โครงการพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงจากยางธรรมชาติ = Development of rubber composite for acoustic panels / Julaluk Phunnoi [et al.]

โดย: Julaluk Phunnoi
ผู้แต่งร่วม: Julaluk Phunnoi | Pracha Lao-auyporn | Arisa Jaiyu | Laksana Wangmooklang | Passakorn Sueprasit | Siriporn Larpkiattaworn | จุฬาลักษณ์ พันธ์น้อย | ประชา เหล่าอวยพร | อาริสา ใจอยู่ | ลักษณา หวังหมู่กลาง | ภาสกร สืบประสิทธิ์ | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร
ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 73 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.60-35 การพัฒนานวัตกรรมวัสดุพรุนตัวจากยางธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อม หัวเรื่อง: เส้นใยธรรมชาติ | โฟมยาง | วัสดุดูดซับเสียงสาระสังเขป: Acoustic materials play an important role in noise control solutions for many situations, where it is necessary to protect health and environment quality. This research has been carried out in order to develop natural rubber latex (NRL) for acoustic materials. Dunlop process was used to prepare the natural rubber foam (NRF) containing natural fibers such as rice husk (RH), coconut fiber (CF) and bagasse fiber (BF). The surface of natural fibers was modified by using sodium hydroxide treatment. The effects of natural fibers on the foam density, cell morphology, sound absorption coefficient (SAC) and Noise reduction coefficient (NRC) were investigated. It was found that 10 wt.% of natural fibers are suitable for mixing in NRF. The open-cell foam was observed in cell morphology of all NRF composites. The foam density was significantly affected by natural fibers addition. Natural fibers significantly enhanced acoustic properties of NRF composites. NRC of NRF with 10 wt.% all-natural fibers were 0.55-0.65 which the thicknesses of sample plates were 3 cmสาระสังเขป: วัสดุดูดซับเสียงเป็นวัสดุหลักอีกอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการควบคุมมลพิษทางเสียงในอาคารบ้านเรือน ซึ่งสามารถช่วยป้องกันทั้งปัญหาด้านสุขภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมลพิษทางเสียง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงจากน้ำยางธรรมชาติ โดยกระบวนการขึ้นรูปโฟมยางแบบดันลอป พัฒนาวัสดุโฟมยางผสมเส้นใยธรรมชาติ ได้แก่ แกลบ เส้นใยมะพร้าวและกากอ้อย ปรับปรุงพื้นผิวเส้นใยธรรมชาติด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นทำการศึกษาคุณสมบัติโฟมยางที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาผลของปริมาณเส้นใยธรรมชาติต่อการความหนาแน่นโฟมยางลักษณะรูพรุน ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง (Sound absorption coefficient; SAC) และค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง (Noise reduction coefficient; NRC) จากการทดลองพบว่า ปริมาณการเติมเส้นใยธรรมชาติมีผลต่อค่าความหนาแน่นของโฟมยาง ปริมาณเส้นใยธรรมชาติที่เหมาะสมในการขึ้นรูปโฟมยางเท่ากับ 10% โดยน้ำหนักยางแห้ง การศึกษาลักษณะจุลโครงสร้างเซลล์โฟม พบว่า ลักษณะโครงสร้างรูพรุนเป็นแบบเซลล์เปิด (open cell) การเติมเส้นใยธรรมชาติมีผลช่วยเพิ่มคุณสมบัติทางเสียงของโฟมยาง โดยค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียงของโฟมยางผสมเส้นใยธรรมชาติ 10% โดยน้ำหนักยางแห้ง เมื่อขึ้นรูปแผ่นโฟมยางหนา 3 เซนติเมตร อยู่ในช่วง 0.55-0.65.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300