การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์จากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรเพื่อลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ = Research and development of innovative nutraceutical products from pigments in herbal plants for lower osteoporosis risk in elderly adults / Sareeya Reungpatthanaphong [et al.]

โดย: Sareeya Reungpatthanaphong
ผู้แต่งร่วม: Sareeya Reungpatthanaphong | Somkamol Intawong | Sitthiphong Soradech | Pattravee Thong-on | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | สมกมล อินทวงค์ | สิทธิพงศ์ สรเดช | ภัทราวีร์ ทองอ่อน
BCG: สมุนไพร TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-04, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 174 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-04 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เสริมสุขภาพและชะลอวัยสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรสู่ประเทศไทย 4.0หัวเรื่อง: เภสัชโภชนภัณฑ์ | ข้าวไรซ์เบอร์รี | เทคโนโลยีนาโนทรานซ์เอทโธโซม (TENs)สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: This work was carried out with the aimed to develop the extraction of riceberry rice (Oryza sativa L.) loaded Transethosome nanoparticles (TENs), serving as the potential active ingredient to achieve the antioxidant activity, inhibition of osteoclast differentiation in macrophage RAW 264.7 cell line, alkaline phosphatase and calcium deposition assay in osteoblast cell line (MC3T3-E1). The riceberry rice was milled and extracted with 70% ethanol. The extraction was done in a shaker of 150 rpm at 45oC for 3 h and filtered with filter paper. The solvent was evaporated with vacuum rotary evaporation. The crude extract was determined total phenolic and total flavonoid content. The effect of riceberry rice extract on antioxidant activity, inhibition of osteoclast differentiation, ALP and calcium deposition assay were investigated. The toxicity of riceberry rice extract was studied in both in vitro and in vivo. The results demonstrated that riceberry rice extract showed the strongest antioxidant activities in DPPH, ABTS and FRAP value, which were EC50 of 194.17 ± 17.83 µg/mL, EC50 of 60.52 ± 2.83 µg/mL and value of 469.31 ± 14.59 µM /mg, respectively. It did not show cytotoxicity in MC3T3-E1 cell line at the concentration lower than 10-3 g/mL. In addition, it did not show toxic signs and symptoms in female rats at a dose of 2,000 mg/kg BW. It showed the 24% and 30.6% inhibition of osteoclast differentiation in cell line at the concentration of 40 and 80 ng/mL, respectively. Furthermore, at the concentration 100 µg/mL, it showed clearly increased ALP activity and calcium content in MC3T3-E1 cell line. However, the use of riceberry rice extract is limited due to its low stability from its decomposition under light, heat, and oxygen. In order to overcome this drawback, it was encapsulated within TENs which were prepared using High Speed Homogenization at 8,000 rpm containing 35% riceberry rice extract loading in TENs. The result of the physical stabilities after accelerated conditions of the formulations indicated that a thermodynamically stable of TENs size could improve its physical stability. The stability of riceberry rice-TENs can be evaluated by measuring their physical changes, such as PDI, particle size, moist content, color, odor, %Brix, sedimentation and texture during storage after 1 and 3 months for nanoparticles and product prototype, respectively. The physical appearance and stability of the riceberry rice was prolonged under loading into TENs. The cytotoxicity test of TENs had no toxic effects on the mouse dermal fibroblast (L929) and there was no acute oral toxicity of TENs at a dose of 5,000 mg/kg BW in rats. The use of nanotechnology as a delivery system of riceberry rice served to improve the physical and chemical stability of the natural extracted for use as an active ingredient in dietary supplement formulations. In conclusion, ethanolic extraction of riceberry rice exhibited several biological effects that could be used as a potential active ingredient for dietary supplement products, due to its antioxidant, inhibition of osteoclast differentiation, ALP and calcium deposition stimulating activities. Riceberry rice extract-loaded TENs can entrap the active ingredient inside and assist in controlling the release in time-dependent manner. Our findings provide potential uses of riceberry rice as a multifunctional nutraceutical ingredient to be further explored in future studies.สาระสังเขป: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์จากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรเพื่อลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการคัดเลือกพืชที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์มาวิจัยในโครงการ นำข้าวไรซ์เบอร์รีมาสกัดด้วยวิธีแช่หมัก (maceration) โดยใช้เอทานอล ร้อยละ 70 เพื่อทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์การต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเซลล์สลายกระดูกในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW 264.7 ฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ alkaline phosphatase และฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเซลล์สร้างกระดูก (MC3T3-E1) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีในเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลอง ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดข้าวไรซ์เบอรีมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือ มีค่า EC50 เท่ากับ 194.17 ± 17.83 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร, 60.52 ± 2.83 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า FRAP value เท่ากับ 469.31 ± 14.59 ไมโครโมลาร์ต่อมิลลิกรัม เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP ตามลำดับ สารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีที่ความเข้มข้นน้อยกว่า 10-3 กรัมต่อมิลลิลิตร ไม่เป็นพิษต่อเซลล์สร้างกระดูก ยิ่งกว่านั้นสารสกัดที่ขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัว ไม่เป็นพิษในหนูเพศเมีย สารสกัดที่ความเข้มข้น 40 และ 80 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์สลายกระดูกได้ร้อยละ 24 และ 30.6 ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ alkaline phosphatase และกระตุ้นการเจริญของเซลล์สร้างกระดูกได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีก็มีข้อจำกัดบางประการเนื่องจากมีความคงตัวต่ำ จากการสลายตัวภายใต้แสง ความร้อน และออกซิเจน ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ทำการกักเก็บสารสำคัญจากสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีด้วยเทคโนโลยีนาโนทรานซ์เอทโธโซม (TENs) ซึ่งอนุภาคนาโนได้มาจากการเตรียมด้วยวิธีการปั่นด้วยความเร็วสูง 8,000 รอบต่อนาที ที่บรรจุสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีใน TENs ร้อยละ 35 หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาความคงตัวทางกายภาพหลังจากสภาวะเร่งของสูตรตำรับ ผลการวิจัยพบว่าความคงตัวของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีใน TENs สามารถปรับปรุงเสถียรภาพทางกายภาพของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รี การทดสอบความคงตัวของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีใน TENs สามารถประเมินได้โดยการวัดค่า การกระจายขนาดอนุภาค (PDI) ขนาดอนุภาค ค่าความชื้น สี กลิ่น ความหวาน การตกตะกอน และเนื้อสัมผัส หลังจากการเก็บเป็นระยะเวลานาน 1 และ 3 เดือน สำหรับอนุภาคนาโน และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตามลำดับ ผลการศึกษาไม่พบการแยกชั้นและการตกตะกอนของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีใน TENs ดังนั้นคุณสมบัติทางกายภาพและอายุของสารสกัดสามารถเพิ่มขึ้นจากการเตรียมให้อยู่ในอนุภาคนาโน การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดข้าวไรซ์-เบอร์รีใน TENs พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ (L929) และไม่เป็นพิษต่อสัตว์ทดลอง ด้วยเหตุนี้การใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นระบบการส่งผ่านของสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีจะเป็นการช่วยปรับปรุงความคงตัวทางกายภาพและเคมีของสารสกัดจากพืชธรรมชาติเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพและมีความปลอดภัยสูง. สาระสังเขป: การวิจัยสรุปว่าสารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเซลล์สลายกระดูก ฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ alkaline phosphatase และฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเซลล์สร้างกระดูก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้สารสกัดข้าวไรซ์เบอร์รีที่สกัดด้วยเอทานอลและบรรจุในอนุภาคนาโนทรานซ์เอทโธโซม สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งจะต้องมีการศึกษาและพัฒนาสูตรเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300