การศึกษาการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของกระบวนการผลิตไบโอดีเซล (กลีเซอรีน) = Utilization of by - product from biodiesel production (glycerine) / Panida Thepkhun [et al.]

ผู้แต่งร่วม: Panida Thepkhun | Thanita Sonthisawate | Yoothana Thanmongkhon | Amornrat Suemanotham | Phichai Wongharn | Pattarin Daycharugk | พนิดา เทพขุน | ธนิตา สนธิเศวต | ยุทธนา ฐานมงคล | อมรรัตน์ สื่อมโนธรรม | พิชัย วงศ์หาญ | ภัทรินทร์ เดชะฤกษ์
TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 63 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.48-09 การวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชในรูปของไบโอดีเซล หัวเรื่อง: กลีเซอรีน | ไบโอดีเซล | ทรานเอสเทอริฟิเคชันสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Glycerin was a by-product obtained from biodiesel production process in 10-20% of products’ weight. The component of crude glycerin which discharged from transesterification reaction contained 30-80% amount of pure glycerol, following to raw material and biodiesel production process. So, purified glycerol technology was necessary to study for making value added to a kind of by-product. In the experiment, first was splitting fat and oil from crude glycerin by reacted with methano and various kind of acids such as hydrochloric acid, sulfuric acid and phospohoric acid. The results shown that 10% hydrochlolic acid with 25% Methanol gave the most properly, after that make a settling to 3 layers of fat, glycerol mixed and salt. Glycerol mixed was neutralized by NaOH solution 0.5 N of concentration and filtered salt and particulate matter out and evaporated remained methanol and moisture from the mixture. The last step was decolorizing the mixture by activated carbon for 1 hr. with 100 oC temperature controlled, then 90 % purified glycerol can be obtained.สาระสังเขป: กลีเซอรีนเป็นผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซล และมีอยู่ประมาณร้อยละ 10-20 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ โดยองค์ประกอบของกลีเซอรีนดิบที่ได้จากกระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชันจะมีกลีเซอรีน อยู่ประมาณร้อยละ 30-80 โดยน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล ส่วนที่เหลือเป็นพวกไขมัน, สบู่ และสารเจือปนอื่นๆ ดังนั้นกระบวนการที่เหมาะสมในการแยกกลีเซอรีนบริสุทธิ์ จากชั้นกลีเซอรีนดิบที่ได้ จึงเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยจากผลพลอยได้ของกระบวนการผลิตไบโอดีเซลอย่างครบวงจร การศึกษากระบวนการทำให้กลีเซอรีนบริสุทธิ์ ทำได้โดยอาศัยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย ขั้นตอนทำปฏิกิริยาเพื่อแยกไขมันและกรดไขมันออกจากกลีเซอรีนดิบด้วยกรดชนิดต่างๆ ดังนี้ กรดไฮโดรคลอริก กรดซัลฟิวริก และกรดฟอสฟอริก โดยมีเมทานอลเป็นตัวช่วยให้เกิดการผสมเข้ากันของสารตั้งต้น และเพื่อให้ทำปฏิกิริยาได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นปล่อยให้ตกตะกอนแยกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นของไขมัน, ชั้นของกลีเซอรีนที่รวมกับเมทานอล และชั้นของเกลือที่เกิดจากปฏิกิริยา ตามลำดับจากบนลงล่าง พบว่า กรดไฮโดรคลอริกเป็นกรดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยใช้ในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบ และเมทานอลร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก จากนั้นแยกเอาชั้นผสมของกลีเซอรีนกับเมทานอลที่มีความเป็นกรดสูง มาทำการสะเทินให้เป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 0.5 นอร์แมล แล้วจึงแยกสารเกลือที่เกิดขึ้นในของผสมนั้น ก่อนนำไปทำการระเหยเมทานอลออก ด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ แล้วจึงนำไปผ่านการฟอกสีด้วยผงถ่านกัมมันต์ โดยให้ความร้อนกับสารผสมกลีเซอรีนที่อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อให้ประสิทธิภาพในการฟอกสีดีขึ้น และขั้นตอนสุดท้าย นำสารผสมดังกล่าวไปกรองผงถ่านและสารปนเปื้อนต่างๆ ออก จะได้กลีเซอรีนที่มีความบริสุทธิ์ในระดับร้อยละ 90 โดยน้ำหนัก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300