โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารกำจัดกลิ่นขยะชุมชนร่วมกับสารเติมแต่งในพลาสติกรีไซเคิล = The research and development of the odor removal material for municipal waste via the additive in plastic recycle waste / Rewadee Anuwattana [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rewadee Anuwattana
ผู้แต่งร่วม: Rewadee Anuwattana | Anusorn Boonpok | Torpong Kreetachat | Sunantha Laowansiri | Songkiate Roddang | Kowit Suwannahong | Narumon Soparatana | Pattamaphorn Phungngamphan | Worapong Pattayawan | Supinya Yindee | Saroj Klangklongsab | เรวดี อนุวัฒนา | อนุสรณ์ บุญปก | ต่อพงศ์ กรีธาชาติ | สุนันทา เลาวัณย์ศิริ | ทรงเกียรติ รอดแดง | โกวิท สุวรรณหงษ์ | นฤมล โสภารัตน์ | ปัทมาพร พ่วงงามพันธุ์ | วรพงษ์ พัทยาวรรณ | สุภิญญา ยินดี | สาโรจน์ กลางกองสรรพ
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 91 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-02 การจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน หัวเรื่อง: ซีโอไลต์ 4A | ไทเทเนียมออกไซด์ | ขยะ | พลาสติกรีไซเคิลสาระสังเขป: The objective of this work is to study the optimum condition on synthesis microzeolite produced from utilizing mineral of coal bottom ash from Mae Moh Power Plant. The synthetic microzeolite is used be the precursor for composite coagulant. The optimum condition for microzeolite synthesis is the fusion prior microwave and hydrothermal method. The coal bottom ash was fused with NaOH as 1:3 at 550ºC for 1 hour. The activation of the fused product is 3M NaOH at 105 ºC for 5 hours. The %crystallinity of NaA microzeolite is 73.78% and Calcium Exchange Capacity (CEC) of 433 mgCaCO3 / g zeolite. LDPE/TiO2/microzeolite/maleic anhydride grafted low density polyethylene (PE-G-MA) were prepared via twin screw extruder. The optimum condition of weight ratio of 200 g of LDPE/ 1.5 of TiO2/ 2.0 phr of Zeolite and / 2.0 g of PE-g-MA. The PE-G-MA ratio improves the dispersion of microzeolite and TiO2 in plastic composite. The addition of TiO2 into the plastic composite increased the H2S adsorption capacity. The results investigated the efficiency on H2S adsorption by using the optimum condition of the plastic composite pellet has 10.53 mol/g of plastic composite. The study in wastewater treatment at Maha sarakham province for 267 mg/dm3 of COD, 3.11 mg/dm3 of DO, total ammonia nitrogen of 0.65, PO43- of 2.517 mg/dm3 and dissolved oxygen of 3.11 mg/dm3. In addition, using 10 g of plastic composite (microzeolite 4A from bottom ash) can remove COD of 127 mg/dm3, total ammonia nitrogen of 0.11 mg/dm3 and PO43-of 1.85 mg/dm3. The increase of dissolved oxygen (DO) of 5.81 mg/dm3. These results indicated that microzeolite from bottom ash can be used as the additive for plastic recycle composite and application for equipment of wastewater treatment. สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมไมโครซีโอไลต์จากเถ้าหนักโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อเตรียมเป็นสารเติมแต่งร่วมกับไทเทเนียมออกไซด์และตัวประสานในพลาสติกชนิดความหนาแน่นต่ำเพื่อใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพกำจัดกลิ่นโดยใช้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์สังเคราะห์ที่ความเข้มข้น 105 มิลลิกรัม/ลิตร และการทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัด น้ำเสียชุมชน โดยศึกษาการเตรียมไมโครซีโอไลต์ชนิด 4A จากเถ้าหนัก โดยกระบวนการเตรียม ไมโครซีโอไลต์ 4 A เริ่มจากการนำเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้า หลอมร่วมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ในอัตราส่วนโดยมวล 1:3 ที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เมื่อละลายสารประกอบ ที่ไม่ละลายน้ำของสารตั้งต้นด้วยไมโครเวฟ ตามด้วยการกระตุ้นไฮโดรเทอร์มอล ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 3 โมล/ลิตร เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า สามารถผลิตไมโครซีโอไลต์ 4A จากเถ้าหนักให้ไมโครซีโอไลต์ที่ร้อยละความสมบูรณ์ของผลึกเท่ากับ 73.78 และมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนเท่ากับ 433 มิลลิกรัมแคลเซียมคาร์บอเนต ต่อกรัมซีโอไลต์ การเตรียมพลาสติกรีไซเคิลคอมโพสิตถูกเตรียมจากปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมพลาสติกรีไซเคิลชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ/ไทเทเนียมออกไซด์/ไมโครซีโอไลต์ 4A จากเถ้าหนัก/ตัวเติมแต่ง/เม็ดพลาสติกพอลิเอทีลีนความหนาแน่นต่ำ พบว่า การเตรียมพลาสติกรีไซเคิลคอมโพสิต โดยการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลเอทีลีนชนิดความหนาแน่นต่ำต่อไทเทเนียม ออกไซด์ต่อไมโครซีโอไลต์ 4A จากเถ้าหนักต่อสารเติมแต่งเมเลอิกแอนด์ไฮไดรด์ ต่อกึ่งด้วยพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำการใช้ตัวประสานเพื่อให้เกิดการกระจายของไมโครซีโอไลต์ในพลาสติกคอมโพสิต ในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเท่ากับ 200 : 1.5 : 2 : 2 phr โดยใช้เครื่องอัดรีด ชนิดสกรูคู่ในการหลอมเหลว พบว่าการเติมสารไทเทเนียมออกไซด์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ต่อการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยการทดสอบกับพลาสติกคอมโพสิตในสภาวะที่เหมาะสม ให้ประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ เท่ากับ 10.53 โมลต่อกรัมพลาสติกคอมโพสิต เมื่อทดสอบความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนจากจังหวัดมหาสารคามที่มีค่าความสกปรก (COD) 267 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำเท่ากับ 3.11 มิลลิกรัม/ลิตร แอมโมเนียไนโตรเจนโดยรวมเท่ากับ 0.65 มิลลิกรัม/ลิตรฟอสเฟต (PO43- ) เท่ากับ 2.517 มิลลิกรัม/ลิตร ทำการทดสอบกับพลาสติกคอมโพสิต (ซีโอไลต์ 4A จากเถ้าหนัก) สามารถกำจัดค่าความสกปรกเท่ากับ 127 มิลลิกรัม/ลิตร กำจัดแอมโมเนียไนโตรเจนโดยรวมเท่ากับ 0.11 มิลลิกรัม/ลิตร และกำจัดฟอสเฟต 1.85 มิลลิกรัม/ลิตร โดยสามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจน ละลายน้ำเท่ากับ 5.81 มิลลิกรัม/ลิตร จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ไมโครซีโอไลต์จากเถ้าหนัก สามารถผลิตเป็นสารเติมแต่งในการผลิตพลาสติกรีไซเคิลคอมโพสิตและประยุกต์ใช้งาน สำหรับอุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300