การศึกษาความเป็นไปได้และการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียวไปใช้ประโยชน์ = Feasibility assessment and single fertilization technology extension for rice production / Seksak Chouichom (CONFIDENTIAL)

โดย: Seksak Chouichom
ผู้แต่งร่วม: Seksak Chouichom | เศกศักดิ์ เชยชม
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 45 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-01 การศึกษาความเป็นไปได้และการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียวไปใช้ประโยชน์ หัวเรื่อง: ข้าว | ปุ๋ย | ปุ๋ยครั้งเดียวสาระสังเขป: The objectives of this study was to 1) study socio-economic of rice farmers, 2) investigate feasibility and expectation of rice farmers towards single fertilizer utilization, 3) examine the famers’ need and adoption towards single fertilizer utilization, 4) consider technological transfer and extension towards single fertilizer utilization and 5) scrutinize famers’ obstacles and suggestions towards single fertilizer utilization. The research sample was 400 rice farmers in Suphan Buri province, 100 rice farmers in Nakhon Phanom province and also 100 rice farmers in Srisaket province. The data collected in 2014 and 2017. The research tool was interview schedule which consisted of open-ended and closed questions. The descriptive statistic used percentage and frequency. Also, the response was scored on five point Likert’s scale ranging to investigate the level of attitude, need, expectation and adoption of rice farmers. The results of this study illustrated that most of rice farmers in Suphan Buri were female (81.75 %), married (79.75 %) and had age more than 50 years old (42.25 %). They graduated primary school (30.25 %) and had family member between 3 – 4 persons / household (56.00 %). They earned income between 10,001 and 20,000 Bath/Month (56.00 %) and most of them were rice farmers. Also, they had work for hire (68.50 %). They then got agricultural information via television (48.00 %). The farmers had expected towards the single fertilizer utilization that they will get low cost farm investment with very strongly agree (mean=4.46). Moreover, the results of 200 farmers in Nakhonpanom and Srisaket province showed that most of rice farmers in were female (55.00 %) and married. They had age between 40 and 49 years old (40.00 %), graduated primary school (53.00 %). They earned income lower than 50,000 Bath / Year (42.00 %) and had land owner between 3 and 6 Rai/Household (44.00 %). Farmers accepted and understood in usefulness of single fertilizer utilization in strongly level. They would like to get agricultural extension method by mass method especially training course and demonstration. In addition, they showed their great idea in the usefulness of single fertilizer utilization that the farm environment will get better and also farm cost can be reduced. Most of farmers had strongly satisfied in technology transfer and extension of single fertilizer utilization especially the knowledge of speakers clearly after getting training. They still faced with water supply in agricultural farm activities in summer season. As well they suggested that they still need more up to date and in-depth single fertilizer utilization information firstly.สาระสังเขป: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานของเกษตรกรผู้ทำนาและปลูกข้าว 2) ความเป็นไปได้และความคาดหวังของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวแบบครั้งเดียว 3) ความต้องการและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวครั้งเดียวของเกษตรกร 4) การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวแบบครั้งเดียว 5) อุปสรรคปัญหาและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรที่มีต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยครั้งเดียวในนาข้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรใน จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 400 คน จังหวัดนครพนม ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 100 คน และ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2560 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายเปิดและปลายปิด โดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยในการบรรยาย นอกจากนี้ยังใช้ค่า Likert’s scale เพื่อบอกระดับค่าความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า พบว่า เกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี (400 ราย) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.75 มีอายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 42.25 มีสถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 79.75 จบการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 30.25 มีสมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 3-4 คนคิดเป็นร้อยละ 49.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 56.00 และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีอาชีพเสริมรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 68.50 และมีการรับข่าวสารทางการเกษตรผ่านสื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 48.00 เกษตรกรมีความคาดหวังต่อการใช้ปุ๋ยครั้งเดียวในนาข้าวในเรื่องของต้นทุนฟาร์มลดลง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.64) นอกจากนี้ จากการศึกษาเกษตรกรในพื้นที่ จังหวัดนครพนม และ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 200 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.00 มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 40.00 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 53.00 มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 50,000 บาท ร้อยละ 42.00 และมีพื้นที่ถือครองระหว่าง 3 - 6 ไร่ ร้อยละ 44.00 เกษตรกรมีการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยครั้งเดียวไปใช้ประโยชน์ระดับมาก โดยมีความต้องการวิธีการส่งเสริมทางการเกษตรแบบกลุ่ม (ฝึกอบรม/สาธิต) มากไปกว่านั้น เกษตรกรมีการยอมรับและทัศนคติในการใช้ปุ๋ยครั้งเดียวไปใช้ประโยชน์ว่า การใช้ปุ๋ยครั้งเดียวทำให้สิ่งแวดล้อมทางการเกษตรดีขึ้นและสามารถลดต้นทุนได้ สำหรับวิธีการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเนื้อหาจากวิทยากรที่ชัดเจนหลังจากที่ได้รับการอบรม ปัญหาจากการทำปุ๋ยครั้งเดียวของเกษตรกรคือการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน เกษตรกรเสนอแนะว่า องค์ความรู้ใหม่การผลิตปุ๋ยครั้งเดียวในเชิงลึกยังคงมีความจำเป็นอันดับแรก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300