นวัตกรรมการสกัดไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ในการแปรรูปปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยสำหรับภาวะข้อเสื่อม = Innovative extraction techniques hydrolyzed collagen from freshwater fish and amphidromous fish by products for osteoarthritis / Wiriyaporn Sumsakul [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Wiriyaporn Sumsakul
ผู้แต่งร่วม: Wiriyaporn Sumsakul | Sinee Siricoon | Waraporn Sorndech | Chiramet Auranwiwat | Krittalak Pasakawee | Thongkorn Ploypetchara | Siriporn Butseekhot | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล | สินี ศิริคูณ | วราภรณ์ ศรเดช | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์ | กฤตลักษณ์ ปะสะกวี | ทองกร พลอยเพชรา | ศิริพร บุตรสีโคตร
BCG: สารสกัด TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 64 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-12 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชและของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการแปรรูปปลาเพื่อเสริมสร้างระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย หัวเรื่อง: เกล็ดปลา | คอลลาเจน | กรดแอมิโนสาระสังเขป: The primary components of fish scales consist of protein and ash. To obtain fish scales with a high protein content, a decalcification process was investigated. The results revealed that the ash content of decalcified fish scales was less than 0.5% (dry basis) when treated with 1.2 N HCl for 6 hours. The decalcified fish scales underwent collagen extraction through two consecutive steps: an acid process followed by acid combined with Protease P "Amano" 6SD. The impact of enzyme concentration and extraction time on the process was examined. The optimal conditions for collagen extraction from different fish scales were found to be soaking the scales in 0.5 N acetic acid at room temperature for 72 hours, followed by drying with a spray dryer. Sea bass scales yielded collagen with the highest protein content (99.48±0.34%) and collagen yield (1.52±0.33% based on dry weight). SDSPAGE analysis of collagen extracted solely through acid extraction indicated the presence of type I collagen, composed of β, α1, and α2 subunits. Furthermore, the optimal conditions for hydrolyzed collagen extraction from sea bass scales, following the acid process, involved treatment with Protease P "Amano" 6SD at 1.0% (w/w) at 45°C, pH 7 for 90 minutes, followed by drying with a spray dryer. The resulting hydrolyzed collagen exhibited a degree of hydrolysis of approximately 84.05±2.07%. To enhance the properties of the hydrolyzed collagen from sea bass scales, an encapsulation technique using maltodextrin and subsequent drying with a spray dryer was employed. The hydrolyzed collagen powder obtained from sea bass scales exhibited a protein content of 93.77±0.23% and collagen yield of 4.79±0.86% (dry weight). The chemical composition of the hydrolyzed collagen from sea bass scales comprised 0.02% ash, 3.38% carbohydrates, < 0.01% fat, 93.24% protein, and 3.36% moisture content (dry weight). Collagen primarily contains specific amino acids such as glycine, proline, and hydroxyproline, with the total proportion of these three amino acids being approximately 41.09%.สาระสังเขป: เกล็ดปลาชนิดต่างๆ มักมีองค์ประกอบหลักคือ โปรตีน และเถ้า เพื่อให้ได้เกล็ดปลาที่มีปริมาณโปรตีนสูง จึงทำการศึกษาหาวิธีการกําจัดแคลเซียม และพบว่าการแช่เกล็ดปลาใน 1.2 นอร์แมล HCl เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะทำให้มีปริมาณเถ้าที่เหลืออยู่ในเกล็ดปลาน้อยกว่า 0.5% ของน้ำหนักแห้ง นําเกล็ดปลาที่กําจัดเถ้าแล้วนำมาศึกษาขั้นตอนการสกัดคอลลาเจน ซึ่งประกอบด้วยการสกัด 2 ขั้นตอน คือ การสกัดด้วยกรด และการสกัดด้วยกรดร่วมกับการใช้เอนไซม์ Protease P “Amano” 6SD โดยศึกษาผลของความเข้มข้นของเอนไซม์ที่ใช้และระยะเวลาในการสกัด พบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลาชนิดต่างๆ คือการสกัดด้วย 0.5 นอร์แมล Acetic acid ที่ระยะเวลา 72 ชั่วโมง และทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยคอลลาเจนที่สกัดจากเกล็ดปลากะพงขาวมีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนสูงที่สุดคือ 99.48±0.34% จะได้ปริมาณคอลลาเจนถึง 1.52±0.33% ซึ่งผล SDS-PAGE ของคอลลาเจนจากเกล็ดปลาทั้ง 3 ชนิด ด้วยกรดแสดงให้เห็นว่าเป็นคอลลาเจน type I ซึ่งมีองค์ประกอบของหน่วยย่อย β, α1 และ α2 นอกจากนี้ผลจากการศึกษาการ สกัดไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาว ด้วย Acetic acid ร่วมกับการใช้เอนไซม์ Protease P “Amano” 6SD พบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวคือ ใช้เอนไซม์ Protease P “Amano” 6SD ที่ความเข้มข้นของเอนไซม์ 1.0% ต่อวัตถุดิบ (น้ำหนักต่อน้ำหนัก) และบ่มนาน 90 นาที อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส pH 7 โดยมีระดับการย่อยสลาย 84.05±2.07% และเมื่อนำสารสกัดไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวไปปรับปรุงคุณสมบัติของคอลลาเจน พบว่าผงไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวที่ถูกปรับปรุงคุณสมบัติโดยเทคนิคเอนแคปซูเลชันด้วยมอลโทเดกซ์ทรินและทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย มีปริมาณโปรตีน 93.77±0.23% และคำนวณหาปริมาณผลผลิตของผงไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวที่สกัดได้คือ 4.79±0.86% ซึ่งองค์ประกอบทางเคมีของผงไฮโดร-ไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวนี้มีปริมาณเถ้าอยู่ 0.02% มีคาร์โบไฮเดรต 3.38% มีไขมันอยู่น้อยกว่า 0.01% มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ 93.24% และมีความชื้น 3.36% โดยไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวนี้มีขนาดโมเลกุลตั้งแต่ประมาณ 20 กิโลดอลตัน จนถึงเล็กกว่า 6.5 กิโลดอลตัน และกรดแอมิโนที่พบใน ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนนี้ประกอบด้วยกรดแอมิโน 20 ชนิด และมีกรดแอมิโนที่แสดงถึงความเป็นคอลลาเจน ได้แก่ ไกลซีน โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน รวมมีสัดส่วนของกรดแอมิโน 3 ชนิดนี้ ประมาณ 41.09%.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300