การพัฒนาสารประกอบในอาหารที่ทำหน้าที่พิเศษที่มีคุณสมบัติลดระดับไขมันในเลือดจากกรดไขมันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากจิ้งหรีด = Development of functional ingredients regarding hypolipidemic properties from edible insect-based bioactive fatty acids / Nuthathai Sutthiwong [et al.]

โดย: Nuthathai Sutthiwong
ผู้แต่งร่วม: Nuthathai Sutthiwong | Piyada Sukdee | Pennapa Chonpathompikunlert | Nowwapan Donrung | Natnirin Booranasakawee | ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ | ปิยดา สุขดี | เพ็ญนภา ชลปฐมพิกุลเลิศ | เนาวพันธ์ ดลรุ้ง | ณัฐณิรินทร์ บูรณะสระกวี
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 49 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202182หัวเรื่อง: จิ้งหรีด | กรดไขมัน | เอนไซม์สาระสังเขป: This research aimed to develop functional ingredients with properties related to the reduction of cholesterol in the blood from the bioactive fatty acids from crickets as being used as an alternative product for consumers who are health conscious or those who are concerned about high blood lipids and create added value from byproducts/waste from cricket processing. In a study of 2023, a prototype of a functional ingredient product with lipid-lowering properties was derived from the bioactive fatty acids from crickets by partly separating saturated fatty acids using enzymatic hydrolysis in combination with a winterization process and centrifugation to separate impurities suspended in the unsaturated fatty acid layer. The study of shelf life at different temperatures of 4, 35 and 55 degrees Celsius for a period of 24 weeks showed that chemical changes such as pH tended to increase as the storage period elapsed longer and under high-temperature storage conditions Similarly, peroxide values were found to increase with longer storage periods. A comparison of peroxide values of cricket oil stored at different temperatures with the same duration found that the peroxide value of cricket oil stored at 4 °C had the least change, followed by those of storage at 35 and 55 degrees Celsius, respectively. The evaluation of the physical properties of cricket oil by measuring the color value in the CIE L*a*b* system found that low temperatures (4 °C) had little effect on the color change of the oil. In contrast, storage at high temperatures caused a higher change in the color of cricket oil. A high temperature of 55 had an obvious effect on the color change than storage at 35 °C. The color values in the CIE L*a*b* system that were affected by the augmentation of temperature were a* and b*. When stored at 4°C, the a* value was increased by 19.23% and raised to 39.83% and 277.61 (or 3.8 times) when stored at 35°C and 55°C, respectively, while the b* value decreased by 5.26, 6.04 and 45.85% when stored at 4, 35 and 55 °C, respectively. This was consistent with the observation of the color characteristics of cricket oil with the naked eye that found the hue of cricket oil became darker likely brownish/reddish yellow when the stored period was longer. In addition to chemical and physical properties, temperature also affected the biological properties of cricket oil. Low-temperature storage of cricket oil products helped to sustain bioactivity for longer whereas the bioactivity in inhibiting HMG-CoA reductase activity of cricket oil decreased when stored at elevated temperatures. Furthermore, storage at 55 °C decreased the inhibition of HMG-CoA reductase activity higher than storage at 35 °C.สาระสังเขป: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารอาหารฟังก์ชันที่มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับการลดระดับไขมันในเลือดจากกรดไขมันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากจิ้งหรีด เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพ หรือผู้ที่มีความกังวลต่อภาวะไขมันในเลือดสูง และสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้/วัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปจิ้งหรีด การศึกษาในปี 2566 ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์สารอาหารฟังก์ชันที่มีคุณสมบัติลดระดับไขมันจากกรดไขมันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากจิ้งหรีด โดยการแยกกรดไขมันอิ่มตัวบางส่วนออกโดยอาศัยการย่อยด้วยเอนไซม์ไลเปส ร่วมกับกระบวนการ winterization และการปั่นเหวี่ยงตกตะกอน เพื่อแยกสิ่งเจือปนที่แขวนลอยในชั้นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวการศึกษาอายุการเก็บรักษาที่ระดับอุณหภูมิแตกต่างกัน คือ 4, 35 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้แก่ ค่าความเป็นกรด มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาการจัดเก็บผ่านไปนานขึ้น และในสภาวะที่การจัดเก็บที่อุณหภูมิสูง เช่นเดียวกันกับค่าเพอร์ออกไซด์ที่พบว่ามีค่าสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น การเปรียบเทียบค่าเพอร์ออกไซด์ของน้ำมันจิ้งหรีดที่เก็บที่อุณหภูมิต่างๆ ด้วยระยะเวลาเท่ากัน พบว่าค่าเพอร์ออกไซด์ของน้ำมันจิ้งหรีดที่เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด รองลงมาได้แก่ ที่อุณหภูมิ 35 และ 55 องศาเซลเซียส ตามลำดับ การประเมินสมบัติทางกายภาพของน น้ำมันจิ้งหรีด โดยการวัดค่าสี ระบบ CIE L*a*b* พบว่าการเก็บที่อุณหภูมิต่ำ (4 องศาเซลเซียส) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีของน น้ำมันเพียงเล็กน้อย ตรงข้ามกับการเก็บที่อุณหภูมิสูงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีของน้ำมันจิ้งหรีดสูงขึ้น โดยอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีสูงกว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ค่าของสีในระบบ CIE L*a*b* ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น คือ ค่า a* โดยพบว่าเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ค่า a* มีการเปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 19.23 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.83 และ 277.61 (หรือคิดเป็น 3.8 เท่า) เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 35 และ 55 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนค่า b* มีค่าลดลงร้อยละ 5.26, 6.04, 45.85 เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4, 35 และ 55 องศาเซลเซียส ตามลำดับ สอดคล้องกับการสังเกตลักษณะของสีของน้ำมันจิ้งหรีดด้วยตาเปล่าที่ พบว่าเมื่อระยะเวลานานขึ้น น้ำมันจิ้งหรีดที่เก็บที่อุณหภูมิสูงมีสีเหลืองในเฉดสีที่ค่อนข้างไปทางแดง/น้ำตาล นอกจากสมบัติทางเคมีและกายภาพแล้ว อุณหภูมิยังส่งผลต่อสมบัติทางชีวภาพของน้ำมันจิ้งหรีด การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำมันจิ้งหรีดอุณหภูมิต่ำช่วยให้ฤทธิ์ทางชีวภาพคงอยู่ได้นานขึ้น ขณะที่ฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ของน้ำมันจิ้งหรีดลดลงเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูงขึ้น โดยการเก็บที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ค่าการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ HMG-CoA reductase มีค่าลดลงสูงกว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300