วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรปรับสมดุลทางอารมณ์และบรรเทาอาการซึมเศร้าในสังคมพึ่งพาตนเอง = Research and development on herbal product for emotional balancing and depressive disorder relieving in self-reliant society / Krittiya Thisayakorn [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Krittiya Thisayakorn [et al.] (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: กฤติยา ทิสยากร | พงศธร หลิมศิริวงษ์ | วรวรรณ เตียตระกูล | ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร | วิภาพร พัฒน์เวช | รัตนศิริ จิวานนท์ | วรากร สองเมือง | บุญรักษา กัสยากร | สิน ตั้งสถิรภักดี | ไสว นาคาแก้ว | วิเชียร เขยนอก | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ | Krittiya Thisayakorn | Pongsatorn Limsiriwong | Worawan Tiatragoon | Sarunya Laovitthayanggoon | Wipaporn Phatvej | Rattanaasiri Giwanon | Warakorn Songmuang | Boonruksa Gussayakorn | Sinn Tangstirapakdee | Sawai Nakakaew | Wicheian Khoeynuak | Sirinan Thubthimthed
BCG: สมุนไพร TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 64-02, Sub Proj. no.4; Rep. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, รายละเอียดตัวเล่ม: 54 p. tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลอนุสิทธิบัตร : สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปรับสมดุลสภาวะอารมณ์จากสารสกัดหมากอ่อน | โครงการวิจัยที่ ภ.64-02 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคมพึ่งพาตนเองหัวเรื่อง: หมาก | กะทกรก | พืชสมุนไพร | โรคซึมเศร้าสาระสังเขป: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการปรับสมดุลทางอารมณ์และบรรเทา อาการซึมเศร้าในสังคมผู้พึ่งพาตนเองจากพืชสมุนไพร โดยการต่อยอดจากพืชที่ได้มีวิจัยเบื้องต้นมาก่อนว่ามีฤทธิ์ต่อ สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า ได้แก่ หมาก (Areca catechu L.) และกะทกรก (Passiflora foetida L.) โดยนำมาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการการบรรเทาอาการซึมเศร้าด้วยวิธี forced swim test และ tail suspension test ผลการศึกษาพบว่า หนู ICR mice กลุ่มที่ได้รับสารสกัดหมากอ่อนและสารสกัดกะทกรกขนาด 250, 500, และ 750 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีระยะเวลาในการเคลื่อนไหว (motility times) นานกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ทั้งการทดสอบด้วยวิธี forced swim test และ tail suspension test ซึ่งให้ผลไปในทิศทางเดียวกับ สารมาตรฐาน fluoxetine ที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้า หลังจากนั้น ศึกษาผลของสารสกัดต่อระดับสารสื่อ ประสาทเพื่อหากลไกการออกฤทธิ์ในการปรับสมดุลของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าโดยให้ PCPA (p-chlorophenylalanine) เพื่อเหนี่ยวนำให้มีการยับยั้งการสร้างสารสื่อประสาท serotonin เนื่องจากระดับสารสื่อ ประสาท serotonin ที่น้อยลงเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะซึมเศร้า เมื่อตรวจวัดระดับของ serotonin ในสมองหนูทุก กลุ่ม พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดหมากอ่อนและสารสกัดกะทกรกทั้ง 3 ขนาด มีระดับ serotonin ในสมองสูงกว่าหนู กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เช่นเดียวกับหนูกลุ่มที่ได้รับ fluoxetine การศึกษาถึงความเป็นพิษต่อเซลล์ ชนิด L929 และ HepG2 ของสารสกัดหมากอ่อนและสารสกัดกะทกรก พบว่าสารสกัดหมากอ่อนมีค่าความเข้มข้นที่ ทำให้เซลล์รอดชีวิตกึ่งหนึ่ง (IC50) เป็น 598.76±4.39 และ 165.70±1.31 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ สารสกัดกะทกรกมีค่า IC50 เป็น 411.81±5.10 และ 579.67±11.81 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และการทดสอบ ความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของในหนูแรท พบว่าสารสกัดหมากอ่อนมีค่า LD50 อยู่ในช่วงระหว่าง 2,000-5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว สารสกัดกะทกรกมีค่า LD50 มากกว่า 6,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากนั้นจึงได้นำมา พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบแคปซูลที่มีความปลอดภัยทั้งในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง.สาระสังเขป: This study aimed to research and develop herbal products for emotional balancing and depressive disorder relieving by extending the previous studies of plants with effectiveness on neurotransmitters involving the brain monoamines including Areca catechu L. (AC) and Passiflora foetida L. (PF). Pharmacological studies on relieving depressive-like symptoms by tail suspension and forcedswimming tests were performed in animals. ICR mice were orally administered with 250, 500, and 750 mg/kg of AC and PF extract. All 3 doses of AC and PF mice as well as fluoxetine exhibited significantly longer mobility times in both tail suspension and forced-swimming tests than the control mice (p<0.05). Since the lower levels of monoamines in the brain was one of the causes of depressive disorder, serotonin levels were additionally detected in these mice with PCPA (p-chlorophenylalanine) injection to inhibit serotonin synthesis. Compared with the control group, all AC and PF mice had remarkably higher levels of the brain serotonin as fluoxetine-treated mice did (p<0.05). These findings imply that the better performance effect of SP in depressive-like symptom animals possibly involves the brain monoamines, particularly serotonin. Therefore, herbal compounds aided in restoring or maintaining the levels of these monoamines in the brain would be beneficial for depressive treatment. For cytotoxicity test, the IC50 values in both L929 and HepG2 cell lines of AC extract were 598.76±4.39 and 165.70±1.31 μg/ml, respectively; whereas of PF extract were 411.81±5.10 and 579.67±11.81 μg/ml, respectively. For acute oral toxicity tests, the LD50 in rats of AC extract was in a range of 2,000-5,000 mg/kg, while PF extract was higher than 6,000 mg/kg. Then, the extract of AC and PF were formulated in a form of capsule, which was safe in both cellular and animal levels.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300