การวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์ในการคลายเครียดจากพืชและสมุนไพรไทย = Research and development of active ingredients from thai plants and herbs / Nuthathai Sutthiwong [et al.]

โดย: Nuthathai Sutthiwong
ผู้แต่งร่วม: Nuthathai Sutthiwong | Ratana Tantisiriwit | Prasit Bumrungsook | Rungthip Gingkam | Napassawan Sunthorn | ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ | รัตนา ตันติศิริวิทย์ | ประสิทธิ์ บำรุงสุข | รุ่งทิพย์ กิ่งคำ | นภัสวรรณ สุนทร
BCG: สมุนไพร TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. no. 60-25, Sub Proj. no. 1; no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2024 รายละเอียดตัวเล่ม: 56 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.60-25 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติเพื่อคลายเครียดจากแหล่งพืชและสมุนไพรไทยหัวเรื่อง: เมลาโทนิน | สมุนไพร | เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC-UV)สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Melatonin has recently been found in several plant tissues. Several reports show that the majority of herbs containing high level of melatonin have been used traditionally to treat diseases associated with the generation of free radicals or neurological disorders. The current study was undertaken to screen some natural materials consisting of cereals, vegetables, fruits, macroalgae and herbs with historical evidence of efficacy in the treatment of neurological disorders and antioxidant deficiency related to their melatonin content. Samples were extracted with either water, ethanol or methanol, and then analyzed for melatonin using high performance liquid chromatography with ultraviolet detector (HPLC-UV). Results showed that soy beans, green beans and riceberry had the highest melatonin content in a group containing cereals, vegetables, and fruits. Hydrilla verticillata (L.f.) Royle., Caulerpa lentillifera J. Agardh and Acanthophora spicifera (Vahl) Børgesen) were found to be good sources of melatonin in the macroalgae group while the highest yield of melatonin was detected from Senna siamea and Andrographis paniculata leaves. From this data, soy beans was selected to be used for the following experiments due to its broad availability. Several extraction methods were carried out in order to obtain the optimal extraction method of melatonin in higher plant material which is more complex. Although the supercritical CO(2) extraction was able to extract the highest melatonin yield, the first round of the extraction yielded only oil, which rendered a re-extraction with 50% ethanol as a co-solvent necessary. Therefore, the autoclave-assisted extraction using water as the sole solvent was to play a significant role for the extraction of melatonin when compared with the supercritical CO(2), ultrasound-, microwave-assisted extractionสาระสังเขป: เมลาโทนินถูกค้นพบในเนื้อเยื่อพืชหลายชนิดเมื่อไม่นานมานี้ รายงานหลายฉบับแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรส่วนใหญ่ที่มีระดับเมลาโทนินสูง ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอนุมูลอิสระหรือความผิดปกติทางระบบประสาท การศึกษาครั้งนี้ ได้ดำเนินการเพื่อคัดเลือกวัตถุดิบธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย ธัญพืช ผัก ผลไม้สาหร่ายทะเล และสมุนไพร ที่มีการ กล่าวอ้างว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาความผิดปกติของระบบประสาท และการขาดสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเกี่ยวของกับปริมาณเมลาโทนินในพืชนั้นๆ ตัวอย่างถูกสกัดด้วยน้ำ เอทานอล หรือเมทานอล แล้ววิเคราะห์ปริมาณเมลาโทนินโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC-UV) ผลการศึกษา พบว่าถั่วเหลือง ถั่วเขียว และ ข้าวไรซ์เบอรี่ มีปริมาณเมลาโทนินสูงสุด ตามลำดับ ในกลุ่มที่ประกอบด้วยธัญพืช ผัก และผลไม้ สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata (L.f. ) Royle) สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera J. Agardh) และสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera (Vahl) Børgesen)) ถูกพบว่าเป็นแหล่งที่ดีของเมลาโทนินในกลุ่มของสาหร่ายทะเล ขณะที่มีการตรวจพบเมลาโทนินที่ปริมาณสูงสุดจากใบขี้เหล็ก (Senna siamea) และใบฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) จากข้อมูลนี้จึงเลือก ถั่วเหลือง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการศึกษาขั้นต่อไป เนื่องจากหาได้ทั่วไป ทำการศึกษาวิธีสกัดด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้วิธีการสกัดที่ดีในการสกัดเมลาโทนินในตัวอย่างพืชชั้นสูงซึ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าการสกัดดัวย supercritical CO(2) สามารถสกัดสารเมลาโทนินได้ปริมาณสูงที่สุด แต่พบว่าผลผลิตที่ได้จากการสกัดครั้งแรกมีเพียงน้ำมันเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องใช้ 50 เปอร์เซ็นต์เอทานอล เป็นตัวทำละลายร่วมในการสกัดอีกครั้ง ดังนั้น การสกัดด้วยการใช้ Autoclave โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเพียงอย่างเดียว จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการสกัดเมลาโทนิน เมื่อเปรียบเทียบกับการสกัดด้วย Supercritical CO(2) คลื่นอัลตราโซนิกส์ และคลื่นไมโครเวฟ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300