การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังในสัตว์ทดลองของสารสกัดจากฐานชีวภาพของไทยที่เสริมสร้างสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ = Acute and sub-chronic toxicity evaluation of bioactive compounds from thailand’s biodiversity for health promotion on bone and joint systems / Wiriyaporn Sumsakul [et al.]

โดย: Wiriyaporn Sumsakul
ผู้แต่งร่วม: Wiriyaporn Sumsakul | Siriporn Butseekhot | Waraporn Sorndech | Chiramet Auranwiwat | Sinee Siricoon | Thongkorn Ploypetchara | Dumrongsak Pekthong | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล | ศิริพร บุตรสีโคตร | วราภรณ์ ศรเดช | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์ | สินี ศิริคูณ | ทองกร พลอยเพชรา | ดำรงศักดิ์ เป๊กทอง
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 164 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ : 6618101073หัวเรื่อง: ว่านหางจระเข้ | เกาต์ | ความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรังสาระสังเขป: The aim of this study was to evaluate the acute oral toxicity (according to OECD TG No. 423) and the repeated dose 90-day oral toxicity (following OECD TG No. 408) in animal models using two types of extracts: Aloe barbadensis Mill. extract, known for its bone mass strengthening properties, and Pandanus Amaryllifolius leaf extract, effective against gout disease. For the acute oral toxicity tests, the initial dose of aloe vera extract was 5,000 mg/kg.bw. This single oral dose given on day 1 to three rats resulted in no mortality, behavioral changes, or significant alterations in food and water consumption during the 14-day observation period. All rats maintained normal weight and exhibited no abnormalities in vital organ examinations, indicating no toxic effects. The LD50 of this extract exceeded 5,000 mg/kg.bw. In the 90-day toxicity study, doses of 75, 150 and 300 mg/kg.bw/day showed no toxicity signs, with all physiological parameters remaining within normal ranges. Thus, the no-observed-adverse-effect level for aloe vera extracts was determined to be 300 mg/kg.bw/day. Similarly, the acute oral toxicity tests for pandanus leaf extract, starting at 2,000 mg/kg.bw, revealed no adverse effects in six rats over 14 days. The LD50 exceeded 2,000 mg/kg.bw. In the 90-day study, doses of 250, 500, and 1,000 mg/kg.bw/day showed no toxicity signs, and all physiological parameters were normal. The noobserved-adverse-effect level for pandanus leaf extract was established at 1,000 mg/kg.bw/day. Although further comprehensive safety studies are warranted, these findings suggest the relative safety of both aloe vera and pandanus leaf extracts, hinting at their potential for pharmaceutical development as natural medicinal products. This data is vital for seeking novel food approval from the Thai FDA, driving research for functional products to mitigate osteoporosis risk and aiding in clinical recommendations.สาระสังเขป: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังในสัตว์ทดลองของสารสกัด 2 ชนิด คือสารสกัดว่านหางจระเข้ที่มีฤทธิ์ในการเสริมสร้างมวลกระดูก และสารสกัดใบเตยที่มีฤทธิ์สำหรับโรคเกาต์ จากการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันทางปากในหนูแรทของสารสกัดว่านหางจระเข้ (Aloe barbadensis Mill.) ตามแนวปฏิบัติ OECD TG 423 ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ ที่ป้อนให้กับหนูแรทครั้งที่ 1 จำนวน 1 ตัว และครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัว โดยทำการสังเกตการตายและอาการใกล้ตาย อาการทางคลินิก (การแสดงอาการผิดปกติหรืออาการเจ็บปวดหรือพฤติกรรม ที่ผิดปกติ) การกินอาหาร น้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและผลการผ่าซาก สามารถสรุปได้ว่า วัสดุทดสอบสารสกัด Aloe barbadensis Mill. (ว่านหางจระเข้) ตามแนวปฏิบัติ OECD TG 423 มีค่า LD50 มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์และมีเกณฑ์จำแนกความปลอดภัยตามระบบ การจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลากของวัสดุทดสอบตามหลักเกณฑ์ของ GHS ที่ระดับ 5 (Category 5) หรือ Unclassified และภายหลังที่หนูแรทได้รับ วัสดุทดสอบสารสกัด Aloe barbadensis Mill. (ว่านหางจระเข้) ที่ความเข้มข้น 75, 150 และ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ โดยป้อนวัสดุทดสอบดังกล่าวทางปากให้หนูแรท ทุกวันติดต่อกันเป็นระยะเวลา 90 วัน และภายหลังได้รับวัสดุทดสอบความเข้มข้นสูงครบแล้ว เป็นระยะเวลา 28 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากความเป็นพิษของวัสดุทดสอบ ทั้งใน Main analysis และ Satellite analysis และจากการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ การตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยา การตรวจวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือด ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของอวัยวะต่อน้ำหนักตัวหนูแรท ผลการการผ่าซาก และการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา สามารถสรุปได้ว่าสารสกัด Aloe barbadensis Mill. (ว่านหางจระเข้) ที่ความเข้มข้น 75 150 และ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรังที่เกิดจากการป้อนวัสดุทดสอบซ้ำๆ เป็นเวลา 90 วัน ในขณะที่การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันทางปากในหนูแรทของวัสดุทดสอบสารสกัด Pandanus Amaryllifolius (ใบเตย) ที่ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ ที่ป้อนให้กับหนูแรท ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ตัว และครั้งที่ 2 จำนวน 3 ตัว โดยทำการสังเกตการตายและอาการใกล้ตาย อาการทางคลินิก การกินอาหาร น้ำและการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว และผลการผ่าซาก จากผลการทดสอบจึงสามารถสรุปได้ว่าสารสกัด Pandanus Amaryllifolius (ใบเตย) มีค่า LD50 มากกว่า 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ และมีเกณฑ์จำแนกความปลอดภัยตามระบบการจัดกลุ่ม สารเคมีและการติดฉลากของวัสดุทดสอบตามหลักเกณฑ์ของ GHS ที่ระดับ 5 (Category 5) หรือ Unclassified และภายหลังที่หนูแรทได้รับวัสดุทดสอบสารสกัด Pandanus Amaryllifolius (ใบเตย) ที่ความเข้มข้น 250 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ โดยป้อนวัสดุทดสอบดังกล่าวทางปากให้หนูแรท ทุกวันติดต่อกันเป็นระยะเวลา 90 วัน และภายหลังได้รับวัสดุทดสอบความเข้มข้นสูงครบแล้ว เป็นระยะเวลา 28 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจาก ความเป็นพิษของวัสดุทดสอบ ทั้งใน Main analysis และ Satellite analysis และจากการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ การตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยา การตรวจวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือด ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของอวัยวะต่อน้ำหนักตัวหนูแรท ผลการการผ่าซาก และการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา สามารถสรุปได้ว่าสารสกัด Pandanus Amaryllifolius (ใบเตย) ที่ความเข้มข้น 250 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวสัตว์ ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรังที่เกิดจากการป้อนวัสดุ ทดสอบซ้ำๆ เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญในการขอขึ้นทะเบียนอาหารใหม่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือลดความรุนแรงของโรคในระบบกระดูกและข้อทางคลินิกต่อไปอีกด้วย
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300