การพัฒนาวัสดุการเพาะเลี้ยงและการจัดสุขอนามัยระบบการเลี้ยงในอุตสาหกรรมแมลง = Development of bedding place from natural materials and hygienic model in cricket farming / Cholticha Niwaspragrit [et al.]

โดย: Cholticha Niwaspragrit
ผู้แต่งร่วม: Cholticha Niwaspragrit | Wasana Khongwong | Piyalak Ngernchuklin | Panita Thaveethavorn | Kanungnid Busarakam | Phawini Khetnont | Jantra Pankhawn | Wissarut Sukhaket | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | วาสนา ฆ้องวงศ์ | ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น | ปณิตา ทวีถาวร | คนึงนิจ บุศราคำ | ภาวินี เขตต์นนท์ | จันทรา ปานขวัญ | วิศรุต สุขะเกตุ
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 75 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202172หัวเรื่อง: จิ้งหรีด | อุตสาหกรรมแมลง | การเพาะเลี้ยงสาระสังเขป: Cricket farming is an alternative source of protein which need much less resource requirement compared to livestock farming. Thailand is considered a leading country in Asia regarding number of cricket farm, however, there is still more than 200 m. Baht. of import values annually. In order to promote and improve cricket farming according to BCG guideline, the study on water dispensers and the development of cricket blinds from agricultural wastes were carried out. The study on water dispensers was carried out in CRD, and 4 replications, in rearing pens (40 cm. x 60 cm. x 30 cm.) Result of the study showed that yield and survivalability rate of crickets are statistically higher when using PVC pipe compared to shallow plate filled with pebbles and poultry water dispenser filled with pebbles, with 55.25, 46.75 and 30.25 % survivalability, respectively. The study in farmer farm was carried out in CRD, with 4 replications in rearing pens (60 cm. x 60 cm. x 60 cm.). Results of the study showed that shallow plate filled with pebbles gave statistically higher cricket yield than PVC pipe and poultry water dispenser filled with pebbles (1.94 kg., 1.45 kg. and 1.26 kg., respectively) Cardboard egg trays designed to hold 4 eggs were developed using banana stem fiber, coconut husk, maize husk and water hyacinth. The optimum values for hydraulic press to form egg trays are 120 ºC and 1,200 psi pressure. Chemical analysis indicated that all cardboard egg trays from agricultural wastes have lower heavy metal contents (mercury 0.01-0.43 mg./kg., arsenic 0.13-0.26 mg./kg) than that of commercially available cardboard egg tray with 30 eggs holding capacity, except the highest lead content in banana waste egg trays (2.25 mg./kg.). The study on cricket farming using various cricket blinds was carried out in CRD and 4 replications in the pens (40 cm. x 60 cm. x 30 cm.). Results of the study showed that there was no statistically significant difference on yield and mortality rate of crickets when using cricket blinds from agricultural waste compared to commercially available cardboard trays. However, by the end of the study it was found that cardboard trays from maize husks and water hyacinth have fungus growth which deemed unsuitable for reuse. The further study on reuse of cardboard tray on cricket rearing was carried out in farmer farm in rearing pens (60 cm. x 300 cm. x 60 cm.) in CRD and 4 replications. Results of the study showed that there was no statistically difference on cricket yield and mortality rate when using banana waste and coconut husk egg boards compared to commercially available cardboard trays. There was no significant difference on damage to cricket blinds (0.21-4.26%) and the damage score 1 in all treatments. No pathogenic bacteria in crickets were found by the end of all studies. In conclusion, the use of PVC pipe and shallow plate filled with pebbles as water dispenser should be recommended in cricket farming and the production and uses of cricket blinds from banana and coconut wastes are in line with increasing of farm produces in green technology and BCG policies. However, cleaning of rearing pens, all equipments and materials prior to rearing and after harvest should be carried out to prevent disease outbreak according to good agricultural practice policy for cricket farming (GAP 8202-2017)สาระสังเขป: จิ้งหรีด (cricket) จัดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนใหม่เนื่องจากใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยกว่าการเลี้ยงปศุสัตว์มากประเทศไทยมีฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดมากที่สุดในเอเชียแต่ยังมีการนำเข้ามูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท ในแต่ละปี เพื่อส่งเสริมและยกระดับการเลี้ยงจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐาน BCG จึงได้ทำการศึกษาระบบการให้น้ำที่เหมาะสม การพัฒนาวัสดุหลบซ่อนตัวจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร วางแผนการทดลองให้น้ำแบบ CRD มี 4 ซ้ำ ในกล่องเลี้ยงขนาด 40 x 60 x 30 เซนติเมตร ผลการทดลองพบว่าการให้น้ำแบบท่อพีวีซีให้ผลผลิตและอัตราการรอดตายสูงสุด แตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำในแบบภาชนะก้นตื้นใส่หินและจานให้น้ำไก่ใส่ก้อนหิน โดยมีอัตราการรอดร้อยละ 55.25, 46.75 และ 30.25 ตามลำดับ การทดสอบในสภาพฟาร์ม วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้ำ ในบ่อเลี้ยงขนาด 60 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร พบว่าการให้น้ำแบบภาชนะก้นตื้นใส่หิน ให้ผลผลิตจิ้งหรีด (1.94 กิโลกรัม) แตกต่างจากการให้น้ำแบบท่อพีวีซี (1.45 กิโลกรัม) และจานให้น้ำไก่ (1.26 กิโลกรัม) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การพัฒนาวัสดุหลบซ่อนตัวเป็นแผงไข่ขนาด 4 ฟอง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างชนิดกัน ได้แก่ ใยมะพร้าว เปลือกข้าวโพด เยื่อกล้วย และผักตบชวา สามารถนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นวัสดุหลบซ่อนตัวจิ้งหรีดได้ โดยสภาวะการอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิกที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แรงในการอัด 1200 psi ผลการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก (ปรอท ตะกั่วและสารหนู) พบว่าปริมาณปรอท (0.01 – 0.43 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และสารหนู (0.13-0.26 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ในเยื่อกล้วย ใยมะพร้าวและผักตบชวามีปริมาณน้อยกว่าที่พบในถาดไข่ (ยกเว้นตะกั่วที่พบมากที่สุดในเยื่อกล้วย (2.25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) การทดลองวัสดุหลบซ่อนตัวเลี้ยงจิ้งหรีด วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้ำ ในกล่องเลี้ยงขนาด 40 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร พบว่าผลผลิตและอัตราการรอดตายไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลการประเมินความเสียหายเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงพบว่าถาดเปลือกข้าวโพดและผักตบชวามีเชื้อราไม่เหมาะในการนำมาใช้ซ้ำ การทดลองวัสดุหลบซ่อนตัวในสภาพฟาร์ม วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้ำ ในบ่อเลี้ยงขนาด 60 เซนติเมตร x300 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร นำถาดใยมะพร้าวและถาดเยื่อกล้วยไปทดลองใช้ซ้ำเปรียบเทียบกับการใช้ถาดไข่ขนาด 4 หลุม และ 30 หลุม พบว่าผลผลิตจิ้งหรีดไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลการประเมินความเสียหายของวัสดุหลบซ่อนตัว พบว่าน้ำหนักวัสดุหลบซ่อนตัวลดลง (ร้อยละ 0.21-4.26) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และค่าคะแนนความเสียหายเท่ากับ 1 ในทุกปัจจัยที่ศึกษา ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในจิ้งหรีดเมื่อสิ้นสุดในทุกการทดลอง สรุปได้ว่าการให้น้ำแบบท่อพีวีซีและภาชนะก้นตื้นใส่ก้อนหินเป็นวิธีที่เหมาะสมในการนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นการค้า การนำใยมะพร้าวและเยื่อกล้วยมาใช้ในการผลิตวัสดุหลบซ่อนตัวเป็นการยกระดับมูลค่าผลผลิตตามแนวทาง green technology และ BCG ทั้งนี้ควรรักษาความสะอาด ทำความสะอาดบ่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก่อนและเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2017)
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300