiramet Auranwiwat | Wiriyaporn Sumsakul | วราภรณ์ ศรเดช | ศิริพร บุตรสีโคตร | ทองกร พลอยเพชรา | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์ | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 83 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618102091หัวเรื่อง: ถั่วเขียว | ถั่วมะแฮะ | พอลิเพปไทด์ | L. lactis | E. coliสาระสังเขป: Products that use plants to replace meat are popular and have a lot of interest among consumers. This research aims to study the efficiency of the proteins and polypeptides from mung beans and pigeon peas as prebiotics when undergoing simulated digestion in a simulated large intestine. The results showed that polypeptides from mung beans and pigeon peas at a concentration of 1,000 milligrams per milliliter had no toxicity to cells. The release of essential amino acids from mung bean polypeptide in the simulated stomach was the highest, at 28.19 g/100g, while the release of non-essential amino acids from mung bean protein in the simulated stomach was 40.92 g/100g. The simulated stomach's release of branched-chain amino acids (BCAA) demonstrated the high digestion and release of mung bean polypeptides (13.04 g/100g). Analyzing the peptide structure after digestion revealed peptides ranging in length from 3 to 10 amino acids in pigeon pea protein. Enzymes in the digestive system will digest mung bean protein, resulting in peptides smaller than 1 kDa, accounting for approximately 60 percent of the total peptide amount. This process is similar to that of hydrolyzing mung bean protein. The peptide characteristics of mung beans will be similar to those of pigeon pea protein, but they will contain more small peptides with a molecular weight of 230–500 daltons than maha bean protein and mung bean protein. Plant protein was used as a nitrogen source in the culture medium, and E. coli and L. lactis were grown in it. The mung bean protein and polypeptides had a higher prebiotic index (PI) than the pigeon pea protein and polypeptides. Incubation in the presence of E. coli and L. acidophilus found thatpolypeptides from mung beans and maha beans had higher PI than those from proteins. Different types of proteins have different effects on the production of shortchain fatty acids. The amount of acetic acid is higher than propionic acid, and butyric acid was not detected.สาระสังเขป: สินค้าที่ใช้พืชมาผลิตทดแทนเนื้อสัตว์เป็นสินค้ายอดนิยมและมีผู้บริโภคให้ความสนใจอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรตีน และพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวและถั่วมะแฮะ ในการเป็นพรีไบโอติกส์เมื่อผ่านการจำลองการย่อยในลำไส้ใหญ่จำลอง ผลการทดลองพบว่าพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวและถั่วมะแฮะที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ การปลดปล่อยกรดแอมิโนจำเป็นจากพอลิเพปไทด์ถั่วเขียวในกระเพาะอาหารจำลองมีค่าสูงที่สุด คือ 28.19 กรัม/100 กรัมในขณะที่การปลดปล่อยกรดแอมิโนไม่จำเป็นจากโปรตีนจากถั่วเขียวในกระเพาะอาหารจำลองมีค่าสูงที่สุดคือ 40.92 กรัม/100 กรัม ปริมาณกรดแอมิโนที่มีกิ่งหรือ Branched chain amino acids (BCAA) ที่ถูกปลดปล่อยในกระเพาะอาหารจำลองพบว่าพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวมีการถูกย่อยและถูกปลดปล่อยมากที่สุดคือ 13.04 กรัม/100 กรัม เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของเพปไทด์หลังผ่านการย่อย พบว่ามีเพปไทด์ความยาวตั้งแต่ 3-10 กรดแอมิโน โปรตีนถั่วมะแฮะ และโปรตีนถั่วเขียวที่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์ของระบบย่อยอาหารจะได้ปริมาณของเพปไทด์ ขนาดเล็กกว่า 1 กิโลดอลตัน ประมาณ 60% เมื่อเทียบกับปริมาณเพปไทด์ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรตีนไฮโดรไลเซตถั่วมะแฮะ และถั่วเขียวจะได้ลักษณะของเพปไทด์ที่มีความใกล้เคียงกัน แต่จะมีปริมาณเพปไทด์ขนาดเล็กน้ำหนักโมเลกุล 230-500 ดอลตัน มากกว่าโปรตีนถั่วมะแฮะ และโปรตีนถั่วเขียว การใช้โปรตีนพืชเป็นแหล่งไนโตรเจนในอาหารเลี้ยงเชื้อและบ่มในสภาวะที่มี E. coli และ L. lactis พบว่าโปรตีนและพอลิเพปไทด์ถั่วเขียวมี PI สูงกว่าผลที่ได้จากถั่วมะแฮะ ส่วนการบ่มในสภาวะที่มี E. coli และ L. acidophilus พบว่าพอลิเพปไทด์จากถั่วเขียวและถั่วมะแฮะมี PI สูงกว่าจากโปรตีน ประเภทของโปรตีนที่แตกต่างกันมีผลต่อการผลิตกรดไขมันสายสั้นที่แตกต่างกัน โดยปริมาณกรดแอซีติกมีมากกว่าโพรพิโอนิก และตรวจไม่พบกรด บิวทิริก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300