การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากมะหลอดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช = research and development of pesticides from bastard oleaster (elaeagnus latifolia l.) / Tanapak Inyod [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Tanapak Inyod
ผู้แต่งร่วม: Tanapak Inyod | Khanitha Chawananorasest | Thanapat Toemarrom | ธนภักษ์ อินยอด | ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์ | ธนภัทร เติมอารมย์
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: นวัตกรรมการเกษตร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 62-06, Sub Proj. no. 3; no. 1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 72 p. : ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-06 การพัฒนาและใช้ประโยชน์ไม้ผลพื้นบ้าน : มะหลอดเพื่อพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจหัวเรื่อง: มะหลอด | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู | ยาฆ่าแมลงแบบชีวภาพสาระสังเขป: Research and development on the use of indigenous fruit crops: Elaeagnus latifolia L. to control of Diamondback moth from the fruits extract. Three types of solvents were used; water, hexane and ethanol and various methods of extraction included water boiling at 60°C, immersion for 72 hours and distillation with soxhlet extractor. The efficiency of the extract effect to Diamondback moths was studied at concentrations of 1 to 5% for oral toxicity test and inhibiting growth were investigated on 3th instar larvae. Plant extract 1, 3, and 5% were prepared for antifeedant effect study. The results showed that the most effective in inhibiting growth of the extract were hexane at 5% by immersion with the mortality rate of the larva was 80%. Crude hexane extract at 3% by immersion method as a result, larva of Diamondback moth have the least eating area. On the other hand, crude ethanol extract from the Elaeagnus latifolia L. fruit at 5% by immersion method was the most effective in antifeedant effect with antifeedant Index (AFI) was 56.60%. The insecticidal properties of leaf and fruit bastard oleaster extracts against the nymph of mealybug (Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero) by using leaf dipping method. The different extracts as water extract by decoction method, ethanol and hexane extracts by percolation and soxhlet methods of bastard oleaster were applied with various concentrations; 0, 1, 2, 3, 4 and 5% (w/v), and imidacloprid insecticide used as positive control. The results showed that hexane extract from bastard oleaster leaf by soxhlet method was highly effective in killing the nymph of mealybug with the LC50 at 24 hrs for 4.76%. The leaf extracts showed higher toxicity against nymph of mealybug than that of fruit extracts with the LC50 at 24 hrs for 4.76-6.35 and 4.88-10.56%, respectively. All extracts of bastard oleaster at 5% concentrations were more effective against the nymph of mealybug than imidacloprid insecticide at 24 hrs. In addition, the fermented water from bastard oleaster, formula 3, consisting of white liquor, microbes and water using 3 kg of herbs, 35 degree of white liquor (630 ml), mixed with 10 liters of water, fermented for 1 month. The golden apple snail has the highest mortality rate at 100% at the concentration of 3: 100 from the first 24 hours and the 100% mortality rate at the concentration of 5: 100 from the first 12 hours. Therefore, extracts from this wild plant, bastard oleaster leave would be promoted and used as botanical insecticide in the future.สาระสังเขป: การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลไม้พื้นบ้าน: มะหลอด (Elaeagnus latifolia L.) เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการควบคุมแมลงศัตรูผัก ด้วยสารสกัดจากส่วนผลและใบของมะหลอด โดยใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เฮกเซน และเอทานอล และมีวิธีการสกัดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การต้มด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส การแช่เป็นเวลา 72 ชั่วโมง และการกลั่นด้วยชุดสกัดซ็อกเล็ท ทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดต่อหนอนใยผักโดยใช้ความเข้มข้นที่ 1-5% สำหรับศึกษาพื้นที่การกิน และการยับยั้งการเจริญเติบโต โดยการทดสอบการกินของหนอนวัยที่ 3 และใช้ความเข้มข้น 1, 3 และ 5% สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการกิน พบว่า สารสกัดที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตมากที่สุด คือสารสกัดหยาบเฮกเซน ความเข้มข้น 5% ด้วยวิธีการแช่ โดยมีอัตราการตายของหนอนใยผักเท่ากับ 80% และสารสกัดหยาบเฮกเซน ความเข้มข้น 3 % ด้วยวิธีการแช่ ส่งผลให้หนอนใยผักมีพื้นที่การกินน้อยที่สุด และสารสกัดหยาบเอทานอลจากส่วนของผลมะหลอด ที่ความเข้มข้น 5% ที่ได้จากวิธีการแช่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการกินมากที่สุด โดยมีค่าดัชนียับยั้งการกิน (AFI) เท่ากับ 56.60% การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบและผลของมะหลอด (Elaeagnus latifolia) ที่สกัดด้วยน้ำ เอทานอล และเฮกเซน โดยใช้วิธีการสกัดแบบวิธีการต้ม การแช่ และการใช้ soxhlet ต่อตัวอ่อนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (Phenacoccus manihoti) โดยวิธีการจุ่มใบในรูปของสารฆ่าและสารไล่ ที่ความเข้มข้น 1, 2, 3, 4 และ 5% และสารกำจัดแมลง imidacloprid ซึ่งเป็น positive control พบว่า สารสกัดจากใบมะหลอดที่สกัดด้วยเฮกเซนด้วยวิธีการสกัดแบบใช้ soxhlet สามารถฆ่าตัวเต็มอ่อนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้มากที่สุด โดยมีค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 4.76% โดยสารสกัดจากใบมะหลอดมีประสิทธิภาพในการฆ่าตัวอ่อนของเพลี้ยแป้ง สีชมพูมากกว่าสารสกัดจากผลของมะหลอด โดยมีค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 4.76-6.35 % และ 4.88-10.56 % ตามลำดับ สารสกัดจากมะหลอดที่ความเข้มข้น 4-5% มีประสิทธิภาพในการฆ่าตัวอ่อนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้มากกว่าสารฆ่าแมลง imidacloprid ที่ใช้ในอัตราคำแนะนำที่ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้น้ำหมักจากมะหลอดสูตรที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย เหล้าขาว จุลินทรีย์ และน้ำ โดยใช้สมุนไพร 3 กิโลกรัม เหล้าขาว 35 ดีกรี 1 ขวด (630 มิลลิลิตร) ผสมน้ำ 10 ลิตรหมัก 1 เดือน ทำให้หอยเชอรี่มีอัตราการตายสูงที่สุดถึง 100% ที่ความเข้มข้น 3 : 100 ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรก และมีอัตราการตาย 100% ในอัตราความเข้มข้น 5 : 100 ตั้งแต่ 12 ชั่วโมงแรก ดังนั้น สารสกัดจากพืชพื้นบ้านนี้ ควรจะถูกส่งเสริมและใช้เป็นยาฆ่าแมลงแบบชีวภาพในอนาคตต่อไป
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300