การจัดทำฐานข้อมูลซีลีเนียมในดินเพื่อการผลิตพืชเสริมซีลีเนียม = Database of selenium in soils for se-enriched crop production / Rochana Tangkoonboribun [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rochana Tangkoonboribun
ผู้แต่งร่วม: Rochana Tangkoonboribun | Aunnop Puttaso | Khanokon Amprayn | Rossukon Pooknil | รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ | อรรณพ พุทธโส | กนกอร อัมพรายน์ | รสสุคนธ์ พุกนิล
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 149 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-13 การจัดทำฐานข้อมูลซีลีเนียมในดินเพื่อการผลิตพืชเสริมซีลีเนียม หัวเรื่อง: ซีลีเนียม | พืชสาระสังเขป: The survey studied the amount and distribution of selenium in the soil as well as relationships with the condition of the soil series and soil texture in each area. 270 soil samples of paddy and banana farms in different areas were collected to study the soil of banana planting fields (23 provinces) and 1,222 samples to study selenium content in rice grown soils (56 provinces). The study indicated that the amount of selenium in the banana plantations was in the range of 13.40 - 568.76 micrograms per kilogram with an average value of 190.09 micrograms per kilogram. The maximum quantity at Khu Muang Subdistrict, Bang Rakam district, Phitsanulok province and the lowest at Laem Rang subdistrict, Bueng Na Rang district, Pichit province with the measured amount in the high soil (300-568.76 micrograms per kilogram). The highest similar values are found in Hup Krapong soil series (Hg) and Tha Mai soil series (Ti) and the lowest in Sai Ngam soil series (Sg). The amount of selenium found in the soil reflects the amount of selenium needed to be added in the form of fertilizer is between 4.87 - 4.90 kilograms of 100 ppm of selenium fertilizer. In addition, when considering the amount of selenium in the soil where bananas and rice are grown under lowland conditions and upland area, soil series and soil group consisting of silt loam, loam and silty clay. The amount of selenium content in the soil is not yet clearly indicated by the difference of soil texture. Some of the factors may depend on the source of selenium, which leads to selenium accumulation. The proportion of soil particles may play a role in selenium content. There should be a study of the relationship between other factors such as parent material, soil properties (soil pH, organic carbon and iron oxide), amount of selenium from cultivated plants and fertilizer management of farmers.สาระสังเขป: การสำรวจศึกษาถึงปริมาณและการแจกกระจายของซีลีเนียมในดิน ตลอดจนความสัมพันธ์กับสภาพพื้นที่ ชุดดิน และกลุ่มเนื้อดินในแต่ละพื้นที่ โดยทำการศึกษาในดินที่มีการใช้ประโยชน์การปลูกข้าวและกล้วยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างดินจำนวน 270 จุดศึกษา สำหรับการศึกษาปริมาณซีลีเนียมในดินที่ปลูกกล้วย (23 จังหวัด) และจำนวน 1,222 จุดศึกษา สำหรับการศึกษาปริมาณซีลีเนียมในดินที่ปลูกข้าว (56 จังหวัด) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณซีลีเนียมในดินการปลูกกล้วยมีค่าอยู่ในช่วง 13.40 - 568.76 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 190.09 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ตำบลคุยม่วง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และต่ำสุดที่ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร โดยปริมาณที่ตรวจวัดได้ในดินที่มีค่าสูง (300-568.76 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) พบในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดเลย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเลย จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดหนองคาย และจังหวัดพิษณุโลก เมื่อพิจารณาปริมาณซีลีเนียมตามชุดดินมีค่าอยู่ในช่วงแตกต่างกันมาก (29.63 – 324.04 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) พบสูงสุดใกล้เคียงกันในชุดดินหุบกระพง (Hg) และชุดดินท่าใหม่ (Ti) และต่ำสุดในชุดดินไทรงาม (Sg) จากปริมาณซีลีเนียมที่พบในดินสะท้อนถึงปริมาณความต้องการของซีลีเนียมที่ต้องใส่เพิ่มในดินในรูปแบบปุ๋ยอยู่ระหว่าง 4.87 – 4.90 กิโลกรัมปุ๋ย 100 พีพีเอ็มของซีลีเนียม สำหรับการแจกกระจายของปริมาณซีลีเนียมในดินที่ปลูกข้าวมีปริมาณอยู่ในช่วง 2.10 – 888.90 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 155.79 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) พบสูงสุดที่ตำบลมารวิชัย อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อพิจารณาการแจกกระจายตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ จะเห็นว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ 73% มีปริมาณซีลีเนียมต่ำกว่า 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อพิจารณาปริมาณของซีลีเนียมในดินปลูกข้าวตามชุดดิน (123 ชุดดิน) ปริมาณซีลีเนียมอยู่ในช่วง 8.4 - 410.4 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณต่ำสุดในชุดดินท่าพล (Tn) ในพื้นที่ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และปริมาณสูงใกล้เคียงกันในชุดดินลาดหญ้า (Ly) และชุดดินละงู (Lgu) จากปริมาณซีลีเนียมในดินที่ปลูกข้าวส่งผลให้มีปริมาณความต้องการของซีลีเนียมที่ต้องใส่เพิ่มในดินในรูปแบบปุ๋ยอยู่ระหว่าง 2.77-2.80 กิโลกรัมปุ๋ย 100 พีพีเอ็มของซีลีเนียม นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาปริมาณซีลีเนียมในดินที่มีการปลูกกล้วยและปลูกข้าวตามสภาพพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ดอน ชุดดิน และกลุ่มเนื้อดินซึ่งประกอบด้วย กลุ่มดินร่วนหยาบ กลุ่มดินร่วนละเอียด กลุ่มดินเนื้อละเอียดปนทรายแป้ง และกลุ่มดินเนื้อละเอียด กลุ่มดินเนื้อละเอียดมาก ดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อน และกลุ่มดินร่วนหรือดินเหนียวที่มีปริมาณเศษหิน กรวด ลูกรังปะปน จะเห็นว่ากลุ่มเนื้อดินซึ่งสะท้อนถึงปริมาณสัดส่วนของอนุภาคขนาดดินทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว และปริมาณของเศษหิน กรวด หรือลูกรังปะปนในดิน ยังไม่ได้บ่งชี้ถึงความแตกต่างปริมาณซีลีเนียมในดินที่ชัดเจนมากนัก ปัจจัยส่วนหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของซีลีเนียมซึ่งทำไปสู่การสะสมในดิน โดยปริมาณสัดส่วนอนุภาคดินอาจจะมีบทบาทต่อการรักษาปริมาณซีลีเนียมให้คงอยู่แตกต่างกันได้ และควรมีการศึกษาความสัมพันธ์กันปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยการกำเนิดดิน สมบัติของดิน (pH ดิน อินทรีย์คาร์บอน และเหล็กออกไซด์) ปริมาณซีลีเนียมจากพืชปลูก และการจัดการดินและปุ๋ยของเกษตรกร
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300