การวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตต้นกล้ากล้วยหอมทองเพื่อลดความแปรผันทางพันธุกรรมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ = Research and development on genetic variation in "gros michel" banana production system from micropropagation / Kanlaya Mokhaphan [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Kanlaya Mokhaphan
ผู้แต่งร่วม: Kanlaya Mokhaphan | Apinay Wisutiamorkul | Kusol Imsub | Sodsri Naeampream | Chatree Kornee | Sawitree Pramote Na Ayuthaya | กัลยา โมกขพันธุ์ | อภิญญา วิสุทธิอมรกุล | กุศล เอี่ยมทรัพย์ | สมศรี เนียมเปรม | ชาตรี กอนี | สาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา
BCG: เกษตรปลอดภัย TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม Language: Thai ชื่อชุด: โครงการวิจัยที่ ภ.64-10 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทองเพื่อตอบสนองต่อการทำ การเกษตรแปลงใหญ่ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2565 รายละเอียดตัวเล่ม: 49 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลสิทธิบัตร | โครงการวิจัยที่ ภ.64-10 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทองเพื่อตอบสนองต่อการทำการเกษตรแปลงใหญ่หัวเรื่อง: กล้วยหอมทองสาระสังเขป: กล้วยหอมทองเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล้วยหอมทองมีความ อ่อนแอต่อโรคตายพรายที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense ซึ่งพบการระบาด ของโรคนี้ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยหอมทองเป็นวิธีผลิต ต้นกล้าปลอดโรคได้ในปริมาณมากและรวดเร็วที่ถูกนำมาใช้ในระบบการผลิตระดับอุตสาหกรรม สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาระบบการผลิตต้นกล้าในด้วยเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การ คัดเลือก การอนุบาลในโรงเรือนที่เหมาะสมที่สามารถลดจำนวนต้นที่มีความผันแปรทางพันธุกรร ม ตลอดจนการติดตามลักษณะและผลผลิตในแปลงปลูก. จากการนำหน่อพันธุ์กล้วยหอมทองจากแปลงเกษตรอินทรีย์ มาทำศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อเพื่อการผลิตต้นกล้าคุณภาพ เมื่อเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อแล้วบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 150 วัน เพื่อผลิตชิ้นส่วนยอดสำหรับเริ่มต้นการ ทดลองหาสูตรอาหารและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตต้นกล้า จาการทดลองเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนยอด บนอาหารสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 0 2 3 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA เข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ในสภาวะการเพาะเลี้ยง 3 แบบ คือ อาหารเหลว อาหารกึ่งเหลว อาหารแข็ง พบว่า สภาพอาหารเพาะเลี้ยงและสูตรอาหารเพาะเลี้ยงมีผลต่อจำนวนต้นที่ได้ในแต่ละรอบการผลิต โดย อาหารกึ่งเหลวสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA เข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อ ลิตร ให้จำนวนต้นเฉลี่ยสูงสุดที่ 37.4 ต้นต่อชิ้นส่วน เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลานาน 32 สัปดาห์ ขณะที่ อาหารกึ่งเหลวสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA เข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อ ลิตร ที่เพาะเลี้ยงนาน 12 สัปดาห์ ให้จำนวนต้นเฉลี่ย 18.63 ต้นต่อชิ้นส่วน โดยต้นกล้าที่มีลักษณะ แข็งแรงสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดชีวิตหลังย้ายลงกระบะเพาะชำ 100 เปอร์เซ็นต์ด้านพัฒนาการและคุณภาพผลผลิตของกล้วยหอมทองจากต้นกล้าที่ผ่านการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อรอบที่ 1 ถึงรอบที่ 10 ที่นำไปปลูกทดลองในระบบเกษตรอินทรีย์ ณ บ้านนาหัวบ่อ อำเภอ พรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร พบว่า ต้นกล้าที่นำไปปลูกในแปลงปลูกในพื้นที่จังหวัดสกลนครมี พัฒนาการและมีความสมบูรณ์แข็งแรงดี ไม่เกิดโรค มีการตอบสนองต่อระบบการผลิตแบบอินทรีย์ได้ ดี ลักษณะทางกายภาพ พบว่า คุณภาพของผลผลิตกล้วยหอมทองไม่แตกต่างจากต้นกล้วยหอมทอง จากหน่อเดิม โดยจำนวนหวี 5-6 หวีต่อเครือ จำนวนหน่อข้างเฉลี่ย 8 หน่อต่อต้น ให้ผลผลิตที่ สม่ำเสมอพร้อมเพียงกัน.สาระสังเขป: Kluai Hom Thong, Musa (AAA group), a commercial crop that was profitable because of high demand in domestic and international markets. However, Kluai Hom Thong was susceptible to Fusarium Wilt disease which is caused by Fusarium oxysporum f.sp. cubense. This disease was spread over 20-30 percent of the plantation area. The micropropagation of Kluai Hom Thong was one of the solutions to rapidly produce disease-free plantlets in large quantities for industrial-scale production. Furthermore, there were not any studies in Thailand about plantlets propagation systems using tissue culture technique, selection, appropriate acclimatization which reduces genetic variation, and monitoring yield in fields. In this study, organically cultivated banana suckers were used to develop a micropropagation protocol for producing high-quality plantlets. The explants were cultured in MS medium with 5 mg/L BA for 150 days. The initiated plantlets were used for studying medium formulas and conditions. These plantlets were cultured in MS medium with different concentrations of BA (0, 2, 3, 4 mg/L) combined with 0.5 mg/L of NAA. This culture medium was also different in conditions: liquid, semi-solid (solid medium with a layer of liquid medium on the top), and solid medium. The result showed that types of culture medium and conditions affect the number of plantlets in each culture cycle. The semi-solid MS media with 2 mg/L BA and 0.5 mg/L NAA had the highest number of average shoots about 18.63 shoots per explant. These plantlets were strong, well-grown, and had survived acclimatization with 100 percent success. 2 The development and fruit quality of the first to the tenth cycles of plantlets were evaluated by planting in an organic agricultural system at Bannahuabo, Phanna nikhom district, Sakon nakhon. The result showed that these plantlets were well-grown, strong, fully developed, and not infected. They also responded very well to an organic agricultural system. The fruit physical properties of these plantlets were not different from the original sucker. They had 5 to 6 hands per brunch, 8 suckers per plant, and regular fruit yield.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300