พัฒนาระบบการผลิตต้นกล้าสับปะรดเหลืองสามร้อยยอดเพื่อลดความแปรปรวนทางพันธุกรรม= Development of pineapple cv. lueng sam roi yod seedling production protocol to avoid genetic variation / Kanlaya Mokhaphan [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Kanlaya Mokhaphan
ผู้แต่งร่วม: Kanlaya Mokhaphan | Tanapak Inyod | Jakkrit Sreesaeng | Chatree Kornee | กัลยา โมกขพันธุ์ | ธนภักษ์ อินยอด | จักรกฤษณ์ ศรีแสง | ชาตรี กอนี
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 66 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-09 การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออกผลสดสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ (เหลืองสามร้อยยอด) หัวเรื่อง: สับปะรด | การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ | เหลืองสามร้อยยอดสาระสังเขป: Pineapple (Ananuscomosus L.Merr.) cv. Lueng Sam Roi Yod, a cultivar, was selected from the field. It was a selected clone from multiplication from micropropagation that causes good characteristics, which were either absence of spine or presence of a few spines, cylinder fruit shape, yellow flesh, yellow fruit ripe, fragrance, high sugar content, flat eyes, and resistance to black heart disorder. Then, the selection and multiplication by tissue culture technique were used for reducing genetic variation. The sequence-characterized amplified region (SCAR) marker has been applied for fresh fruit export inspection and certification in the future. The effect of different media types were observed for shoot multiplication and growth of Leung Sam Roi Yod. The MS medium is supplemented with BA, NAA and TDZ combined with three culture media states (liquid, semi-solid and double layer). After 20 weeks of culture, a double layer of MS medium containing 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตรTDZ has given the highest number of multiple shoot 200 shoot/explant. Moreover, The development and growth of explant could be classified into 5 patterns that were clumps of callus, developed callus, plantlets height less than 1 cm, plantlets height 1 to 3 cm and plantlets height greater than 3 cm. Four different types of growing materials include soil, perlite, peat moss, coco-coir dust:sand (1:1) and coconut husk chips : soil (1:1). These materials have been studied for transplantation of the plantlets. The results showed that peat moss is suitable with 75% survival rates after 8 weeks of transplant. An experiment was conducted to evaluate the effects of 10 mixtures of three types of fertilizers (46-0-0, 0-3-0 and manure) on growth change of Lueng Sam Roi Yod pineapple. Results showed the mixture of 46-0-0 (3 gram/plant) and 0-3-0 (1.5 gram/plant) showed the best performance on average plant height and maximum leaf length accounting 45.5 cm. and 22.0 cm respectively whereas control (no fertilized) it was 20.6 cm and 13.9 cm only. SCAR marker were Identified the specific bands from 100 Lueng Sam Roi Yod plantlets. The commercial pineapple cultivars, which were Pattavia, Phประเทศสหราชอาณาจักรet, White Jewel, Tainung, MD2 and Philippines (PPH) were used as control. The PCR product of two primer pairs which were pG2/3 forward+pG2/3 reverse and pG2/4 forward + pG2/4 reverse could separate 20 plantlets Lueng Sam Roi Yod from other varieties. These developed molecular markers were able to be used for identification and export certification in the future. สาระสังเขป: สับปะรดพันธุ์เหลืองสามร้อยยอดเกิดการกลายพันธุ์มีลักษณะดีคือ ต้นมีหนามน้อย ผลทรงกระบอก ตาผลตื้น เมื่อสุกผลมีสีเหลืองทั่วทั้งลูก กลิ่นหอม รสชาติหวาน และสามารถเก็บไว้ได้นานที่อุณหภูมิต่ำโดยไม่มีอาการไส้สีน้ำตาล และรสชาติเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ยังพบว่ามีความแปรปรวนทางพันธุกรรม และลักษณะทางสัณฐานวิทยาค่อนข้างสูง จึงทำการคัดเลือกเพิ่มปริมาณต้นด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่ไม่ก่อให้เกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น ร่วมกับการตรวจสอบเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์ การใช้เทคนิคเครื่องหมาย SCAR ที่จำเพาะกับสับปะรดเหลืองสามร้อยยอดเพื่อการตรวจสอบ และรับรองสายพันธุ์เพื่อการส่งออกผลสดในอนาคต การศึกษาชนิดของอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโต BA NAA และ TDZ ในอาหารสูตร MS 3 สถานะ คือ อาหารแข็ง อาหารเหลว และอาหารแข็งกึ่งเหลว เป็นเวลา 20 สัปดาห์ พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร ในสภาพแข็งกึ่งเหลว ให้จำนวนต้นใหม่ของสับปะรดมากที่สุดจำนวน 220 ต้น และอาหารสูตรนี้ยังมีผลต่อการพัฒนาและการเจริญของต้นสับปะรดที่สามารถจำแนกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มแคลลัส, แคลลัสเริ่มพัฒนาเป็นยอด, ต้นที่มีความสูงน้อยกว่า 1 เซนติเมตร, ต้นที่มีความสูง 1-3 เซนติเมตร และต้นที่มีความสูงมากกว่า 3 เซนติเมตร จากการศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการย้ายปลูกต้นกล้าสับปะรดเหลืองสามร้อยยอด ได้แก่ ดิน เพอไลต์ พีทมอส ขุยมะพร้าวผสมทราย (1 : 1) และมะพร้าวสับผสมดิน (1 : 1) พบว่าพีทมอสมีผลทำให้ต้นกล้าสับปะรดมีอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยมากที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์ หลังย้ายปลูก 8 สัปดาห์ การศึกษาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับต้นกล้าสับปะรดเหลืองสามร้อยยอดที่ย้ายออกปลูก อายุ 2 เดือน ด้วยการให้ปุ๋ย 3 ชนิด คือ 46-0-0, 0-3-0 และปุ๋ยคอก ในสัดส่วนต่างๆ จำนวน 10 สูตร พบว่าการให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 3 กรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-3-0 จำนวน 1.5 กรัมต่อต้น ให้ความสูงต้นเฉลี่ยมากสุดที่ 45.4 เซนติเมตร และความยาวใบมากสุด 22.0 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยต้นควบคุม คือต้นที่ไม่ได้ให้ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยของต้นต่ำสุด 20.6 เซนติเมตร และความยาวใบเฉลี่ยน้อยสุด 13.9 เซนติเมตร การตรวจสอบความจำเพาะทางพันธุกรรมของสับปะรดสายพันธุ์เหลืองสามร้อยยอดด้วยเครื่องหมาย Sequence characterized amplified region (SCAR) ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสับปะรดเหลืองสามร้อยยอดจำนวน 100 ต้น เปรียบเทียบกับสับปะรดสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ พันธุ์ปัตตาเวีย ภูเก็ต ไวท์ จีเวล ไทนุง MG3 MD2 และฟิลิปปินส์ (PPH) ที่ใช้เป็นพันธุ์ควบคุม พบว่ามีสับปะรดเหลืองสามร้อยยอดจำนวน 20 ต้น ที่ให้แถบดีเอ็นเอเมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมาย SCAR จำนวน 2 คู่ไพรเมอร์คือ pG2/3 Forward กับ pG2/3 Reverse และ pG2/4 Forward กับ pG2/4 Reverse ซึ่งทั้ง 2 คู่ ไพรเมอร์นี้ สามารถให้ตรวจสอบและรับรองสายพันธุ์สับปะรดเหลืองสามร้อยยอดเพื่อการส่งออกได้ในอนาคต
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300