การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพปไทด์และอนุพันธ์ของโปรตีนจากพืชฐานชีวภาพของไทย = Technological production of peptides and protein derivatives from plants in thai biodiversity / Siriporn Butseekhot [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Siriporn Butseekhot
ผู้แต่งร่วม: Siriporn Butseekhot | Waraporn Sorndech | Thongkorn Ploypetchara | Sinee Siricoon | Wiriyaporn Sumsakul | Chiramet Auranwiwat | ศิริพร บุตรสีโคตร | วราภรณ์ ศรเดช | ทองกร พลอยเพชรา | สินิ ศิริคูณ | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 260 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618102042หัวเรื่อง: ถั่วมะแฮะ | ไฮโดรไลเซต | ถั่วเขียว | เพปไทด์สาระสังเขป: Pigeon pea (Cajanus cajan (L.) Mill sp.) and mung bean are classified into legume family, which is high in protein and low-fat seed. This seems suitable to produce protein concentrated and protein hydrolysates or peptides which is valuable in bioactivity. This research aimed to study a structural properties of pigeon pea protein concentrated and hydrolysates or peptides, containing an antioxidant activity. Pigeon pea and mung bean concentrated was precipitated at isoelectric point of their protein; in additional, protein was derived by commercial protease enzymes. The result showed that pigeon pea protein extract had 80 and 85% of protein content, including large molecular weight as 17-63 kDa and high essential amino acids content. Protein hydrolysates digested by Protease P6SD® enzyme provided small size of molecular weight peptides, which is range from <8-10 and 17-48 kDa. These peptides had high hydrophobic group and an aromatic amino acid. The peptides exhibited significantly (p<0.05) the highest of Azinobis (2, 2’-azinobis (2-ethylbenothiazoline-6-sulfonic acid: ABTS•+scavenging (772.69 and 2,842 mg TEAC/g sample) followed by Ferric reducing antioxidant power: FRAP (111.16 and 8.6 mg TEAC/g sample) and 1,1-diphenyl-2- picrylhydrazyl: DPPH• (46.71 and 106.7 mg TEAC/ g sample), respectively. The polypeptides of pigeon pea and mung bean hydrolysates was separated with ultrafiltration at 5 kDa. The smaller peptides could be enhanced a higher essential amino acid, hydrophobic group and branch chain amino acid than protein hydrolysates. Amino acid sequences was identified by LC-MS/MS which calculated mass/charge compare to parent protein of 8S globulin beta isoform. These polypeptides from less than 5 kDa pigeon pe and mung bean protein hydrolysates were dipeptides, tripeptide, tetrapeptide, pentapeptides, hexapeptides and heptapeptides, the molecular weight is less than 1 kDa. Therefore, pigeon pea protein concentrated and protein hydrolysate could be a promising source of bioactive peptides and potential ingredient for the formulation of functional foods.สาระสังเขป: ถั่วมะแฮะและถั่วเขียวจัดอยู่ในพืชตระกูลถั่วที่มีศักยภาพเป็นแหล่งโปรตีนสูงอีกทั้งมีปริมาณไขมันต่ำจึงเหมาะสมสำหรับผลิตโปรตีนเข้มข้นและโปรตีนไฮโดรไลเซตหรือเพปไทด์ที่มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงโครงสร้างของโปรตีนเข้มข้นและโปรตีนถั่วมะแฮะถั่วเขียวไฮโดรไลเซตหรือเพปไทด์ที่มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ โปรตีนถั่วมะแฮะเข้มข้นถูกสกัดที่จุดไอโซอิเล็กตริกของโปรตีนและโปรตีนที่ได้เตรียมจากการย่อยด้วยเอนไซม์โปรตีเอสเชิงการค้า พบว่าโปรตีนถั่วมะแฮะและถั่วเขียวเข้มข้นมีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 80 และ 85 มีน้ำหนักโมเลกุลขนาดใหญ่ 17-63 kDa และกรดแอมิโนจำเป็นทั้งหมดสูง โปรตีนไฮโดรไลเซตที่ย่อยด้วยเอนไซม์ Protease P6SD® พบว่าโปรตีนไฮโดรไลเซตมีขนาดโมเลกุลเล็กลงตั้งแต่ <8-10 และ 17-48 kDa ที่ประกอบด้วยกรดแอมิโนที่ไม่ชอบน้ำและกรดแอมิโนแอโรมาติกอยู่จำนวนมาก เพปไทด์ที่ได้มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•+ (772.69 และ 2,842 มิลลิกรัม TEAC/กรัม sample) ได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) รองลงมาคือยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP (111.16 และ 8.6 มิลลิกรัม TEAC/กรัม sample) และ DPPH• (46.71 และ 106.7 มิลลิกรัม TEAC/กรัม sample) ตามลำดับ เพปไทด์ถั่วมะแฮะและถั่วเขียวที่แยกด้วยอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนขนาด 5 kDa เพปไทด์ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 kDa มีปริมาณของกรดแอมิโนจำเป็นทั้งหมดสูง และมีปริมาณของกรดแอมิโนกลุ่มไม่ชอบน้ำและสายโซ่กิ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ ลักษณะของเพปไทด์ที่ได้จากการวิเคราะห์ LC-MS/MS เมื่อเทียบกับโปรตีนกลุ่ม 8S globulin beta isoform ประกอบด้วยเพปไทด์ขนาดเล็กได้แก่ ไดเพปไทด์ ไตรเพปไทด์ เตเตระเพปไทด์ เพนตะเพปไทด์ เฮกซะเพปไทด์ และ เฮปตะเพปไทด์มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า 1 kDa ดังนั้นโปรตีนถั่วมะแฮะ และถั่วเขียวเข้มข้นและโปรตีนไฮโดรไลเซตจึงเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีศักยภาพสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300