รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาสายพันธุ์และสรรพคุณทางโภชนาการของสุคนธรส = Giant Granadilla (Passiflora quadrangularis L.) Breeding and Its Nutritional Value / อนันต์ พิริยะภัทรกิจ [et al.]

โดย: อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ผู้แต่งร่วม: อนันต์ พิริยะภัทรกิจ | ปราโมทย์ ไตรบุญ | กนกอร อัมพรายน์ | จักรกฤษณ์ ศรีแสง | พรกมล รูปเลิศ | พงศกร นิตย์มี | สุขุมาภรณ์ แสงงาม | ณัฐพงค์ จันจุฬา | เรืองศักดิ์ กมขุนทด | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมชูปถัมภ์ | สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Language: Thai ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 233 p. tables, ill. ชื่อเรื่องอื่นๆ: ภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยเร่งด่วน เรื่อง พืชสวน/พืชไร่ (ไม้ผล)ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561หัวเรื่อง: พืชสวน | สุคนธรส | พืชสกุล Passiflora | พืชไร่ | ไม้ผล | เสาวรส | เสาวรสสีม่วง | เสาวรสสีเหลือง | passion fruitสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: พืชสกุล (Passiflora) เป็นไม้ผลประเภทเถาเลื้อย มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นเถา สีเขียว ข้างในกลวง ใบมีสีเขียวเข้มหรือเขียวแซมแดงม่วงขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ สามารถรับประทานผลได้ แต่ที่เป็นที่รู้จักและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เสาวรส (passion fruit หรือ maracuja) ซึ่งมี 2 ชนิด แบ่งตามสีผล คือ เสาวรสสีม่วง (purple passion fruit; Passiflora edulis Sims.) และเสาวรสสีเหลือง (yellow passion fruit; P. edulis f. flavicarpa) ปัจจุบันมีการปลูกเลี้ยงเสาวรสในหลายพื้นที่แถบภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องความคงทนของต้นพันธุ์ระหว่างการปลูกเลี้ยง แต่มี Passiflora บางสายพันธุ์ที่มีการปลูกเลี้ยงเฉพาะถิ่น เช่น สุคนธรส หรือ giant granadilla (P. quadrangularis) เถาและใบมีลักษณะแข็งแรง สามารถเจริญเติบโตได้เร็ว ส่วนยอดและใบนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารพื้นบ้านได้ มีผลขนาดใหญ่ แต่มีเนื้อหุ้มเมล็ดน้อยกว่าเสาวรส รสชาติหวาน กลิ่นหอม ด้วยลักษณะของเนื้อหุ้มเมล็ดที่นำมาใช้รับประทานมีปริมาณน้อย จึงทำให้สุคนธรสไม่ได้รับความนิยมนำมาปลูกเป็นการค้าเมื่อเทียบกับเสาวรส การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาสายพันธุ์และสรรพคุณทางโภชนาการของสุคนธรสด้วยวิธีการผสมข้ามชนิดกับเสาวรส เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะดี จากนั้นศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของลูกผสม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางประการ เช่น ประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสง การสะสมปริมาณรงควัตถุที่ของพืช รวมทั้งโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ และฤทธิ์ของสารพฤกษเคมีต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของต้นสุคนธรสและพืชสกุลเสาวรส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สุคนธรสสายพันธุ์ลูกผสมที่มีคุณภาพสูงจะถูกคัดเลือกและส่งเสริมแก่เกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงเพื่อการค้าต่อไป Passiflora is a genus of flowering plants species known also as passion vines with some being shrubs or trees. The creeping stem is green and hollow. Its leaves are either dark green or purplish green based on the varieties. The fruits are edible; however, few species are commercialized as economic fruits i.e. passion fruit or maracuja, purple passion fruit (Passiflora edulis Sims.) and yellow passion fruit (P. edulis f. flavicarpa). Currently, the vigor of passion vine cultivated in Northern Thailand was low affecting yield and quality of the fruits. There is another indigenous species, giant granadilla (P. quadrangularis), grown locally in some villages located in mountainous area of Northern Thailand. The giant granadilla, with vigor vine and leaves, is fast-growing and bears big fruits. Its young shoot and leaves are used as vegetable in many local dishes. The pulp is sweet and scented with thin seed aryl resulting in less popularity compared to passion fruit. This study aimed to improve cultivars of giant granadilla and their nutrition. Cross breeding with passion fruits was adopted to improve giant granadilla species in order to obtain desired characteristic hybrids. Some physiological changes of the hybrids were studied such as photosynthetic capacity, pigment accumulation, and plant morphology. Moreover, the fruits of hybrid giant granadilla were assessed for their nutrition, phytochemicals, and antioxidant activities for possible usage in pharmaceuticals and cosmeceuticals. The selected hybrid cultivars due to their desired properties would further be promoted to commercial cultivation among growers.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300