การพัฒนาถังปฏิกิริยาผลิตแก๊สชีวภาพแบบหลายชั้นและระบบควบคุมด้านเทคนิคการประเมินผลแบบกึ่งอัจฉริยะ = Development of multi-layer biogas reactor and control systems with semi-intelligent processing techniques / Apichat Junsod [et al.]

โดย: Apichat Junsod
ผู้แต่งร่วม: Apichat Junsod | Soticha Kitarsa | อภิชาติ จันสด | โสธิชา กิจอาสา
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 53 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ Ter.63-03 การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มศักยภาพในการเก็บกักตะกอนจุลินทรีย์และระบบกึ่งอัจฉริยะสำหรับการบำบัดของเสียและผลิตพลังงานชีวภาพจากภาคอตุสาหกรรมและของเหลือทิ้งทางการเกษตรหัวเรื่อง: เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ | ไบโอแก๊สแบบใหม่ | มีเทนสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: This project was done as a laboratory-scale level to develop a design of a new reactor of biogas, as well as a process control system for the production of biogas from this new reactor of biogas. The objective of this project has taken the new reactor of biogas to study the anaerobic digestion mechanism in this reactor to produce biogas. The experiment was done by Mixed organic material consisting of inoculum from cow dung, water, and molasses in the ratio 2: 3: 5 respectively, and fermented in anaerobic condition for 7 days in equalizing tank and the same interval time in the new reactor of biogas.The research showed the percentage increase of methane in biogas has been corresponded in the increase of VFA and ALK ratio, such as the amount of methane gas rises to 70% within 3 days, which has been also consistent with the change in VFA and ALK ratio. Finally, the amount percentage increase of methane in biogas has remained stable but the ratio of change of VFA and ALK is reduced, indicating that VFA content is rapidly used in the biogas producing process. That means should feeding wastewater again.สาระสังเขป: โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพระดับห้องปฏิบัติ มีการออกแบบถังปฏิกิริยาไบโอแก๊สแบบใหม่ พร้อมทั้งทำระบบควบคุมกระบวนผลิตไบโอแก๊สสำหรับถังปฏิกิริยาใหม่นี้ด้วย โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาถังปฏิกิริยาไบโอแก๊สแบบใหม่นี้มาศึกษากลไกการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนในเครื่องปฏิกรณ์นี้เพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ การทดลองทำโดยใช้วัสดุอินทรีย์ผสมประกอบด้วยหัวเชื้อจากมูลวัว, น้ำ และกากน้ำตาลในอัตราส่วน 2 : 3 : 5 ตามลำดับ และหมักในสภาวะไร้อากาศเป็นเวลา 7 วัน ในถังปรับสมดุลและในช่วงเวลาเดียวกันในถังปฏิกิริยาไบโอแก๊สแบบใหม่ จากการทดลองพบว่าค่าที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณแก๊สมีเทนในไบโอแก๊สคือ ค่าอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของ VFA ต่อ ALK ดังเช่นเมื่อปริมาณแก๊สมีเทนเพิ่มขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 3 วัน ซึ่งสอดคล้องกับอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของ VFA ต่อ ALK ซึ่งเพิ่มขึ้นเช่นกัน และปริมาณแก๊สมีเทนจะยังคงที่ต่อไป แต่อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของ VFA ต่อ ALK กลับลดลงนั้นแสดงให้เห็นว่าปริมาณ VFA ถูกใช้ไปในกระบวนการผลิตไบโอแก๊สอย่างรวดเร็ว นั่นก็หมายถึงต้องป้อนน้ำเสียเข้าไปอีก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300