การพัฒนาเทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาระดับเซลล์เพื่อสร้างระบบทดสอบสำหรับประเมินผลกระทบต่อสุขภาพตาด้วยเทคนิคการสร้างเซลล์กระจกตาแบบสามมิติ = Development of biomolecular technology to reconstruct 3d corneal epithelium tissue for ocular safety evaluation / Pattravee Thong-on [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pattravee Thong-on
ผู้แต่งร่วม: Pattravee Thong-on | Kanyanat kaewiad | Pattaranapa Nimtrakul | Prapaipat Klungsupya | Khaunnapa Panapong | Panitta Tinnakornwong | ภัทราวีร์ ทองอ่อน | กัญญาณัฐ แก้วเอียด | ภัทรนภา นิ่มตระกูล | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | ขวัญนภา ปานะพงษ์ | พณิตตา ทินกรวงศ์
TRM: ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health products) ชื่อชุด: Res. Proj. no. 65-19, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 68 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.65-19 การพัฒนาเทคโนโลยีทางชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลและเซลล์เพื่อสร้างระบบทดสอบสำหรับประเมินความปลอดภัยของอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอางในศตวรรษที่ 21หัวเรื่อง: เซลล์กระจกตาแบบสามมิติ | อณูชีววิทยาสาระสังเขป: Evaluating the potential for eye irritation is a requirement for new pharmaceuticals and cosmetic ingredients before use in humans. Alternative methods have reduced the use of animals for eye irritation testing, but still involve non-human eye tissue. To address this issue, significant efforts are being made to develop in vitro 3D human cornea models. Bombyx mori silk fibroin, a fibrous protein readily obtained from domesticated silkworm cocoons, has gained significant attention as a 3D biomaterial due to its excellent mechanical properties, adjustable degradability, versatility in fabrication, and biocompatibility. This study aimed to assess the physicochemical properties, corneal epithelium cell proliferation, and biomarker expression of scaffolds made from silk fibroin blended with collagen using freeze-drying. The optimized scaffold showed sponge-like structures with interconnecting pores, as seen through SEM-EDS, with an average pore size of 110-130 µm. The scaffolds maintained stability in cell culture medium for up to 14 days and had high water absorption (over 90%). 3D human corneal epithelial scaffolds were created using HEC-2 cells and cell proliferation was evaluated through MTT assay. The results showed that the scaffolds create a favorable environment for corneal epithelium cells, leading to an increase in cell proliferation of up to 700%. The expression of the cornea-specific marker CK3 was found in the 3D cultured human corneal epithelial scaffolds. The average thickness of the scaffolds was 1.25 ± 0.2 mm and the ET-50 for Triton X-100 was 5 min 50 sec. The viability cut-off value of 50% was used to classify 5 reference irritant chemicals, and the 3D human corneal epithelial scaffolds showed 100% sensitivity. The results suggest that the 3D cultured human corneal epithelial scaffold is a useful alternative method for eye irritation testing.สาระสังเขป: การประเมินความปลอดภัยต่อดวงตาของสารใหม่สำหรับเภสัชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทดสอบก่อนนำไปใช้ในมนุษย์ ปัจจุบันมีวิธีทางเลือกที่ใช้ทดสอบความปลอดภัยต่อดวงตาแทนที่การใช้สัตว์ทดลอง แต่วิธีการทดสอบเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเซลล์ที่ใช้ทดสอบไม่ใช่เซลล์ต้นกำเนิดจากมนุษย์ จึงมีการพัฒนาระบบทดสอบดวงตาแบบสามมิติขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น ไฟโบรอิน เป็นโปรตีนเส้นใยที่สามารถแยกได้จากรังไหม (Bombyx mori) ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งได้รับความนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุทางด้านการแพทย์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สำคัญได้แก่ มีสมบัติทางกลที่ดี สามารถย่อยสลายได้ สามารถขึ้นรูปทรงได้ตามต้องการ และมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ดังนั้นวัตถุประสงค์ภายใต้โครงการวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ การเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุกระจกตา และการแสดงออกของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ ของโครงร่างรูพรุนสามมิติที่เตรียมจากไฟโบรอินผสมกับคอลลาเจน ด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากการทดลองภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า โครงร่างรูพรุนสามมิติที่เตรียมได้มีลักษณะโครงสร้างคล้ายฟองน้ำ มีรูพรุนกระจายอยู่ทั่ว มีขนาดของรูพรุนระหว่าง 110-130 ไมโครเมตร โครงร่างรูพรุนสามมิตินี้มีความคงตัวในอาหารเลี้ยงเซลล์ได้ถึง 14 วัน และมีความสามารถในการบวมน้ำได้ถึงร้อยละ 90 เมื่อเพาะเลี้ยงเซลล์เยื่อบุกระจกตาลงบนโครงร่างรูพรุนสามมิติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า เซลล์เยื่อบุกระจกตาสามารถเจริญเติบโตได้ถึงร้อยละ 700 นอกจากนี้ยังมีการแสดงออกของเคราติน 3 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพจำเพาะของเซลล์เยื่อบุกระจกตา เมื่อวัดความหนาของโครงร่างรูพรุนสามมิติที่มีเซลล์เยื่อบุกระจกตามีค่าเท่ากับ 1.25 ± 0.2 มิลลิเมตร และเมื่อสัมผัสสารไตรตอน เอกซ์-100 มีระยะเวลาที่ทำให้ค่าความมีชีวิตของเซลล์ลดลงร้อยละ 50 เท่ากับ 5 นาที 50 วินาที เมื่อทดสอบกับสารเคมีที่ทราบประเภทการก่อระคายเคืองต่อดวงตาจำนวน 5 ชนิด พบว่าสารเคมีถูกจำแนกออกเป็นระคายเคืองและไม่ระคายเคือง โดยกำหนดจุดตัดค่าความมีชีวิตของเซลล์ที่ร้อยละ 50 จากผลการทดสอบการระคายเคืองของโครงร่างรูพรุนสามมิติที่มีเซลล์เยื่อบุกระจกตา มีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100 จากผลการศึกษาพบว่าวิธีทดสอบการระคายเคืองโดยใช้โครงร่างรูพรุนสามมิติที่มีเซลล์เยื่อบุกระจกตา สามารถนำไปใช้เป็นวิธีทางเลือกสำหรับประเมิน ผลการเกิดความระคายเคืองต่อดวงตาได้.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300