การวิจัยและพัฒนาอาหารหมักจุลินทรีย์โภชนะสูงสำหรับการเลี้ยงโคนม = Research and development of fermented food hightly nutrition for dairy cow farming / Rachain Visutthipat [et al.]

โดย: Rachain Visutthipat
ผู้แต่งร่วม: Rachain Visutthipat | Sayam Sinsawat | Siritham Singhtho, | Pathan Shotisawad | Suthirak Meeploi | Pariyada Visutthipat | ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ | สยาม สินสวัสดิ์ | ศิริธรรม สิงโต | ประธาน โพธิสวัสดิ์ | สุทธิรักษ์ มีพลอย | ปริยะดา วิสุทธิแพทย์
BCG: จุลินทรีย์ TRM: นวัตกรรมการเกษตร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-02, Sub Proj. no. 1; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 63 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.52-02 การวิจัยและพัฒนาอาหารหมักจุลินทรีย์โภชนะสูงสำหรับการเลี้ยงโคนมหัวเรื่อง: โคนม | จุลินทรีย์โภชนะสูง | อาหารหมักจุลินทรีย์สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Research and development project of high nutrition silage for dairy farming purposed to study roughage fermentation process was divided into four treatments as follows: firstly, straw with urea and molasses as a control method; secondly, corn stover ensiled with urea, molasses and cassava chips; thirdly, corn stover ensiled with urea, molasses and cracked corn and finally, corn stover mixed with urea, molasses and cassava hay (dried tops and leaves). The results showed that the fourth treatment was a good nutritional quality equivalent to the second and the third treatments. Therefore, the fourth treatment was chosen for the production of total mixed ration due to low production costs. The experiments were conducted to determine the effects of using corn stover ensiled with urea, molasses and cassava hay composed of dried tops and leaves used in total mixed ration (TMR) on milk production of lactating cows. Twenty of 75% crossbred of Holstein Friesian cows were randomly milked according to lactation period and average milk yield per day into 2 groups with 4 replicates. Group 1; the cows were fed with roughage (dried ruzi grass) and supplemented with concentrated 14% protein at the rate of 1 kilogram per 2 kilogram of milk yield while Group 2 were supplied with TMR at the approximate rate of 3.5% of body weight per day, four times a day. The cows were fed individually during 120 days of testing. The results showed that total mix ratio could be used for milking cows because of no significant difference (P > 0.05) between 2 groups in terms of total dry matter feed intake, milk yield at 4% FCM, feed conversion ratio, milk qualities and also feed cost per kilogram of mild yield at 4% FCM. The profit from 1 kilogram of milk price (detected only feed cost) of the group fed with TMR was higher than the group fed with roughage and concentrated supplement (8.66 and 9.00 baht/kg, respectively) (P<0.05).สาระสังเขป: โครงการการวิจัยและพัฒนาอาหารหมักจุลินทรีย์โภชนะสูงสำหรับการเลี้ยงโคนม ทำการศึกษาอาหารหยาบหมักแบ่งเป็น 4 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ฟางหมักร่วมกับยูเรียและกากน้ำตาลเป็นชุดควบคุม, กรรมวิธีที่ 2 ต้นข้าวโพดอาหารสัตว์หมักร่วมกับ ยูเรีย กากน้ำตาล และมันเส้น, กรรมวิธีที่ 3 ต้นข้าวโพดหมักร่วมกับยูเรีย กากน้ำตาล และข้าวโพดบด และกรรมวิธีที่ 4 ต้นข้าวโพดหมักร่วมกับยูเรีย กากน้ำตาลและยอดและใบมันสำปะหลังแห้ง พบว่า กรรมวิธีที่ 4 ให้ค่าต่างๆ ทางโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ดีเทียบเท่ากับกรรมวิธีที่ 2 และ 3 จึงได้เลือกกรรมวิธีที่ 4 เป็นองค์ประกอบในการผลิตอาหารผสมเสร็จ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด การศึกษาอาหารผสมเสร็จ (TMR) เพื่อนำไปเลี้ยงโครีดนม ดำเนินการโดยใช้โครีดนมพันธุ์ผสมขาวดำ ระดับสายเลือด 75 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จำนวน 20 ตัว ที่ให้นมในระยะและช่วงการให้นมเดียวกัน มีปริมาณน้ำนมเฉลี่ยใกล้เคียงกัน สุ่มเข้าทดลองตามแบบ Group Comparison มี 10 ซ้ำ จำนวน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ให้อาหารแบบแยกระหว่างอาหารหยาบและอาหารข้น โดยให้กินหญ้ารูซี่แห้งเต็มที่ เสริมด้วยอาหารข้นโปรตีน 14 เปอร์เซ็นต์ ในสัดส่วนน้ำนม : อาหารข้น เท่ากับ 2 : 1 กลุ่มที่ 2 ให้อาหารผสมเสร็จ เต็มที่ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 4 มื้อ เลี้ยงทดลองในคอกขังเดียวใช้เวลาทดลอง 120 วัน ผลการทดลองพบว่า สามารถใช้อาหารผสมเสร็จที่มีส่วนของต้นข้าวโพดอาหารสัตว์ร่วมกับยอดและใบมันสำปะหลังแห้งเป็นส่วนผสมได้โดยไม่มีผลกระทบ (p>0.05) ต่อปริมารอาหารที่กิน โดยปริมาณผลผลิตน้ำนมปรับที่ไขมัน 4 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้อาหารหยาบและอาหารข้นแบบแยกให้ นอกจากนั้น ยังพบว่ารายได้จากน้ำนมที่ปรับไขมัน 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหักค่าอาหารแล้ว กลุ่มที่ใช้อาหารผสมเสร็จมีค่า 8.66 บาท/กิโลกรัม สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารหยาบและอาหารข้นแบบแยกให้ที่ 9.00 บาท/กิโลกรัม ที่ระดับนัยสำคัญ 95 เปอร์เซ็นต์
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300