วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรเพื่อลดระดับกรดยูริคในผู้ป่วยโรคเกาต์ = Research and development on herbal dietary supplement for lowering the uric acid level in gout patients / Tanwarat Kajsongkram [et al.] (CONFIDENTIAL)
โดย: Tanwarat Kajsongkram [et al.]
ผู้แต่งร่วม: ธัญวรัตน์ กาจสงคราม
| กฤติยา ทิสยากร
| รัตนศิริ จิวานนท์
| วิภาพร พัฒน์เวช
| ศรัญญา เลาหวิทยางค์กูล
| พงศธร หลิมศิริวงศ์
| วรวรรณ เตียตระกูล
| ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์
| กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว
| วรากร สองเมือง
| สิน ตั้งสถิรภักดี
| ไสว นาคาแก้ว
| เสาวลักษณ์ โรจน์อำพร
| ภาวินี พึ่งพา
| ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
| Tanwarat Kajsongkram
| Krittiya Thisayakorn
| Rattanasiri Jiwanon
| Wipaporn Phatvej
| Sarnya Laovittayanggoon
| Pongsatorn Limsiriwong
| Worawan Tiatragoon
| Pattarawadee Kengkwasingh
| Krongkan Kingkaew
| Warakorn Songmuang
| Sinn Tangstirapakdee
| Sawai Nakakaew
| Saowalak Rotamporn
| Pawinee Pungpa
| Sirinan Thubthimthed
BCG: สมุนไพร TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 64-02, Sub Proj. no. 3; Rep. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 86 p. tables, ill. ; 30 cm. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลอนุสิทธิบัตร : สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดระดับกรดยูริคจากสารสกัดสะระแหน่ | โครงการวิจัยที่ ภ.64-02การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคมพึ่งพาตนเองสาระสังเขป: โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรเพื่อลดระดับกรดยูริกในผู้ป่วย โรคเกาต์ จะมุ่งไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ที่ไปยับยั้ง การสร้างกรดยูริกจาก purine และ hypoxanthine โดยทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ซึ่งเป็นการรักษาในระยะยาว โดยขั้นตอนงานวิจัยเริ่มจากการคัดเลือกสมุนไพรที่มีศักยภาพ โดยนำ สมุนไพรทั้งหมด 18 ชนิด ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase จากสมุนไพรทั้งหมด พบว่าสารสกัดสะระแหน่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 30.14 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยสารมาตรฐาน allopurinol มีค่า IC50 เท่ากับ 3.47 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ต่อจากนั้นนำสารสกัดสะระแหน่มาศึกษาฤทธิ์ลดปริมาณกรดยูริกในเลือดในหนูแรท โดยการใช้ potassium oxonate เป็นตัวกระตุ้น ผลการทดลองพบว่าสารสกัดสะระแหน่ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักหนูทดลอง มีฤทธิ์ลดปริมาณกรดยูริกในเลือดโดยแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของสารสกัดสะระแหน่ตาม วิธีการทดสอบ OECD Guidelines for Testing of Chemicals หมายเลข 423: Acute Oral Toxicity - Acute Toxic Class Method ไม่พบอาการพิษและการตายของสัตว์ทดลองทุกตัวหลัง ได้รับตัวอย่างทดสอบ การชันสูตรซากเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทดสอบ ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ ภายในเมื่อดูด้วยตาเปล่า และมีค่า LD50 มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ดังนั้นจึงนำ สารสกัดสะระแหน่ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แคปซูล ในส่วนสารสกัดและแคปซูลสะระแหน่มีการควบคุมคุณภาพทางเคมี โดยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์และตรวจสอบความใช้ได้ของการหาปริมาณ Rosmarinic acid โดย HPLC ซึ่งวิธีที่พัฒนาขึ้นผ่านเกณฑ์การยอมรับของ USP และ AOAC ผลการ ทดลองพบปริมาณ Rosmarinic acid ในสารสกัดและแคปซูลเท่ากับ 4.57% และ 1.87% น้ำหนัก/ น้ำหนัก ตามลำดับ ผลการทดสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์และโลหะหนักในผลิตภัณฑ์แคปซูลตามวิธี ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoiea, THP) ผ่านเกณฑ์การยอมรับตาม ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.สาระสังเขป: Research and development on herbal dietary supplements for lowering the uric acid Level in Gout Patients. It focuses on research and development of dietary supplements for the treatment of gout patients that inhibit uric acid production from purine and hypoxanthine by inhibiting the enzyme Xanthine Oxidase, which is a longterm treatment. The research process began with the selection of potent herbs. All 18 types of herbs were tested for Xanthine Oxidase inhibition activity, the results showed that Mentha cordifolia leaf extract (MCLE) extract exhibited the strongest Xanthine Oxidase inhibition activity with the IC50 value of 30.14 μg/ml. (allopurinol standard with the IC50 value of 3.47. μg/ml) After that, MCLE was then tested for antihyperuricemic activity using potassium oxonate as a stimulant in laboratory animals. The results of the experiment showed that MCLE at a concentration of 200 mg/kg of bodyweight was a statistically significant difference in reducing the amount of uric acid in the blood from the control group. The results of the acute oral toxicity test of MCLE according to OECD Guidelines for Testing of Chemicals No. 423: Acute Oral Toxicity - Acute Toxic Class Method, 2001 showed no toxic symptoms and death in all laboratory animals. Autopsy at the end of the testing period, no abnormalities were found in the internal organs when observed with the naked eye and had an LD50 value greater than 5000mg/kg body weight. Therefore, MCLE was consequently developed into a capsule product. As for the MCLE and capsules, chemical quality controls were performed by development and validation of the HPLC method for Rosmarinic acid. The validation of developed methods on precision, accuracy, specificity, linearity and range were also performed with well-accepted results (USP and AOAC acceptance criteria). Rosmarinic acid content in MCLE and capsules were 4.57% and 1.87% W/W, respectively. The results of the microbial and heavy metal contamination test in capsule products according to the THP (Thai Herbal Pharmacopoeia) method passed the acceptance criteria according to the announcement of the Food and Drug Administration (Ministry of Public Health).
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้
There are no comments on this title.