การวิจัยและพัฒนาสารสกัดโปรตีนและเปปไทด์ฟังก์ชันจากจิ้งหรีดเพื่อการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ = Research and development of protein extract and functional peptides from edible cricket-based for application on healthy food product / Natnirin Booranasakawee [et al.]

โดย: Natnirin Booranasakawee
ผู้แต่งร่วม: Natnirin Booranasakawee | Panida Banjongsinsiri | Nowwapan Donrung | Pennapa Chonpathompikunlert | ณัฐณิรินทร์ บูรณะสระกวี | ปนิดา บรรจงสินศิริ | เนาวพันธ์ ดลรุ้ง | เพ็ญนภา ชลปฐมพิกุลเลิศ
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 213 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202181หัวเรื่อง: จิ้งหรีด | โปรตีน | ไฮโดรไลเซตสาระสังเขป: The cricket protein is the one of an alternative protein which is popular in the world. The objective of this research aimed to develop the production process of protein extract from cricket, improvement it quality to reduce the off-flavor cricket, and apply the protein extract for the development of healthy food and drink products. The result of this research and development was found that the protein hydrolysate extract form Thong Lai cricket species can be produced by using the enzymatic hydrolysis process. The protease of 0.5% 6PSD and 1.0% 2ASD was used for digesting at 45-50C for 4 hours to obtain the protein extract containing a free amino acid content of 4223 mg/100 g. It can be applied for the protein drink with berry flavor or cocoa flavor. Moreover, the protein hydrolysate powder can be produced by using 15% protease PT hydrolysis at 50-55C for 16-18 hours, and spray dried with the 10% maltodextrin as carrier agent. The final product has a cream color and contains 27554.82 mg/100 g of amino acid composition. It has a high solubility and foaming approximately 80% and 10%, respectively, including its foaming stability of 95%. It could be applied an instant drink with coffee flavor or green tea flavor. In addition, the protein hydrolysate products in forms of liquid and powder do not contaminant the soy and crustacean allergen test and the acute oral toxicity according to OECD 423 test standard (LD50 >5,000 mg/kg body weight). Finally, the protein hydrolysate extract from cricket by using protease PT hydrolysis at a concentration of 3, 10, and 30 mg/kg body weight showed no effect to decrease blood pressure on vascular in the Wistar rat model in comparison with a control (before sample injection). However, the others model which related to a cardiovascular or hypertension system, including the functional properties of cricket peptide on the other human mechanism should be further studiedสาระสังเขป: โปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นโปรตีนทางเลือกชนิดหนึ่ง ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากรรมวิธีการผลิตโปรตีนสกัดจากจิ้งหรีด และปรับปรุงคุณภาพเพื่อลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของจิ้งหรีด เพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่าสารสกัดโปรตีนไฮโดรไลเซตจากจิ้งหรีดสายพันธุ์ทองลาย สามารถผลิตได้ด้วยเทคโนโลยีการย่อยของเอนไซม์ในกลุ่มโปรติเอส 6 พีเอสดี ร้อยละ 0.5 ร่วมกับ 2 เอเอสดี ร้อยละ 1.0 ย่อยที่อุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง ได้ สารสกัดโปรตีนที่มีปริมาณกรดแอมิโนอิสระทั้งหมด 4223 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสกัด รสเบอร์รีหรือรสโกโก้ได้ และผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนไฮโดรไลเซต ผลิตได้โดยการใช้เอนไซม์โปรติเอส พีที ที่ร้อยละ 15 ย่อยโปรตีนจากจิ้งหรีดที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 16-18 ชั่วโมง ทำแห้งด้วยเครื่องสเปรย์ดราย โดยมีมอลโทเดกซ์ทรินที่ ร้อยละ 10 เป็นสารห่อหุ้ม ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นผงสีครีม มีปริมาณกรดแอมิโนอิสระทั้งหมด 27554.82 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีความสามารถในละลายน้ำและเกิดโฟมได้ประมาณร้อยละ 80 และ 10 ตามลำดับ ความคงตัวของการเกิดโฟมมากกว่าร้อยละ 95 สามารถประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ผงชงดื่ม รสกาแฟหรือรสชาเขียวได้ ทั้งนี้โปรตีนไฮโดรไลเซตที่ได้ทั้งในรูปแบบน้ำและผงไม่พบสารก่อภูมิแพ้ในกลุ่มของถั่วเหลืองและสัตว์เปลือกแข็ง ไม่มีความเป็นพิษในสัตว์ทดลองระดับเฉียบพลันตามมาตรฐานการทดสอบ OECD 423 (LD 50> 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว) อย่างไรก็ตาม สารสกัดโปรตีนไฮโดรไลเซตจากจิ้งหรีดที่ย่อยด้วยเอนไซม์โปรติเอส พีที ที่ขนาด 3, 10, และ 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีผลให้ความดันโลหิตในหนูแรทลดลงจากความดันปกติก่อนฉีดสาร ซึ่งควรศึกษาโมเดลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือดหรือความดันโลหิต หรือศึกษาฟังก์ชันของเพปไทด์ต่อกลไกอื่นๆ ของร่างกายต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300