การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ และการตลาดที่ยั่งยืนสำหรับผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพ = Research on innovative plant-based proteins in thailand to enhance health and commercialize for future food security / Pisit Dhamvithee [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pisit Dhamvithee
ผู้แต่งร่วม: Pisit Dhamvithee | Phantipha Chareonthaikit | Bundit Fungsin | พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี | พรรณทิพา เจริญไทยกิจ | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์
BCG: อาหาร TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. No.65-02, Sub Proj. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 52 p. ill., tables ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-02 การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ และการตลาดที่ยั่งยืนสำหรับผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพหัวเรื่อง: โปรตีนจากพืช | plant-based protein | มังสวิรัติสาระสังเขป: With the rise in popularity of plant-based protein products, extensive research and the introduction of various products by different entities have been observed in the market in recent years. This has prompted the exploration of business opportunities and the development of the appropriate business model for innovative products, as well as the establishment of a network of entrepreneurs focusing on the production of plant-based protein products. By studying the behavior of Generation Y consumers and conducting in-depth consumer research, coupled with the utilization of conceptual design tools, it was determined that a product concept suitable for the target consumers would be a single dish. As such, we propose a delicious and affordable option: rice with basil and plant-based pork, which is rich in protein. This concept has the potential for business development due to its familiarity and the synergistic flavors that enhance the overall taste of the product. The investigation into business opportunities and feasibility revealed that the business model for plant protein products aligns with the initial expectations of consumers. This influences consumers' comparative decision-making process, as they assess which products offer greater value and address their needs effectively. Drawing from the design study and entrepreneurial networking, a case study on tiger peas demonstrated that farmers in Mae Hong Son province currently cultivate approximately 500 rai of land. However, if there is a genuine demand, production can be expanded to cover up to 1,000 rai. It is crucial to establish agreements regarding quality standards and pricing requirements. Tiger peas possess high protein content and hold Thai geographical indication (GI) status, making them a compelling choice as a protein-rich plant that can be cultivated in Thailand สาระสังเขป: จากกระแสการตื่นตัวของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโปรตีนพืช หรือ plant-based protein ส่งผลให้มีงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานต่างๆ ออกสู่ตลาดอย่างมากตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาโอกาสหรือความเป็นไปได้ทางธุรกิจโดยการออกแบบโมเดลทางธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และการออกแบบและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย และการศึกษาผู้บริโภคเชิงลึก ร่วมกับการใช้เครื่องมือการออกแบบเชิงความคิด พบว่าแนวความคิดผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคเป้าหมายเป็นอาหารจานเดียว ในที่นี้ขอเสนอข้าวราดกระเพราเนื้อหมูจากพืช ที่มีรสชาติอร่อย โปรตีนสูง และราคาไม่แพงมาก ซึ่งมีแนวโน้มในการพัฒนาไปสู่ในระดับธุรกิจได้ เนื่องจากเป็นเมนูที่คุ้นเคย กลิ่นรสรวมของผลิตภัณฑ์ส่งเสริมรสชาติของผลิตภัณฑ์ได้อย่างดี ประกอบกับบริบทการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน มีการรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงอาหารตามสั่งอาจทำให้การตัดสินใจเลือกเมนูที่ตอบโจทย์ในสถานการณ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ต้องมีการทดสอบสถานการณ์อื่นร่วมด้วย จากการศึกษาข้อมูลการศึกษาโอกาสหรือความเป็นไปได้ทางธุรกิจพบว่า โมเดลธุรกิจของผลิตภัณฑ์จากโปรตีนพืชมีความสอดคล้องกับความคาดหวัง (expectation) ของผู้บริโภคในเบื้องต้น ทั้งนี้อาจประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น สถานการณ์ในการบริโภค, ราคา เป็นต้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากโปรตีนพืชมีราคาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงเปรียบเทียบของผู้บริโภคกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมว่าแบบใดที่ให้ความคุ้มค่าและตอบโจทย์ที่มากกว่า. ทั้งนี้จากการศึกษาการออกแบบและการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ กรณีศึกษาถั่วลายเสือ พบว่าเกษตรกรในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่ และหากมีความต้องการใช้งานจริงสามารถขยายการผลิตไปในระดับ 1,000 ไร่ได้ โดยต้องมีการตกลงถึงข้อกำหนดคุณภาพและราคาร่วมกัน ดังนั้นถั่วลายเสือมีความสามารถในการเป็นพืชโปรตีนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูง เป็นพืชที่มีการระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ซึ่งสามารถผลิตได้ในประเทศไทย.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300