การศึกษาอันตรกริยาทางด้านเภสัชจลศาสตร์ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองของสารสกัดจากฐานชีวภาพของไทยที่เสริมสร้างสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ = In vitro and in vivo pharmacokinetic interactions of bioactive compounds from thailand’s biodiversity for health promotion on bone and joint systems / Wiriyaporn Sumsakul [et al.]

โดย: Wiriyaporn Sumsakul
ผู้แต่งร่วม: Wiriyaporn Sumsakul | Siriporn Butseekhot | Waraporn Sorndech | Chiramet Auranwiwat | Sinee Siricoon | Thongkorn Ploypetchara | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล | ศิริพร บุตรสีโคตร | วราภรณ์ ศรเดช | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์ | สินี ศิริคูณ | ทองกร พลอยเพชรา
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 72 p. : tables, ill. ; 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: รหัสโครงการ 6618101072หัวเรื่อง: ว่านหางจระเข้ | ใบเตย | ระบบกระดูกและข้อสาระสังเขป: Aloe vera extract, pandanus leaf extract, and hydrolyzed collagen from sea bass scales have been identified for their potential health benefits on the bone and joint systems. This study aimed to investigate the pharmacokinetic interactions of these extracts, focusing on their effects on bone and joint health using human liver microsomes and an animal model. Aloe vera extract contributes to bone mass strengthening, while pandanus leaf extract is beneficial for gout, and hydrolyzed collagen from sea bass scales supports osteoarthritis management. The study observed that pandanus leaf extract exhibited a slight inhibitory effect on CYP3A4 using human liver microsomes (IC50= 0.98±2.76 mg/mL). Aloe vera extract and hydrolyzed collagen from sea bass scales did not show inhibitory effects on CYP3A4, with IC50 values exceeding 5 mg/mL and 10 mg/mL, respectively, compared to the positive control, ketoconazole (IC50 = 0.23±0.004 µg/mL). Regarding induction effects, pandanus leaf extract at concentrations of 156 and 313 µg/mL did not significantly affect CYP3A4 activity in liver cells (HepG2), while at 625 µg/mL, it exhibited a stimulating effect, albeit less than the positive control (dexamethasone). Aloe vera and hydrolyzed collagen extracts did not induce CYP3A4 activity in hepatocyte cells at tested concentrations (0.156-0.625 mg/mL). In animal studies assessing CYP3A11 induction, aloe vera extract at various concentrations did not affect CYP3A11 mRNA levels or activity in rat liver cells. However, rats receiving pandanus leaf extract at 1,000 mg/kg body weight showed increased CYP3A11 enzyme induction and mRNA expression, highlighting caution in using pandanus leaf extract in gout dietary supplements.สาระสังเขป: สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดใบเตยและไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวพบว่ามีฤทธิ์ในการ เสริมสร้างสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิกิริยาทางด้านเภสัชจลศาสตร์ ได้แก่ ความสามารถในการเหนี่ยวนำและยับยั้งการทำงานของเอนไซมไซโตโครม P450 ในตับ ของสารสกัด ได้แก่ สารสกัดว่านหางจระเข้ที่มีฤทธิ์ในการเสริมสร้างมวลกระดูก สารสกัดใบเตยที่มีฤทธิ์สำหรับโรคเกาต์ และไฮโดรไลซ์ที่ผล การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด ในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครม P450 CYP3A4 ในเซลล์ตับเพาะเลี้ยง (HepG2) พบว่าสารสกัดใบเตยที่ความเข้มข้น 156 และ 313 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่มีผลในการกระตุ้นการทำงาน ของ CYP3A4 แต่ที่ความเข้มข้น 625 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของ CYP3A4 มากกว่าความ เข้มข้น 156, 313 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แต่น้อยกว่ากลุ่มควบคุมเชิงบวกคือ Dexamethasone ในขณะที่สารสกัด ว่านหางจระเข้และสารสกัดไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาว ไม่กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ในเซลล์ตับเพาะเลี้ยง ในขณะที่สารสกัดว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้น 0.156, 0.313 และ 0.625 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ไม่มีผลในการกระตุ้นการทำงานของ CYP3A4 และเม่ือศึกษาฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ CYP3A11 ใน สัตว์ทดลองโดยใช้ดูการแสดงออกของระดับ mRNA ของ CYP3A11 และผลต่อการทำงานของ CYP3A11 ของเซลล์ ตับของหนูทดลองที่ได้รับสารสกัด เป็นเวลา 90 วัน พบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้น 75, 150 และ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักตัวสัตว์ ไม่พบว่ามีการกระตุ้นการแสดงออกของระดับ mRNA ของ CYP3A11 และ ไม่กระตุ้นการทำงานของ CYP3A11 ในตับหนูทดลอง ในขณะที่กลุ่มหนูที่ได้รับสารสกัดใบเตยที่ระดับความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักตัวสัตว์ พบว่ามีการกระตุ้นให้ทำงานของเอนไซม์ CYP3A11 เพิ่มขึ้น และมีการ แสดงออกของระดับ mRNA ของ CYP3A11 เซลล์ตับของหนูทดลองเพิ่มขึ้นด้วย โดยผลที่เกิดขึ้นสนใจในแง่ที่อาจทำให้เกิดพิษจากการใช้ยาหรือการรักษาไม่ได้ผลหรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร่วมกับสารสกัด/ผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดทั้ง 3 ชนิดนี้ และใช้ทำนายโอกาสการเกิดอันตรกิริยาในทางคลินิก เพื่อให้การใช้ผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและมีความปลอดภัยสูงสุด และยังเป็นข้อมูลที่สำคัญในการขอขึ้นทะเบียนจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ฟังก์ชันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือลดความรุนแรงของโรคในระบบกระดูกและข้อทางคลินิกต่อไปอีกด้วย
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300