การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสำคัญในอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติลดคอเลสเตอรอลจากเปลือกมันฝรั่งเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมโดยการใช้จุลินทรีย์ = Development of functional ingredients product regarding lowering blood cholesterol property from industrial potato peel waste by using microorganisms / Nuthathai Sutthiwong [et al.]

โดย: Nuthathai Sutthiwong
ผู้แต่งร่วม: Nuthathai Sutthiwong | Panida Banjongsinsiri | Pennapa Chonpathompikunlert | Supaporn Lekhavat | Piyada Sukdee | ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ | ปนิดา บรรจงสินศิริ | เพ็ญนภา ชลปฐมพิกุลเลิศ | สุภาภรณ์ เลขวัต | ปิยดา สุขดี
BCG: อาหาร TRM: อาหาร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-05, Sub Proj. no. 3; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 91 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-05 การวิจัยและพัฒนำนวัตกรรมสารสำคัญในอาหารจากธรรมชาติเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตและไขมันในเลือดสำหรับสังคมเข้าสู่ภาวะก่อนและสูงวัยหัวเรื่อง: อาหารฟังก์ชัน | มันฝรั่ง | คอเลสเตอรอลสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The objective of this research was to develop functional ingredients derived from by-products of potato processing in the industrial setting. Proximate analysis of potato peels revealed their moisture content to be 9.06%, with crude protein, crude lipid, crude fiber, nitrogen-free extract (NFE), ash, and energy constituting 1.17%, 0.07%, 6.30%, 7.35%, 0.47%, and 34.71% respectively. Fatty acids identified in potato peels included lauric acid (C12:0), myristic acid (C14:0), palmitic acid (C16:0), stearic acid (C18:0), oleic acid (C18:1), and linoleic acid (C18:2, n-6), which accounted for 1.64%, 2.04%, 38.33%, 14.65%, 27.25%, and 16.1% of the total fatty acids, respectively. The research investigated the impact of fermentation on the alteration of bioactive compounds in potato peels. Heat treatment with pressure and fermentation using Rhizopus oryzae resulted in changes in the content of two fatty acids and octacosanol. Furthermore, the analysis of fermented potato peels indicated a degradation of glycoalkaloids, as solanine and chaconine were not detected. The extraction of fermented potato peels using water as a solvent, assisted by ultrasonic techniques, exhibited no adverse effects on experimental animals during acute oral toxicity testing. The extract obtained from fermented potato peels, extracted with water and assisted by ultrasonic methods, demonstrated non-toxic effects on 3T3-L1 pre-adipocyte fat cells, as well as in vivo acute oral toxicity testing. Investigation into the effects of this extract on lipid/cholesterol-lowering activities revealed that it inhibited HMG-CoA reductase activity, reduced lipid droplet accumulation in 3T3-L1 fat cells, decreased weight in hypercholesterolemic animals, lowered triglyceride, cholesterol, LDL-C, and VLDL-C levels, and increased HDL-C levels. Particularly noteworthy were the results obtained from the group of animals that received 100 and 200 mg of aqueous fermented potato peel extract per kg of body weight per day. To assess the extract's shelf life, several indicators including water activity, moisture content, color value, pH, and inhibitory effect on HMG-CoA reductase activity were measured. The extract was stored in an aluminum foil pouch under normal conditions (room temperature) for 10 months, and minimal changes were observed in all indicator values during the observation period.สาระสังเขป: การวิจัยนี้มีวัตถุเพื่อพัฒนาสารอาหารฟังก์ชัน (functional ingredients) จากผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่ง. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกมันฝรั่งแสดงปริมาณความชื้น (moisture) โปรตีน (crude protein) ไขมัน (crude lipid) เยื่อใย (crude fiber) คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ (nitrogen free extract : NFE) เถ้า (ash) และพลังงาน (energy) เท่ากับ 9.06, 1.17, 0.07, 6.30, 7.35, 0.47 และ 34.71% ตามลำดับ. กรดไขมันที่พบในเปลือกมันฝรั่ง ประกอบด้วย กรดลอริก (Lauric acid C12:0), กรดไมริสติก (Myristic acid C14:0) กรดปาล์มิติก (Palmitic acid C16:0), กรดสเตียริก (Stearic acid C18:0), กรดโอเลอิก (Oleic acid C18:1) และกรดลิโนเลอิก (Linoleic acid C18:2, n-6) ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมดเท่ากับ 1.64, 2.04, 38.33, 14.65, 27.25 และ 16.1% ตามลำดับ. การศึกษาผลของการหมักต่อการเปลี่ยนแปลงของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกมันฝรั่ง พบว่าการเตรียมวัตถุดิบด้วยการให้ความร้อนร่วมกับความดันและการหมักเปลือกมันฝรั่งด้วยเชื้อ Rhizopus oryzae ส่งผลให้ปริมาณของกรดไขมัน 2 ชนิด และออคตะโคซอล เพิ่มสูงขึ้น. นอกจากนั้นยังพบการสลายตัวของสารกลุ่มไกลโคแอลคาลอยด์เนื่องจากไม่พบซาโลนีน (solanine) และชาโคนีน (chaconine) เมื่อตรวจวิเคราะห์เปลือกมันฝรั่งหมัก สารสกัดเปลือกมันฝรั่งที่ได้จากการสกัดเปลือกมันฝรั่งที่หมักด้วยเชื้อ R. oryzae แล้วสกัดด้วยน้ำโดยการใช้คลื่นอัลตราโซนิก ไม่พบความเป็นพิษเมื่อทดสอบกับเซลล์ไขมัน 3T3-L1 pre-adipocyte และความเป็นพิษแบบเฉียบพลันทางปากในสัตว์ทดลอง. การทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับลดระดับไขมัน/คอเลสเตอรอล พบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase, ลดปริมาณหยดไขมันเซลล์ (lipid droplets) ที่สะสมภายในเซลล์ไขมัน 3T3-L1, ช่วยลดน้ำหนักของสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง, ลดระดับไตรกลีเซอไรด์คอเลสเตอรอล ไขมัน LDL-C ไขมัน VLDL-C และเพิ่มปริมาณไขมันดี HDL-C โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของสัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดเปลือกมันฝรั่งหมักที่สกัดด้วยน้ำ เข้มข้น 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน. การศึกษาอายุการเก็บรักษาโดยมีตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินคุณสมบัติของสารสกัดจากกากน้ำตาล ได้แก่ แอกทิวิตีของน้ำ ความชื้น ค่าสี ความเป็นกรดด่าง และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase. การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลของตัวชี้วัดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเก็บรักษาสารสกัดจากกากน้ำตาลในบรรจุภัณฑ์แบบซองอะลูมิเนียมฟอยล์ สภาวะปกติ (อุณหภูมิห้อง) เป็นเวลา 10 เดือน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300