การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase และฤทธิ์ในการขับกรดยูริกของสารสกัดกลุ่มฟีนอลิกจากผักและผลไม้ไทย = Inhibition of xanthine oxidase activity and uricosuric effects of phenolic compounds from thai fruit and vegetable / Waraporn Kasekarn [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Waraporn Kasekarn
ผู้แต่งร่วม: Waraporn Kasekarn | Sinee Siricoon | Bundit Fungsin | วราภรณ์ เกษกาญจน์ | สินี ศิริคูณ | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์
BCG: สารสกัด TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 72 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-13 ฤทธิ์ของสารสกัดจากฐานชีวภาพของไทยต่อการเสริมสร้างกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย ในระดับหลอดทดลอง หัวเรื่อง: โรคเกาต์ | กรดยูริก | การเสริมสร้างกระดูกและข้อสาระสังเขป: Gout is an inflammatory arthritis caused by elevated levels of uric acid in the blood, leading to the formation of monosodium urate crystals in the joints. Hyperuricemia, often resulting from excessive urate production or insufficient uric acid excretion, is the underlying cause. Xanthine oxidase, an enzyme involved in purine degradation, plays a crucial role by converting hypoxanthine to xanthine and ultimately to uric acid. Certain Thai vegetable and fruit extracts contain phytochemical compounds with various pharmacological properties, including anti-inflammatory and antioxidant effects. The objective of this study was to investigate the effects of six Thai vegetable and fruit extracts on the inhibition of xanthine oxidase activity and the gene expression of urate transporters. The extracts examined included Pandanus amaryllifolius Roxb. leaves, Aegle marmelos fruits, Morinda citrifolia L. fruits, Hibiscus sabdariffa fruits, Averrhoa carambola fruits, and Aloe vera gel. Both water and ethanol extracts at different concentrations were evaluated for their inhibitory efficacy on xanthine oxidase activity, and the 50% inhibitory concentration (IC50) values were compared. The results indicated that ethanol extracts exhibited higher inhibitory potential compared to water extracts. The most potent inhibitors were the ethanol extracts of Aegle marmelos fruits, Pandanus amaryllifolius Roxb. leaves, Morinda citrifolia L. fruits, and Hibiscus sabdariffa fruits, respectively. Cell viability tests using MTT assay revealed that ethanolic extracts at concentrations ranging from 0.19 to 24 µg/ml had no cytotoxic effects on human kidney 2 cells (HK-2 cells) after 24, 48, 72, and 96 hours of exposure. Gene expression analysis of urate transporters in HK-2 cells demonstrated that the extracts of Pandanus amaryllifolius Roxb. leaves, Hibiscus sabdariffa fruits, and Morinda citrifolia L. fruits significantly upregulated the expression of ABCG2, NTP1, and MRP4 genes, which are involved in uric acid secretion transporters, at the highest concentration of 12 µg/ml. In summary, the ethanolic extract from Pandanus amaryllifolius Roxb. leaves exhibited the most potent xanthine oxidase inhibition and upregulated the gene expression of uric acid secretion transporters. These findings may contribute to the development of supplementary products for the prevention or treatment of hyperuricemia and gout.สาระสังเขป: โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นผลจากระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาก จนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือโมโนโซเดียม ยูเรตบริเวณข้อ ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นผลมาจากการสร้างกรดยูริกที่มากเกินไป และส่วนใหญ่เป็นผลมาจากประสิทธิภาพการขับกรดยูริกที่ลดลง เอนไซม์แซนทีนออกซิเดสในวิถีการสลายพิวรีนมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิริยาการออกซิเดชันของไฮโปแซนทีนและแซนทีนเป็นกรดยูริกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย สารสกัดบางชนิดจากผักและผลไม้ไทยพบว่า ประกอบด้วยสารพฤกษเคมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดีต่อร่างกาย เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาผลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แซนทีน ออกซิเดส และการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องการขนส่งกรดยูริกของสารสกัดผักผลไม้ของไทย 6 ชนิด ประกอบด้วยสารสกัดจากใบเตย มะตูม ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง มะเฟือง และเนื้อว่านหางจระเข้ ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส โดยการเปรียบเทียบค่า 50% inhibitiory concentration (IC50) พบว่า สารสกัดจากเอทานอลมีความสามารถในการยับยั้งได้สูงกว่าสารสกัดจากน้ำ โดยสารสกัดจากเอทานอลที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ดีที่สุด ได้แก่ สารสกัดจากมะตูม ใบเตย ลูกยอ และกระเจี๊ยบแดง ตามลำดับ ผลการทดสอบอัตราการอยู่รอดของเซลล์ด้วยสารสกัดจากเอทานอลด้วยเทคนิค MTT assay พบว่า ความเข้มข้นที่ 0.19-24 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ท่อไตของมนูษย์ชนิด HK-2 เป็นระยะเวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง ผลการศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งกรดยูริกจากสารสกัดเอทานอลจากผักและผลไม้ไทย 4 ชนิด ต่อเซลล์ท่อไตของมนุษย์ชนิด HK-2 พบว่า สารสกัดจากใบเตย กระเจี๊ยบแดง และลูกยอ สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีน ABCG2, NTP1 และ MRP4 ที่ความเข้มข้น 12 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ได้สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการขับกรดยูริก จึงสรุปได้ว่า สารสกัดเอทานอลจากใบเตย มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส และเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการขับกรดยูริกออกจากเซลล์ไตของมนุษย์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ข้อมูลที่ได้รับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและรักษาโรคเกาต์ต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300