นวัตกรรมการพัฒนาสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์และไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในพืชเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก = Innovative development of bioactive polysaccharides and glycosides from plant to strengthen bone mass / Waraporn Sorndech [et al.]

โดย: Waraporn Sorndech
ผู้แต่งร่วม: Waraporn Sorndech | Thongkorn Ploypetchara | Chiramet Auranwiwat | Wiriyaporn Sumsakul | Sinee Siricoon | Siriporn Butseekhot | วราภรณ์ ศรเดช | ทองกร พลอยเพชรา | จิรเมธ อุฬารวิวัฒน์ | วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล | สินี ศิริคูณ | ศิริพร บุตรศรีโคตร
BCG: สารสกัด TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 137 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-12 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดและปรับปรุงประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชและของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการแปรรูปปลาเพื่อเสริมสร้างระบบกระดูกและข้อสำหรับสังคมก่อนและสูงวัย หัวเรื่อง: ว่านหางจระเข้ | ใบยอ | พอลิแซ็กคาไรด์สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Aloe vera is a well-known medicinal plant used for various diseases. New research showed that Aloe vera extract can promote osteoblast differentiation in human fetal osteoblast cells, potentially making it a functional ingredient for boosting bone mass. This study aimed to compare the effect of extraction methods (enzymatic, traditional fermentation, or maceration) on polysaccharides from Aloe vera and Noni, and to examine the impact of encapsulation materials on encapsulation efficiency of the bioactive polysaccharides. The results showed that using cellulase and hemicellulase enzymes resulted in high levels of bioactive polysaccharides. The extraction of polysaccharides from Aloe vera and Noni leaves using hemicellulase was more effective in extracting polysaccharides with antioxidant activity compared to maceration extraction. Hemicellulase extraction of bioactive polysaccharides from Aloe vera had an antioxidant value of 86.49 mg TEAC g-1, while cellulase extraction of bioactive polysaccharides from Noni leaves had an antioxidant value of 92.83 mg TEAC g-1. Maceration extraction of polysaccharides from Aloe vera and Noni leaves had antioxidant values of 51.61 and 72.30 mg TEAC g-1, respectively. However, maceration extraction had the highest yield and lowest production cost. This study also aimed to examine the effect of encapsulation wall-materials on the encapsulation properties and digestibility of Aloe vera and Noni leaves extracts (2.0% wv-1). Polysaccharide extracts obtained through maceration were selected for further experiments. The extracts were encapsulated with 7.5% maltodextrin (MD), 7.5% gum arabic (GA), and their combinations (5% MD + 2.5% GA and 2.5% MD + 5% GA) at 50°C or 70°C for 16 hours using either a hot air oven or a freeze dryer." The results of the encapsulation efficiency showed that increasing the GA content improved encapsulation efficiency compared to using MD alone. The highest EE was obtained using GA only as the wall-material, while the lowest EE was achieved using MD only. The encapsulated extract had a yellowish color which increased with increased GA content, as indicated by an increase in the positive b* value. For Noni leaves extract, an increase in GA content resulted in an increase in the L* value. The encapsulated microstructure of all samples had a smooth surface and angular, fragmented structures, suggesting that the encapsulated structure broke down during drying. The results showed a significant positive correlation between increased GA content and increased antioxidant activity. Furthermore, increasing the GA content as a wall-material also reduced the release of reducing sugars following hydrolysis by porcine pancreatic α-amylase, pepsin, pancreatin, and glucoamylase, extending the release of bioactive compounds during digestion. These findings provide a deeper understanding of encapsulated bioactive compound delivery and the impact of encapsulation wall-materials and Aloe vera extract on encapsulated physicochemical properties and digestibility. All in all, future research should investigate the interaction between bioactive compounds and wall materials to control and target delivery for optimal release of bioactive compounds. This will play a crucial role in the advancement of personalized diets.สาระสังเขป: ว่านหางจระเข้และใบยอเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการใช้รักษาโรคต่างๆ ผลการวิจัยล่าสุด พบว่า สารสกัดว่านหางจระเข้และสารสกัดใบยอมีกลุ่มสารสำคัญชนิดพอลิแซ็กคาไรด์ที่ถูกพิสูจน์ว่าก่อให้เกิดฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) ในการเสริมสร้างมวลกระดูกได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสภาวะการสกัดสารสำคัญชนิดพอลิแซ็กคาไรด์จากว่านหางจระเข้และยอโดยวิธีการทางเอนไซม์เปรียบเทียบกับวิธีการแช่หมักซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิม และศึกษาอิทธิพลของสารห่อหุ้มต่อประสิทธิภาพในการกักเก็บพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากว่านหางจระเข้และยอ ผลการศึกษาพบว่าวิธีการใช้เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase) และเฮมิเซลลูเลส (Hemicellulase) สกัดว่านหางจระเข้และใบยอมีประสิทธิภาพในการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าการสกัดโดยวิธีการแช่หมัก (Maceration) โดยเอนไซม์เฮมิเซลลูเลสสามารถสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากว่านหางจระเข้ที่ให้ค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 86.49 มิลลิกรัม TEAC ต่อกรัม (Trolocks equivalent antioxidant capacity, TEAC) ในขณะที่เอนไซม์เซลลูเลสสามารถสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากใบยอที่ให้ค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 92.83 มิลลิกรัม TEAC ต่อกรัม เมื่อทดสอบด้วยวิธีดีพีพีเอช (2,2-diphenyl-1-picryl-hydrazyl-hydrate, DPPH) ในขณะที่การสกัดด้วยวิธีการแช่หมักสามารถสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากว่านหางจระเข้และใบยอที่ให้ค่าการต้านอนุมูลอิสระ 51.61 และ 72.30 มิลลิกรัม TEAC ต่อกรัม ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณผลผลิตแล้วพบว่าการสกัดด้วยน้ำให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุดและมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด จึงเลือกสารสกัด พอลิแซ็กคาไรด์จากการสกัดด้วยการแช่หมักมาทำการทดลองในขั้นต่อมา เมื่อนำสารสกัดพอลิแซ็ก-คาไรด์จากว่านหางจระเข้และยอดังกล่าวมาปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ โดยทำการศึกษา คุณสมบัติส่วนประกอบของสารห่อหุ้ม และการถูกปลดปล่อยในระบบทางเดินอาหารจำลองของสารสกัดว่านหางจระเข้ เตรียมตัวอย่างโดยใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ (ร้อยละ 2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ห่อหุ้มด้วยสารห่อหุ้มดังนี้ 1) มอลโทเดกซ์ทรินร้อยละ 7.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร 2) กัมอะราบิก ร้อยละ 7.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร 3) มอลโทเดกซ์ทริน ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ร่วมกับ กัมอะราบิก ร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และ 4) มอลโทเดกซ์ทริน ร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ร่วมกับกัมอะราบิก ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ทำแห้งโดยใช้ลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 16 ชั่วโมง และการทำแห้งแบบระเหิด (freeze dry) ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มปริมาณกัมอะราบิกที่ใช้เป็นสารห่อหุ้มสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บได้ดีกว่าการใช้มอลโทเดกซ์ทรินเพียงชนิดเดียว ซึ่งสารสกัดว่านหางจระเข้และใบยอที่ถูกห่อหุ้มด้วยกัมอะราบิกมีประสิทธิภาพการกักเก็บสูงที่สุด ในขณะที่สารสกัดว่านหางจระเข้และใบยอที่ห่อหุ้มด้วยมอลโทเดกซ์ทรินมีประสิทธิภาพการกักเก็บต่ำที่สุด เมื่อเพิ่มปริมาณกัมอะราบิก ส่งผลให้สารสกัดว่านหางจระเข้มีสีเหลืองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับค่าความเป็นสีเหลืองที่มีค่าสูงขึ้น และยังส่งผลให้สารสกัดใบยอมีสีอ่อนลง ซึ่งสอดคล้องกับค่าความสว่างที่มีค่าสูงขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างจุลภาคของสารสกัดที่ผ่านการห่อหุ้มแสดงให้เห็นการเกิดการแตกตัวในโครงสร้างหลังจากการทำแห้ง โดยลักษะโครงสร้างของไมโครแคปซูลมีพื้นผิวเรียบและกระจายตัวดี ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระพบว่าการเพิ่มปริมาณกัมอะราบิกเป็นสารห่อหุ้มสามารถเสริมฤทธิ์ให้กับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของว่านหางจระเข้และใบยอได้ การวิเคราะห์การปลดปล่อยน้ำตาลรีดิวซ์เมื่อผ่านการย่อยในหลอดทดลอง โดยจำลองสภาวะการย่อยของร่างกายพบว่าการเพิ่มปริมาณกัมอะราบิกยังสามารถลดการปล่อยน้ำตาลรีดิวซ์ได้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงการปลดปล่อยสารสำคัญได้ว่ากัมอะราบิกสามารถปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเข้าสู่ร่างกายได้อย่างช้าๆ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การเลือกสารห่อหุ้มสารสำคัญเพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตส่วนประกอบของอาหารฟังก์ชันและอาหารเฉพาะบุคคล.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300