การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เพื่อบำรุงสายตาและชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพร = Development of innovative nutraceutical product for eyes care and prevention of age-related macular degeneration for the elderly from pigments in herbal plants / Somkamol Intawong [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Somkamol Intawong
ผู้แต่งร่วม: Somkamol Intawong | Tanwarat Kajsongkram | Pattravee Thong-on | Krongkan Kingkaew | Sareeya Reungpatthanaphong | Worawan Tiatragoon | Pattarawadee Kengkwasingh | Sureechai Timwongsa | Siwinee Yongpaiboon | สมกมล อินทวงค์ | ธัญวรัตน์ กาจสงคราม | ภัทราวีร์ ทองอ่อน | กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | วรวรรณ เตียตระกูล | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | สุรีย์ฉาย ติมวงค์ษา | สิวินีย์ ยงค์ไพบูลย์
BCG: สมุนไพร TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. No.65-04, Sub Proj. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 89 p. ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-04 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เสริมสุขภาพและชะลอวัยสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรสู่ประเทศไทย 4.0หัวเรื่อง: จอประสาทตา | ลูทีน | ข้าวโพดหวาน | Sweet cornสาระสังเขป: Age-related macular degeneration (AMD) is a major cause of blindness in people over 60 globally. Lutein, found in high levels in the macula and lens of the eye, helps prevent AMD by acting as an antioxidant and filtering harmful blue light. Lutein is mainly produced by plants and algae, but its low solubility and absorption limit oral consumption. The aim of this study was to create lutein-based self-emulsifying drug delivery systems and eye health nutraceuticals. Lutein was extracted from various vegetables, with Spinach having the highest lutein content, followed by Basil and Parsley. Corn contained low levels of lutein, but high levels of zeaxanthin. Sweet corn extract had 255.9 ± 5 µg/g lutein and 177.4 ± 7.9 µg/g zeaxanthin. Therefore, sweet corn was chosen for further study due to its protective effects on human lens epithelial cells against blue light. Sweet corn extract SNEDDS were made using Labrasol as a surfactant, Tween 80 as a co-surfactant, and Caprylic/Capric Triglyceride as oil, based on the optimal composition in the pseudo-ternary phase diagram. The resulting SNEDDS had nanoscale droplet sizes (39-114 nm) with a narrow distribution (PDI of 0.28-0.44) and a negative zeta potential (−11 to −21 mV). The SNEDDS showed immediate self-emulsification and full dissolution after 15 minutes without forming precipitates. The percentage of lutein absorbed by differentiated Caco-2 cells was evaluated after 6 hours of incubation, comparing lutein-loaded SNEDDS with lutein powder. Results showed significantly higher lutein absorption in the SNEDDS formulation compared to lutein crude extract. Finally, a nutraceutical was made by encapsulating the sweet corn extract-loaded SNEDDS in soft gelatin capsules. The stability study showed no significant changes in physical properties and high levels of lutein after 6 months of storage. The oral median lethal dose (LD50) of the developed nutraceutical was greater than 5,000 mg/kg, indicating low toxicity. These results suggest that the newly developed SNEDDS with sweet corn extract have potential as novel supplements or nutraceuticals.สาระสังเขป: โรคศูนย์กลางจอตาเสื่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตาบอดในคนที่มีอายุมากกว่าหกสิบปีทั่วโลก ลูทีนเป็นสารที่มีปริมาณมากที่บริเวณในจอประสาทตา และเลนส์ตามีหน้าที่สำคัญในการปกป้องเซลล์รับภาพบริเวณจอประสาทตา ที่มีความสำคัญในการมองเห็น โดยลูทีนจะทำหน้าในการต้านปฏิกิริยาอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในดวงตา และกรองความยาวคลื่นที่มีพลังงานสูงของแสงสีฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาของมนุษย์ ลูทีนเป็นสารธรรมชาติสร้างจากพืช และสาหร่าย อย่างไรก็ตามลูทีนเป็นสารที่ละลายน้ำได้น้อย และดูดซึมได้น้อยหลังรับประทาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบนำส่งลูทีนแบบอิมัลชันเกิดได้เอง และตั้งตำรับเภสัชโภชนภัณฑ์เพื่อสุขภาพดวงตา ในการศึกษานี้ได้สกัดลูทีนจากพืชผักชนิดต่างๆ โดยพบลูทีนปริมาณสูงที่สุดในสารสกัดปวยเล้ง ตามด้วยโหระพา พาสลีย์ และข้าวโพดหวาน ตามลำดับ ซึ่งซีแซนทีนจะพบในเฉพาะข้าวโพดหวานเท่านั้น ดังนั้นจึงเลือกใช้สารสกัดจากข้าวโพดหวานเป็นสารสำคัญ โดยสารสกัดข้าวโพดหวานมีคุณสมบัติการต้านความเป็นพิษของแสงสีฟ้าต่อเซลล์เยื่อบุกระจกตามนุษย์ในหลอดทดลอง ระบบนำส่งลูทีนแบบอิมัลชันเกิดได้เองเตรียมได้จากการใช้สารลดแรงตึงผิว สารช่วยลดแรงตึงผิวร่วม และน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมโดยใช้แผนภูมิ ตติยภูมิ จากการศึกษาผมว่าระบบนำส่งลูทีนแบบอิมัลชันเกิดได้เองเตรียมได้โดยใช้ลาบราซอลเป็นสารลดแรงตึงผิว ทวีน 80 เป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม และคาไพลิก/คาพริก ไตรกลีเซอไรด์เป็นน้ำมัน ระบบนำส่งลูทีนแบบอิมัลชันเกิดได้เองที่พัฒนาขึ้นมีขนาดอนุภาคเล็กในระดับนาโนเมตร (39-114 นาโนเมตร) มีการกระจายของขนาดอนุภาคแคบ (0.28-0.44) และมีประจุที่ผิวอนุภาคเป็นประจุลบ (−11 ถึง −21 มิลลิโวลต์) ระบบนำส่งที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเกิดอิมัลชันได้เองภายใน 14 วินาที ในสารละลายเลียนแบบสภาวะที่กระเพาะอาหาร โดยสารสกัดและระบบนำส่งลูทีนแบบอิมัลชันเกิดได้เองดังกล่าวไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุกระจกตา และเซลล์ลำไส้เล็กของมนุษย์ และสามารถเพิ่มการดูดซึมลูทีนเข้าสู่เซลล์ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดหยาบ จากนั้นนำระบบที่พัฒนาขึ้นพัฒนาต่อเป็นเภสัชโภชนภัณฑ์ในรูปแบบแคปซูลเจลาตินแบบนิ่ม โดยการศึกษาความคงสภาพพบว่าเภสัชโภชนภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความคงสภาพที่ดี คุณสมบัติทางกายภาพไม่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากทดสอบ นอกจากนี้ยังมีปริมาณลูทีนคงเหลือมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง จากผลการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีค่า LD50 มากกว่า 5000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเป็นพิษต่ำมาก. จากผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบนำส่งแบบอิมัลชันเกิดได้เองที่กักเก็บลูทีนที่สกัดได้จากข้าวโพดหวานที่พัฒนาขึ้น ที่มีคุณสมบัติดีเพียงพอที่จะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือเภสัชโภชนภัณฑ์ที่มีศักยภาพทางการตลาดได้ในอนาคต.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300