การวิจัยสายพันธุ์แมลงต้านทานปัจจัยทางชีวภาพและการพัฒนาระบบจัดการหลีกเลี่ยงการเกิดเลือดชิดในฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลงสำหรับรองรับอุตสาหกรรมอาหารคุณภาพ = Research of resistant virieties of two spotted cricket, gryllus bimaculatus against biotic factors and development of inbreeding avoidance management in farming / Kanungnid Busarakam [et al.]

โดย: Kanungnid Busarakam
ผู้แต่งร่วม: Kanungnid Busarakam | Phawini Khetnon | Jantra Pankhawn | Cholticha Niwasprakit | Wissarut Sukhaket | คนึงนิจ บุศราคำ | ภาวินี เขตนนท์ | จันทรา ปานขวัญ | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | วิศรุต สุขะเกตุ
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 91 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618202171หัวเรื่อง: จิ้งหรีด | เลือดชิด | ไลโซไซม์สาระสังเขป: Cricket is considered one of an economic and well-known an edible insect, worldwide due to their high nutritional value. While their cost of production is lower than other livestock animal production. Moreover, insect/cricket farming is more ecofriendly than other animal production, due to less released greenhouse gases rate, required less farming area, and less water consumption. Therefore, in the present day, protein from cricket is gradually increasing demand every year. In Thailand, field cricket, two-spotted cricket, and house cricket are more favorable species for domestic consumption and export. Commonly, cricket eggs can be collected from farm and used by the farmer for the subsequent cycles: However, this will counter the risk of inbreeding. Thus, to prevent this problem, exploring the species richness of cricket in its natural habitat is therefore essential as a resource for cricket breeding. Thus, in this recent study, a survey of cricket in some areas of Thailand was randomly selected in 15 provinces, namely, Kanchanaburi, Chachoengsao, Chon Buri, Chaiyaphum, Nakhon Nayok, Nakhon Pathom, Nakhon Ratchasima, Nan, Prachuap Khiri Khan, Prachin Buri, Phetchaburi, Loei, Saraburi, Surin and Ubon Ratchathani Provinces. The morphological and molecular species identifications by Cytochrome C oxidase I gene (COI) presented that there are six species of cricket namely, Acheta domesticus (L.), Cardiodactylus novaeguineae (Haan), Velarifictorus micado (Saussure), Gryllus bimaculatus (de Geer), Teleogryllus derelictus (Gorochov) and Verlarifictorus aspersus (Walker). The results of inbreeding study of two spotted cricket from natural on fecundity presented that there were no differences of the number of F1 and F2 generations between the same and difference sources/provinces, which was 145-285 eggs, except F1 and F2 from Chumphon & Nan Provinces and Nan and Nakhon Ratchasima Provinces which was 312-354 eggs. The survival percent presented that the F1 and F2 generations from difference sources/provinces which was 48.5-73.5%, while the F1 and F2 generation from the same sources/provinces was 33.3-45.2%. Lysozyme activity from the second generation (F2) of 97 two spotted crickets, both inbred and outbred presented that there were the significantly difference at 95% and 99% confidence level. These results revealed that the lysozyme activity presented declined, while the generation number was increased. From this study, it can be said that the survival trend of two spotted cricketinbred stock was lower than outbred stock, which was similar to lysozyme activity. As the results, the outbred stock of two spotted cricket tends to be more resistance to environmental and biological factors than inbred stock.สาระสังเขป: จิ้งหรีดแมลงกินได้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการทำปศุสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนชนิดอื่น นอกจากนี้การทำฟาร์มเลี้ยงแมลง/จิ้งหรีดนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการผลิตสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราต่ำ ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อยกว่าการผลิตสัตว์ชนิดอื่นและใช้น้ำในการทำฟาร์มน้อยกว่าการทำปศุสัตว์ชนิดอื่น. ปัจจุบันโปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นที่ต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี ในประเทศไทยสายพันธุ์จิ้งหรีดที่เป็นที่นิยมผลิตเพื่อการบริโภคและการส่งออกคือจิ้งหรีดทองแดง จิ้งหรีดทองดำ และสะดิ้ง โดยทั่วไปแล้วการขยายพันธุ์จิ้งหรีดในฟาร์มเพาะเลี้ยง เกษตรกรมักเก็บไข่จากรุ่นสู่รุ่นเพื่อทำการขยายพันธุ์ให้ได้จิ้งหรีดในรุ่นถัดไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเลือดชิดในจิ้งหรีด ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว การสำรวจความความหลากชนิดของจิ้งหรีดในแหล่งธรรมชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลการปรับปรุงพันธุ์จิ้งหรีด สายพันธุ์จิ้งหรีดในประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงทำการสำรวจจิ้งหรีดในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเลือกสุ่มเก็บตัวอย่างจากจังหวัด 15 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยภูมิ นครนายก นครปฐม นครราชสีมา น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เลย สระบุรี สุรินทร์ และอุบลราชธานี ผลการจัดจำแนกโดยลักษณะทางสัณฐานและยีน Cytochrome C oxidase I (COI) จากการศึกษาครั้งนี้พบสายพันธุ์จิ้งหรีด 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Achetadomesticus (L.), Cardiodactylus novaeguineae (Haan), Velarifictorus micado (Saussure), Gryllus bimaculatus (de Geer), Teleogryllus derelictus (Gorochov) และ Verlarifictorus aspersus (Walker) ผลการศึกษาผลเลือดชิดเมื่อใช้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จิ้งหรีดทองดำจากแหล่งธรรมชาติ ผลการศึกษาต่อความดกของไข่ พบว่าจำนวนไข่ของรุ่น F1 และ F2 ของพ่อแม่พันธุ์ฯ แหล่ง/จังหวัดเดียวกัน และแหล่ง/ต่างจังหวัดกัน อยู่ในช่วง 145-285 ฟอง ยกเว้นที่ได้จากการผสมระหว่างจังหวัดชุมพรกับน่าน และน่านกับนครราชสีมาที่มีจำนวนไข่อยู่ในช่วง 312-354 ฟอง สำหรับเปอร์เซ็นต์ของการรอดชีวิตลูกจิ้งหรีดทองดำที่เจริญเติบโตจนถึงตัวเต็มวัย พบว่ารุ่น F1 และ F2 จากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จิ้งหรีดจากต่างแหล่ง/จังหวัดกัน มีค่ามีเปอร์เซ็นต์ของการรอดชีวิตอยู่ในช่วง 48.5-73.5 ในขณะที่ค่าเปอร์เซ็นต์ของการรอดชีวิตจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จากแหล่ง/จังหวัดเดียวกันอยู่ในช่วง 33.3-45.2 ค่า กิจกรรมไลโซไซม์จากฮีโมลิมป์ของจิ้งหรีดทองดำรุ่นที่ 2 (F2) จำนวน 97 ตัว ทั้งสายพันธุ์ชิด (Inbreed) และสายพันธุ์ห่าง (Outbreed) นั้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบ แนวโน้มการลดลงของกิจกรรมไลโซไซม์เมื่อจำนวนรุ่นเพิ่มขึ้น จากการศึกษานี้สามารถกล่าวได้ว่าผลของการผสมเลือดชิดส่งผลต่อการรอดชีวิตของจิ้งหรีดทองดำที่มีแนวโน้มลดลง และค่า กิจกรรมไลโซไซม์ที่ต่ำกว่าจิ้งหรีดทองดำที่เกิดจากการผสมแบบห่าง ทำให้จิ้งหรีดทองดำที่เกิดจากการผสมแบบห่างนั้นมีแนวโน้มในการทนต่อสภาพปัจจัยแวดล้อมและปัจจัยทางชีวภาพที่สูงกว่าจิ้งหรีดทองดำที่เกิดจากการผสมแบบชิด
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300