การใช้กลุ่มจุลินทรีย์ร่วมกับธูปฤาษีเพื่อบำบัดสารกำจัดศัตรูพืช = The combination of microorganism consortium and narrow-leaved cattail for pesticides treatment / Siritham Singhtho [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Siritham Singhtho
ผู้แต่งร่วม: Siritham Singhtho | Sayam Sinsawat | Kanrawee Bosuwan | ศิริธรรม สิงห์โต | สยาม สินสวัสดิ์ | กัญญ์รวี บ่อสุวรรณ
BCG: จุลินทรีย์ ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 88 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.58-11 การบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มแบคทีเรียตรึงบนวัสดุเหลือทิ้งจากภาคเกษตร หัวเรื่อง: ธูปฤาษี | แบคทีเรีย | คาร์โบฟูรานสาระสังเขป: Bacteria consortium from root and soil around root of Narrow-Leaved Cattail (NL-Cattail) in 8 districts of Phetchaburi province was categorized into 71 and 61 isolates, respectively. They were divided into non-pathogenic bacteria 69 and 54 isolates, respectively. The durability test for 100 ppm of Carbofuran (CF) found that 15 and 16 isolates had CF degradation potential. Then, they were tested on CF degradation ability at 25 ppm by observing the clear zone around the colony. It was found that there were gram-positive bacteria from root and soil around the root of NL-Cattail which were R-KYO2, R-CAM2, R-TYG1, S-MNG2, S-BLM5, S-BLD2. It is shown that those bacteria could degrade CF. The ability test of CF degradation by the combination of NL-Cattail and bacteria consortium in green house, which had 4 treatments (T) found that of T4: soil, NL-Cattail and selected bacteria consortium has CF decreasing percentage at 16.39±2.13. It indicated that there was collaboration between NL-Cattail and selected bacteria consortium. After that there was a test on CF degradation ability by categorizing gram-positive bacteria from root and soil around the root of NL-Cattail, which was divided into 4 treatments (T) it was found that T4: soil, NL-Cattail, and selected bacteria consortium (R-KYO2, R-CAM2, R-TYG1) has the greatest decreasing CF percentage at 23.69±2.52. This shows that mutual work of NL-Cattail and bacteria consortium from root of NL-Cattail has gained maximum rates. The result of this study was then used in another study to find out the appropriate conditions of pesticides treatment by constructing a tank to work in conjunction with NL-Cattail with bacteria consortium. Bacteria consortium at 108 concentration was added into the plastic tank where NL-Cattail has been planted. It was found that after 3 day of retention, the application of NL-Cattail and bacteria consortium was able to degrade CF by 22.15±2.23%. Then, the test of pesticides treatment was conducted by constructing a 280-litre tank to work in conjunction with NL-Cattail and bacteria consortium in farming areas in the following conditions 1) depth of water at 50 cm. 2) depth of soil at 20 cm. 3) retention time at 3 days 4) bacteria consortium at 106 CFU/L (10 liters), and 5) number of NL-Cattail (4 plants/m2). It was found that the pesticides decreased in percentage by 85.78±5.64%. The result of this study could have commercial benefits as it could lead to a construction of a larger well with a capacity of 50 m3 to treat residual pesticides in the water of farming areas and water before discharging.สาระสังเขป: แบคทีเรียจากราก และดินรอบรากธูปฤาษีในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีทั้ง 8 อำเภอ ถูกคัดแยกได้ 71 และ 61 ไอโซเลท ตามลำดับ โดยจำแนกได้เป็นแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรค 69 และ 54 ไอโซเลท ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบความทนต่อสารคาร์โบฟูรานที่ระดับความเข้มข้น 100 ppm พบว่ามีจำนวน 15 และ 16 ไอโซเลท ตามลำดับ ที่มีศักยภาพในการย่อยสลายสารคาร์โบฟูราน จากนั้นจึง ถูกนำมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายสารคาร์โบฟูรานที่ความเข้มข้น 25 ppm โดยสังเกตการสร้างวงใสรอบโคโลนี พบว่ามีแบคทีเรียแกรมบวกจากราก และดินรอบรากธูปฤาษี จำนวน 3 (R-KYO2, R-CAM2, R-TYG1) และ 3 (S-MNG2, S-BLM5, S-BLD2) ไอโซเลท ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียเหล่านั้นสามารถย่อยสลายสารคาร์โบฟูรานได้ จากนั้นจึงถูกนำมาทดสอบความสามารถในการสารคาร์โบฟูราน ด้วยธูปฤาษีร่วมกับกลุ่มแบคทีเรียในระดับเรือนทดลอง 4 กรรมวิธี พบว่ากรรมวิธี T4 ดิน+ธูปฤาษี+กลุ่มแบคทีเรียที่คัดเลือก มีค่าร้อยละที่ลดลงของสาร คาร์โบฟูราน สูงสุดที่ 16.39±2.13 แสดงให้เห็นว่ามีการทำงานร่วมกันของธูปฤาษี และกลุ่มแบคทีเรียที่คัดเลือก ต่อมาได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดสารคาร์โบฟูราน โดยแยกประเภทของกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวกจากราก และดินรอบรากธูปฤาษี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี พบว่ากรรมวิธี T4 ดิน+ธูปฤาษี+กลุ่มแบคทีเรียจากรากธูปฤาษี (R-KYO2, R-CAM2, R-TYG1) มีค่าร้อยละที่ลดลงของสารคาร์โบฟูราน สูงสุดที่ 23.69±2.52 แสดงให้เห็นว่า มีการทำงานร่วมกันของธูปฤาษี และกลุ่มแบคทีเรียจากรากธูปฤาษี ได้ค่าสูงที่สุด เมื่อได้ผลดังนี้แล้วจึงทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยธูปฤาษีร่วมกับกลุ่ม จุลินทรีย์ในระดับเรือนทดลองด้วยวิธีบึงประดิษฐ์ โดยกลุ่มแบคทีเรียจากรากธูปฤาษี (R-KYO2, R-CAM2, R-TYG1) ที่ความเข้มข้น 108 ถูกเติมลงในกระบะพลาสติกที่ปลูกต้นธูปฤาษีไว้ พบว่าระยะเวลาการกักเก็บนาน 3 วัน ทำให้การใช้กลุ่มแบคทีเรียจากรากธูปฤาษีร่วมกับธูปฤาษีย่อยสลายสารคาร์โบฟูรานได้โดยมีค่าร้อยละที่ลดลงของสารคาร์โบฟูรานที่22.15±2.23 ต่อมาจึงทดสอบระบบบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีบึงประดิษฐ์โดยใช้ธูปฤาษีร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ในพื้นที่กลุ่มเกษตรกร โดยจัดทำถังบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชในรูปแบบของบึงประดิษฐ์ ขนาดความจุ 280 ลิตร และใช้สภาวะที่เหมาะสมของระบบบำบัด คือ 1) ความลึกของน้ำ (50 เซนติเมตร) 2) ความลึกของดินปลูก (20 เซนติเมตร) 3) ระยะเวลากักเก็บ (3 วัน) 4) ความเข้มข้นเริ่มต้นของกลุ่มจุลินทรีย์ (106 CFU/L ปริมาตร 10 ลิตร) และ 5) จำนวนต้นธูปฤาษี (4 ต้น/ตร.ม.) พบว่าค่าร้อยละที่ลดลงของสารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 3 จุดติดตั้งถังบำบัด รวม 12 ครั้งที่เก็บตัวอย่าง มีค่าอยู่ที่ 85.78±5.64 จากผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปบ่มเพาะและต่อยอดเพื่อนำไปถ่ายทอดเชิงพาณิชย์ และ/หรือ เชิงสังคม ได้โดยขยายขนาดของระบบบำบัดจากถังบำบัดความจุ 280 ลิตร สู่บึงประดิษฐ์แบบ Vegetated Submerged Bed ขนาดความจุ 50 ลบ.ม. เพื่อให้สามารถบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในแหล่งน้ำของพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงบำบัดน้ำก่อนปล่อยเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300