การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการด้วยการเพาะปลูกเชิงระบบที่คำนึงถึงการได้รับประโยชน์จาก Tritrophic interaction = Strengthening integrated pest management with cropping system relied on benefit obtaining from tritrophic interaction / Cholticha Niwaspragrit [et al.]

โดย: Cholticha Niwaspragrit
ผู้แต่งร่วม: Cholticha Niwaspragrit | Wissarut Sukhaket | Maitree Munyanont | Jantra Pankhwan | Phawini Khetnon | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | วิศรุต สุขะเกตุ | ไมตรี มัณยานนท์ | จันทรา ปานขวัญ | ภาวินี เขตร์นนท์
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 57 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ Ter.63-02 นวัตกรรมการป้องกันตนเองของพืชเศรษฐกิจด้วยสาร allelochemical เพื่อเกษตรกรรมแบบยั่งยืน หัวเรื่อง: Tritrophic interaction | volatile organic compounds (VOCs) | แมลงศัตรูพืชสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Tritrophic interaction is the natural self-defensing mechanism for plants. Volatile organic compounds (VOCs) are released when plants are stress for insect pests natural enemies attraction. Since, the insect pests is a severe problem in mono cropping system, the mixed cropping relies on benefit obtaining from tritrophic interaction is the one of alternative cropping system for integrated pest control. The objective of this research project is cropping system development relies on benefit obtaining from tritrophic interaction. Chilli (Capsicum annuum L.) were used for the target crop in cropping system model. Marigold (Tagetes erecta L.) and Thai basil (Ocimum basilicum L.) were used for sub-target crop. Mint (Melissa officinalis L.) and Pak Paeo (Polygonum odoratum Lour.) were used for extra crop. VOCs in each model plants and diversity of insects in model plot were investigated. The results revealed that 13 groups of VOCs were found in five model plants. VOCs group proportion are individually different for each model plants. The high proportion of VOCs are Hydrocarbons, Diverse functional groups and Ketones. For study of insect diversity, The results showed that 16 family of insects were found in model plot. The highest population is Thripidae (31.20%) followed by Trichrogrammatidae (21.54%) Brachonidae (13.58%) Aphididae (12.68%) Eulophidae (7.68%) and Cicadellidae (5.60%) respectively. There are insect pest 49.80%, non- insect pest 6.63% and natural enemies 43.57%. In comparison, insect pests in mono cropping are more than natural enemies and tend to increase along the experimental time. On the other hand, mixed cropping can reduce the population of insect pests.สาระสังเขป: กระบวนการ tritrophic interaction ถือเป็นกลไกการป้องกันตนเองของพืชโดยธรรมชาติ เมื่อพืชเกิดสภาวะเครียดจะปลดปล่อยสาร volatile organic compounds (VOCs) เพื่อการดึงดูดศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ซึ่งแมลงศัตรูพืชถือเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งกระทบต่อกระบวนการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (mono cropping) หากเกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืช จะส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร การปลูกพืชแบบผสม (mixed cropping) ที่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จาก tritrophic interaction จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเพาะปลูกที่อาศัยพื้นฐานจาก Tritrophic interaction โดยการสร้างต้นแบบระบบการปลูกพืชที่อาศัยหลักการ Tritrophic interaction มีพริกเป็นพืชหลัก ดาวเรืองและโหระพาเป็นพืชรอง และสะระแหน่กับผักแพวเป็นพืชเสริม ทำการศึกษาชนิดของสาร VOCs ที่พบในพืชต้นแบบและศึกษาความหลากหลายของแมลงที่พบในแปลงทดสอบ พบว่า มีสาร VOCs จำนวน 13 กลุ่มในพืชต้นแบบทั้ง 5 ชนิด โดยพืชแต่ละชนิดจะพบชนิดและสัดส่วนของสารแตกต่างกัน ซึ่งสารกลุ่มที่พบมากที่สุด ได้แก่ Hydrocarbons, Diverse functional groups และ Ketones และจากการศึกษาความหลากหลายของแมลง พบว่า ในแปลงทดลองพบแมลงทั้งหมด 16 วงศ์ วงศ์ Thripidae เป็นวงศ์ที่พบว่ามีจำนวนมากที่สุดถึง 31.20 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ วงศ์ Trichrogrammatidae 21.54เปอร์เซ็นต์ วงศ์ Brachonidae 13.58 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ Aphididae 12.68 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ Eulophidae 7.68 เปอร์เซ็นต์ และ Cicadellidae 5.60 เปอร์เซ็นต์ โดยจำแนกตามประเภทได้เป็นแมลงศัตรูพืชสัดส่วน 49.80 เปอร์เซ็นต์ แมลงที่ไม่เป็นศัตรูพืชสัดส่วน 6.63 เปอร์เซ็นต์ และแมลงศัตรูธรรมชาติมีสัดส่วน 43.57 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติ พบว่า การปลูกเชิงเดี่ยวส่งผลให้สัดส่วนของแมลงศัตรูพืชมีมากกว่าแมลงศัตรูธรรมชาติและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในการทดลอง ส่วนการปลูกพืชแบบผสมช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูธรรมชาติได้
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300